ทฤษฎีค่าจ้างใจยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (ค.ศ.1870 -1890)


741 ผู้ชม


ทฤษฎีค่าจ้างใจยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (ค.ศ.1870 -1890)




ทฤษฎีค่าจ้างใจยุคเศรษฐกิจตกต่ำ (ค.ศ.1870 -1890)

ในยุคนี้อัตราการเพิ่มขอประชากรลดลง ขณะเดียวกันนายจ้างก็พยายามลดต้นทุนการผลิตการจ้างงานจะทำเมื่อจำเป็นและแน่ใจว่าจะหาประโยชน์จากลูกจ้างให้ได้สูงสุด ทฤษฎีค่าจ้างในยุคนี้มีทฤษฎีสำคัญคือ ทฤษฎีค่าจ้างตามผลผลิตสุดท้าย (Marginal Productivity Theory of  Wage) โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อ John Bate Clark สมมุติฐานที่สำคัญของทฤษฎีนี้คือกฎการลดน้อยถอยลงของผลตอบแทน(Law of Diminishing returns)  ทฤษฎีนี้กล่าวว่านายจ้าง จะจ้างคนงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่อัตราค่าจ้างต่ำกว่ารายได้ที่คาดว่าจะได้รับจากการจ้างงานนั้น เมื่อใดที่จ้างจนกระทั่งค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้คนงานในจำนวนที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงหรือเท่ากับรายได้สุดท้ายก็จะหยุดการจ้างงานนั่นคือ อัตราค่าจ้างจะมีแนวโน้มเท่ากับรายได้สุดท้ายของแรงงาน (รายได้สุดท้ายของแรงงาน =  รายได้ส่วนที่นายจ้างได้รับเพิ่มขึ้นจากการจ้างคนงานที่เพิ่มขึ้น)

ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก.  ดำเนินธุรกิจขายของที่ระลึก เขาจ้างคนงานขายของหน้าร้านไว้ 1 คน ในอัตราวันละ 100 บาท นาย ก. เห็นว่าการกิจการดำเนินไปได้ดี ขายของได้วันละ 1,000 บาท หักค่าใช้จ่ายมีกำไร 50 %  คือกำไร 500 บาท  แต่ยังมีลูกค้าอีกส่วนหนึ่งที่เข้ามาในร้านแล้ว ไม่ได้รับการบริการเลยเข้าไปใช้บริการในร้านถัดไป นาย ก. จึงจ้างลูกจ้างมาอีก 1 คน ในอัตราค่าจ้างเดียวกัน ในการนี้ทำให้นาย ก. มีลูกค้าเพิ่มอีก และมายได้เพิ่มอีกวันละ 1,500 บาท ถ้านาย ก. จ้างลูกจ้างเพิ่มอีกเป็น 3 คน รายได้เพิ่มเป็นวันละ 1,700 บาท ถ้านาย ก. จ้างลูกจ้าง 4 คน กำไรที่เพิ่มขึ้นจากการจ้างนั้นจะน้อยกว่าค่าจ้างที่จ่ายไป( 100 บาท) ดังนั้นจำนวนลูกจ้างที่เหมาะสมให้กำไรสูงสุดแก่นาย ก. คือ 3 คน ในอัตราค่าจ้างวันละ 100  บาทต่อคน สามารถดูได้ตามตารางนี้

ขนาดของแรงงาน(คน)

รายได้รวม(บาท)

ต้นทุนค่าแรงเพิ่ม(บาท)

กำไรรวม(บาท)

กำไรเพิ่ม(บาท)

0

-

-

-

-

1

1000

-

500

500

2

1500

100

750

250

3

1700

100

850

100

4

1800

100

900

50 (ไม่คุ้มค่า)

อัพเดทล่าสุด