วัตถุประสงค์ของการประเมินการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์ของการประเมินการปฏิบัติงาน
การประเมินการปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ให้เป็นเครื่องมือที่เป็นทางการในการบริหารผลการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม การประเมินการปฏิบัติงานก็ยังถูกนำไปใช้เกี่ยวกับการตัดสินและการให้แนวทางกับการปฏิบัติงานของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตามปกติเช่นเดิมโดยแท้จริงแล้ว แนวความคิดสองเรื่องนี้ คือการตัดสินและการให้แนวทางเป็นสิ่งที่กำหนด วัตถุประสงค์สำคัญสองประการของการประเมินการปฏิบัติงานได้แก่ วัตถุประสงค์ด้านการประเมินและวัตถุประสงค์ดานการพัฒนา ถ้าหากว่าแผนการประเมินการปฏิบัติงานสามารถทำให้วัตถุประสงค์ในการประเมินการปฏิบัติงานที่ให้ความเป็นธรรมและเป็นประโยชน์บรรลุผลสำเร็จได้และยังสามารถทำให้วัตถุประสงค์ในการให้แนวทางและการปรับปรุงการปฏิบัติงานของพนักงานประสบผลสำเร็จเชนเดียวกันแล้วก็แสดงว่าแผนการประเมินการปฏิบัติงานมีประสิทธิผลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะถูกนไปใช้ในการตัดสินใจเรื่องค่าจ้าง เงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง และ การบำรุงรักษาพนักงาน
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน
การประเมิน | การพัฒนา |
- การตัดสินใจเรื่องค่าตอบแทน - การตัดสินใจเรื่องเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง - การประเมินระบบการคัดเลือก | - การใช้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน - การให้ทิศทางกับการปฏิบัติงานในอนาคต - การระบุความต้องการการฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน |
วัตถุประสงค์ด้านการประเมิน (Evaluative Objectives)
การตัดสินใจที่ปกติที่สุดตามวัตถุประสงค์ด้านการประเมินเกี่ยวข้องกับเรื่องค่าตอบแทน การประเมินการปฏิบัติงานมักจะมีผลกระทบสองสองส่วนต่อค่าจ้างเงินเดือนในอนาคต ในระยะสั้นการประเมินการปฏิบัติงานจะกำหนดความสามารถที่จะต้องมีเพิ่มขึ้นในปีต่อไป ส่วนในระยะยาวการประเมินการปฏิบัติงานจะกำหนดว่าพนักงานคนใดจะได้รับการเลื่อนขึ้นไปสู่งานที่มีค่าจ้างสูงขึ้น
การตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งจะได้รับผลกระทบจากการประเมินการปฏิบัติงานเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่ง การลดตำแหน่ง การโยกย้าย และการงดจ้างชั่วคราว
การประเมินผลการปฏิบัติงานยังสามารถถูกนำไปใช้ในการประเมินระบบสรรหา คัดเลือก และบรรจุพนักงานโดยการเปรียบเทียบผลการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานกับคะแนนสอบคัดเลือกในขณะที่เป็น ผู้สมัครงาน
วัตถุประสงค์ด้านการพัฒนา (Developmental Objectives)
การให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเป็นความต้องการด้านการพัฒนาในเบื้องต้น เนื่องจากพนักงานเกือบทุกคนต้องการที่จะทราบว่าผู้บังคับบัญชารู้สึกอย่างไรเกี่ยวการปฏิบัติงานของพวกเขา แรงจูงใจที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อพนักงานได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เสนอแนะเป้าหมายซึ่งส่งเสริมความก้าวหน้าของงานอาชีพในอนาคต
การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาจะมุ่งไปที่การให้ทิศทางกับการปฏิบัติงานในอนาคตแก่พนักงานเป็นสำคัญ ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าวจะตระหนักถึงจุดแข็งและจุดอ่อนในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาและกำหนดว่าพนักงานควรจะใช้แนวทางใดเพื่อที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น
ผลที่ได้จากการประเมินการปฏิบัติงานจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการฝึกอบรมและการพัฒนาพนักงาน การประเมินการปฏิบัติงานที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอาจจะส่งสัญญาณให้เห็นถึงพฤติกรรมของพนักงานที่จะต้องทำให้มีจุดแข็งโดยอาศัยการฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงานและนอกการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาจะต้องแยกปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานซึ่งเป็นผลมาจากการขาดความสามารถหรือทักษะออกจากปัญหาที่มีสาเหตุมาจากการขาดแรงจูงใจ
ที่มาโดย : รองศาสตราจารย์ ผุสดี รุมาคม