ทฤษฎีเกี่ยวกับค่าตอบแทน
ทฤษฎีเกี่ยวกับค่าตอบแทน
ทฤษฎีค่าจ้าง หรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับค่าตอบแทนที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะ ประการดังนี้
- เป็นที่ยอมรับของนายจ้าง ลูกจ้างและสาธารณชน
- เป็นทฤษฎีที่ยืนอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และมีระบบ
- มีความยืดหยุ่นพอเพียงที่จะรับกับวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงได้
- ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในองค์การ และส่งเสริมความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ในทางปฏิบัติไม่มีทฤษฎีใดที่ฝ่ายจัดการ และลูกจ้างยอมรับได้เต็มสมบูรณ์ บางทฤษฎีก็ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารจัดการ บางทฤษฎีก็เป็นเพียงข้อมูลสมมุติฐานไม่สามารถปฏิบัติได้จริง อย่างไรก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีค่าตอบแทนก็จะเป็นพื้นฐานในการให้แนวคิดกับการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาได้เป็นอย่างดี
ทฤษฎีเกี่ยวกับค่าตอบแทนค่าจ้างนั้น แบ่งตามลำดับวิวัฒนาการดังนี้
- ทฤษฎีค่าจ้างที่ยุติธรรม (The Just Price Wage)
- ทฤษฎีค่าจ้างในยุคเดิม (Classical Wage Theories)
2.1 ทฤษฎีค่าจ้างพอประทังชีพ (The Subsistence Wage Theory)
2.2 ทฤษฎีกองทุนค่าจ้าง (Wage Fund Theory)
- ทฤษฎีค่าจ้างในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ
ทฤษฎีค่าจ้างตามผลผลิตสุดท้าย (Marginal Productivity of Wages)
- ทฤษฎีการต่อรองค่าจ้าง (Bargaining Theory of Wages)
- ทฤษฎีค่าจ้างตามแนวพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Sciences Theory of Wages)
5.1 Instrumental Theory
5.2 ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory)
5.3 ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy Theory)
- ทฤษฎีความคาดหวังของ Kurt Lewin และ Edward Tolman
- ทฤษฎีความคาดหวังของ Victor H Vroom
- ทฤษฎีการจูงใจของ Porter และ Lawler
ในส่วนรายละเอียดต่างๆ จะได้อธิบายในหัวข้อถัดไป ค่ะ