ระบบ Skill – Based Compensation Plans
ระบบนี้จัดโครงสร้างเงินเดือนตามทักษะที่จะตามลักษณะของงานแบบเดิม พนักงานเริ่มจากเงินเดือนพื้นฐานที่เสมอนกัน จากนั้นก็จะได้รับการปรับเงินเดือนตามทักษะที่เขาขวนขวายหามาใส่ตัวได้ ระบบนี้แบ่งออกเป็น 3 แบบ
1. แนวลึก (depth skill) คือปรับเงินเดือนตามความชำนาญเฉพาะด้าน หรือความเชี่ยวชาญที่พนักงานสั่งสมไว้เพิ่มขึ้น
2. แนวกว้าง (horizontal / breadth skill) คือปรับเมื่อพนักงานเก็บเกี่ยวทักษะได้หลากหลายงานมากขึ้น
3. แนวตั้ง (vertical skill) คือการปรับเมื่อพนักงาน “พัฒนาความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้น” เช่น การจัดสรรเวลา
การประสานงาน การฝึกอบรม ความเป็นผู้นำ
อุตสาหกรรมที่นำระบบนี้ไปใช้ก็มีโทรคมนาคม ประกันชีวิต / ประกันภัย โรงแรม และค้าปลีก
ข้อดีของการใช้ระบบนี้ ก็คือ
1. ทำให้สถานประกอบการมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่ต้องถูกพันธนาการด้วย “ใบพรรณนางาน” ที่กำหนดตาม
ตำแหน่งต่างๆ
2. ส่งเสริมการเรียนรู้ฝึกคนข้ามสายงานกัน ทำให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายหรือกำหนดส่งมอบได้ แม้จะต้อง
เผชิญกับการขาดสาย ลาป่วย หรือมีอัตราพนักงานออกจากงานสูง
3. ลดการบังคับบัญชาลงได้ ลดพนักงานระดับบริหารลงทำให้องค์กรกระชับดีขึ้น
4. พนักงานมีส่วนในการกำหนดเงินเดือนของตนมากขึ้น เพราะทุกคนรู้ดีว่าถ้าจะให้ได้เงินเดือนขึ้นก็ต้องสั่งสมทักษะให้มากขึ้น
ความเสี่ยง
1. อาจนำไปสู่การจ่ายเงินเดือนสูงเกินเหตุ หรือทำให้ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมสูงขึ้น โดยไม่ต้องส่งผลให้ได้ผลผลิต
เพิ่มขึ้นหรือลดต้นทุนลงเกิดขึ้นได้เมื่อพนักงานสั่งสมทักษะได้ทุกประเภทอันพึงจะฝึกได้ จึงได้เงินเดือนสูงกว่า
ระบบจ่ายตามตำแหน่งงาน
2. พนักงานอาจเก็บเกี่ยวทักษะได้มากมาย แต่ใช้จริงๆ อยู่ไม่กี่ประการ ทักษะที่ไม่ได้ใช้ก็จะขึ้นสนิมไปในที่สุด
3. พนักงานที่สั่งสมทักษะที่จะช่วยให้ขึ้นค่าตัวได้หมดแล้ว ก็จะเริ่มหงุดหงิด เพราะหมดทางได้เงินเดือนเพิ่มแล้ว จึง
เริ่มหางานใหม่
4. อาจจะทำให้เสียเวลาในการบริหารจัดการมากเท่าเดิม หรือ มากกว่าเดิม
บทสรุป
เหมาะสมกับสถานประกอบการขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่เพิ่งเริ่มกิจการ ผู้ประกอบการเริ่มต้องการนอกครอบครัวหรือผู้ร่วมทุนมาช่วยงาน จึงจ้างตามทักษะที่ลูกจ้างพอมี คนที่เรียนรู้เร็ว ทำงานได้มากว่าก็มีค่าต่อสถานประกอบการนั้นมากกว่า ช่วยให้เติบโตได้มากขึ้น ความยืดหยุ่นของลูกจ้างเป็นผลดีต่อการขยายตัวของธุรกิจ พนักงานที่ยืดหยุ่นสูง ทำงานได้หลายอย่างจึงควรได้รับค่าตอบแทนสูงเป็นเงาตามตัว แต่เมื่อธุรกิจขายตัวไปถึงจุดหนึ่ง ก็อาจจะต้องมาวางระบบกันใหม่ให้เหมาะสมกับองค์กรที่เปลี่ยนไป
บริหารค่าตอบแทนแบบสร้างสรรค์ด้วยระบบ Broadbanding
Boradbanding : An Innovative in Compensation Management
เขียนโดย : ธัญญา ผลอนันต์