การสื่อสาร หมายถึง (Communication)


2,367 ผู้ชม


การสื่อสาร หมายถึง (Communication)




ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร

                    การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
ความสำคัญของการสื่อสาร

  1.  
    1. ด้านสังคม เพื่อเกิดความเข้าใจ กฏระเบียบ การอยู่รวมกันอย่างสงบสุขในสังคม
    2. ความสัมพันธ์ต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า ชักจูงผู้บริโภคโดยการโฆษณา
    3. ด้านการปกครอง ใช้เป็นกลไกการกระจายข่าวสารต่าง ๆ สู่ผู้ปกครองให้เข้าใจตรงกันและรับทัศนคติของผู้ถูกปกครอง

องค์ประกอบของการสื่อสาร  มี  5  องค์ประกอบ  ดังนี้
             1.  ผู้ส่งสาร  (Sender) คือบุคคล  หน่วยงานที่เป็นผู้ส่งสาร  แหล่งกำเนิดสาร  แล้วส่งสารไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่นด้วยวิธีเดียว  หรือหลายวิธี
              2.  สาร  (Message)  คือ  เรื่องราว  สิ่งต่าง ๆ  ในรูปข้อมูล  ความรู้  ความคิด  หรืออารมณ์ที่ผู้ส่งสารให้ผู้อื่นรับรู้  แล้วเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง  ประกอบด้วย
                    2.1  รหัสสาร  ทั้งที่ไม่ใช้ถ้วยคำ  (กิริยา  ท่าทาง  เครื่องหมาย)  และใช้ถ้อยคำ  (ภาษาพูด  ภาษาเขียน)
                    2.2  เนื้อหาสาร  แบ่งเป็น  ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
                    2.3  การจัดสาร  คือ  รวบรวมเนื้อหา  เรียบเรียงด้วยการใช้รหัสของสารที่เหมาะสม
               3.  สื่อหรือช่องทาง  (Medium  or  Channal)  
                    สื่อ  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะที่ทำให้สารเคลื่อนที่ออกไปจากตัวผู้ส่งสาร
                    ช่องทาง  หมายถึง  ทางที่ทำให้ผู้ส่งสาร  และผู้รับสารติดต่อกันได้
               4.  ผู้รับสาร  (Receiver)  คือ  ผลที่เกิดจากการรับสารทางพฤติกรรม  เช่น  หัวเราะ  พอใจ  ทำให้ทราบถึงความสำเร็จของการสื่อสาร

           Sender                 Message               Channel                     Receive                     Feed back

ผู้ส่งสาร สาร สื่อหรือช่องทาง ผู้รับสาร ปฏิกิริยาการตอบสนอง

              ใคร                    กล่าวอะไร               ช่องทางใด                     ถึงใคร                ผลเป็นอย่างไร

หลักการสื่อสาร

  1.  
    1. ผู้สื่อสารต้องเข้าใจองค์ประกอบในการสื่อสาร
    2. มีสื่อ / ช่องทาง ที่เหมาะสม จุดประสงค์ชัดเจน
    3. ผู้ส่งสาร – ผู้รับสาร ควรเตรียมการล่วงหน้า
    4. ใช้ทักษะในภาษาที่เหมาะสมในการสื่อสาร
    5. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับเพื่อนำมาประเมิน ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องต่อไป

วัตถุประสงค์ในการสื่อสาร

        ผู้ส่งสารมีจุดประสงค์ให้ผู้รับได้ทราบความต้องการของตน ว่าตนต้องการสื่อไปในรูปแบบไหน อาจจะมุ่งให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ผู้ส่งสารกำหนดไว้ มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารคล้อยตาม และเพื่อเสนอหรือชักจุงใจให้กระทำและตัดสินใจ

ประเภทของการสื่อสาร

  •  
    1. การสื่อสารภายในบุคคล (Intrapersonal Communication) บุคคลคนเดียว ทำหน้าที่ทั้งผู้รับและผู้ส่งสาร
    2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
    3. การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Communication) สื่อสารไปยังบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
    4. การสื่อสารในองค์การ (Organization Communication) สื่อสารระหว่างสมาชิกใน องค์การ
    5. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) สื่อสารไปยังคนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยสื่อมวลชน
    6. อุปสรรคในการสื่อสาร

              ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอ มีทัศนคติที่ไม่ดี ตัวผู้ส่งสารเองก็อาจไม่มีการนำเสนอที่ทำให้ผู้รับสารเกิดความสนใจ หรืออาจจะเป็นที่ตัวสาร มีการจัดลำดับของสารไม่ดี สลับซับซ้อน และเกิดจากการเลือกสื่อหรือช่องทางที่ไม่เหมาะสม ก็ทำให้เป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้

      ที่มา : สมาชิกเว็บไซต์


      อัพเดทล่าสุด