จะนำใบกำหนดหน้าที่งานไปใช้ในการพัฒนาฝึกอบรม อย่างไร ?


586 ผู้ชม


จะนำใบกำหนดหน้าที่งานไปใช้ในการพัฒนาฝึกอบรม อย่างไร ?




        หลายองค์การพยายามค้าหาความจำเป็นในการฝึกอบรมโดยการออกแบบสำรวจความต้องการในการฝึกอบรม บางครั้งก็ได้ความจำเป็นจริง (Training Needs) แต่บางครั้งก็ได้เพียงความอยากในการฝึกอบรม (Training wants)  ในความเป็นจริงแล้วแล้วถ้าเรานำเอาข้อมูลในใบกำหนดหน้าที่งานมาจัดทำเส้นทางสายความกว้าวหน้าในการฝึกอบรมของตำแหน่งงาน หรือบางองค์กรจะเรียกว่า “Training Road Map” ไว้ล่วงหน้า จะทำให้เราช่วยได้ความจำเป็นในการฝึกอบรมที่ถูกต้องอีกแหล่งหนึ่ง นอกเหนือจากนโยบายองค์กร และปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละปี

       การจัดทำเส้นทางสายความก้าวหน้าในการฝึกอบรมของตำแหน่งงานนี้ จะช่วยให้ผู้ดำรงตำแหน่งทราบว่าตัวเองจะได้รับการพัฒนาและฝึกอบรมเรื่องอะไรบ้าง เมื่อไหร่ในแง่ของผู้บังคับบัญชาเองก็สามารถวางแผนการพัฒนาฝึกอบรมผู้ดำรงตำแหน่งได้อย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่อยากจะส่งไปอบรมเรื่องไหน เมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชาอย่างเดียว

      การจัดทำเส้นทางสายความก้าวหน้าในการฝึกอบรมของตำแหน่งงาน จะแบ่งหลักสูตรการฝึกอบรมออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 : OJT  (On the Job Training)

 

      กลุ่มนี้เป็นกลุ่มหลักสูตรที่ต้องได้รับการฝึกอบรมก่อนที่จะเริ่มลงปฏิบัติงานจริง ถ้าองค์กรใดมีระบบมาตรฐานสากลต่างๆ อยู่ สิ่งที่ต้องฝึกอบรมคือกระบวนการปฏิบัติงาน (Procedure) วิธีการขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Work Instruction)คู่มือการปฏิบัติงาน (Manual) หรือกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน (Rules and Regulations)

กลุ่มที่ 2 : Job Enhancement

 

     หลักสูตรในกลุ่มนี้คือหลักสูตรที่ฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาในตำแหน่งสามารถนำเอาความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้นได้ โดยทั่วไปแล้วหลักสูตรในกลุ่มนี้จะฝึกอบรมหลังจากได้ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรของกลุ่มที่หนึ่งไปแล้ว หลักสูตรที่กำหนดจะเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำโดยตรงหรือหลักสูตรด้านการบริหารจัดการสำหรับงานในระดับนั้นๆ

      หลักสูตรในกลุ่มที่ 2 ให้กำหนดจากความสามารถที่ระบุไว้ในใบกำหนดหน้าที่งาน เช่น

        จะเห็นได้ว่าความสามารถบางตัวมีเพียงหลักสูตรเดียวรองรับก็เพียงพอ เช่น การวางแผน จะมีหลักสูตรนี้โดยตรงอยู่แล้ว ในขณะที่ความสามารถบางตัว หลักสูตรการฝึกอบรมเพียงหลักสูตรเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะความสามารถตัวนั้นๆ เกิดจากทักษะหลายอย่างรวมกัน เช่น ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ อาจเกิดจากการฝึกอบรมเรื่องการสื่อสาร จิตวิทยาการเข้าใจคน และการพัฒนาบุคลิกภาพ
กลุ่มที่ 3 : Career Development
 
       เป็นกลุ่มของหลักสูตรที่ต้องการพัฒนาผู้ดำรงตำแหน่งเพื่อรองรับการเติบโตก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นต่อไป ตามเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพขององค์กร (Career Path) หลักสูตรที่จะถูกกำหนดในกลุ่มนี้คือ หลักสูตรสำหรับพัฒนาทักษะทั้งเรื่องของงานและการจัดการของตำแหน่งงานในระดับที่สูงขึ้นไป เพราะเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไป จะได้มีความสามารถพร้อมในทุกๆด้าน ไม่ต้องไปเร่งพัฒนาหลังจากที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งไปแล้ว
      สำหรับการวิเคราะห์หาหลักสูตรฝึกอบรมในกลุ่มที่ 3 นั้น ให้วิเคราะห์จากความสามารถประจำตำแหน่ง (Job Competencies) ของตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไปโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เหมือนกับหลักสูตรในกลุ่มที่ 2 เช่น ตำแหน่งที่สูงกว่าตำแหน่ง ................................. นี้คือ ตำแหน่ง ....................................... ให้นำเอาความสามารถของตำแหน่ง ที่สูงกว่าตำแหน่งนี้ มาวิเคราะห์ด้วย เช่น
        ถ้าเรามีการจัดทำใบกำหนดหน้าที่งานที่ถูกต้องครบถ้วน และมีการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในการฝึกอบรมไว้ครบทุกตำแหน่งงาน จะทำให้การวิเคราะห์หลักสูตรฝึกอบรมในกลุ่มที่ 3 ง่ายขึ้น เพราะหลักสูตรการฝึกอบรมในกลุ่มที่ 3 ของตำแหน่งที่หนึ่งคือ หลักสูตรการฝึกอบรมของกลุ่มที่ 2 ในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไป ซึ่งตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไปอาจจะมีหนึ่งหรือมากว่าหนึ่งตำแหน่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า ตำแหน่งนั้นๆ จะมีโอกาสเติบโตก้าวหน้าขึ้นไปสู่ตำแหน่งงานอะไรได้บ้าง

อ้างอิงจาก : หนังสือเทคนิคการจัดทำ  Job Description บนพื้นฐานของ Competency และ KPI
 
โดยคุณ ณรงค์วิทย์  แสนทอง
 
 
 
 
 


ไฟล์ประกอบ : จะนำใบกำหนดหน้าที่งานไปใช้ในการพัฒนาฝึกอบรม อย่างไร ? Download File: โหลดไฟล์ ประกอบ ที่นี่

อัพเดทล่าสุด