Forced – distribution Ranking


641 ผู้ชม


Forced – distribution Ranking




    

วิธีจัดอันดับโดยให้กระจายตัวตามที่กำหนดไว้ (Forced – distribution Ranking)  วิธีนี้เป็นการเสริมแก้ไขข้อบกพร่องของวิธีที่แล้ว (วิธีจัดอันดับ) กล่าวคือ เพื่อจะได้ใช้ประเมินผลกับพนักงานจำนวนมากได้และไม่อยากให้มีการเปรียบเทียบกันมากเกินไปอันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในหมู่พนักงาน  ดังนั้นจึงมีการกำหนดการกระจายตัวของอันดับต่างๆ ไว้ให้เป็นสัดส่วน เช่น ให้ระบุให้ชัดเจนก่อนว่าการประเมินนี้จะแบ่งออกเป็นกี่อันดับโดยไม่ต้องไปสนใจ จำนวนพนักงาน  ตัวอย่างอาจจะแบ่งออกเป็น 5 อันดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง  อ่อน  และอ่อนมาก  เมื่อได้จำนวนอันดับแล้วก็ให้กำหนดต่อไปว่าในแต่ละอันดับจะมีการกระจายตัวร้อยละเท่าไรของพนักงานที่ถูกประเมิน ตัวอย่างเช่นมีพนักงานที่จะถูกประเมินทั้งหมดมีจำนวน 60 คน ตัวอย่างการกระจายตัวที่สมมุติขึ้นจะเป็นดังนี้

อันดับ

ร้อยละ

จำนวนคน

ดีมาก

10

6

ดีมาก

20

12

ปานกลาง

40

24

อ่อน

20

12

อ่อนมาก

10

6

รวม

100

60

โดยวิธีนี้การกระจายตัวหรือระดับของการเปรียบเทียบจะมีเพียง 5 ระดับซึ่งถ้าหากใช้วิธีแรกก็อาจจะมีถึง 60 ระดับเท่ากับจำนวนของพนักงาน  นอกจากนั้นการที่จะต้องแยกแยะความแตกต่างของคนจำนวน 60 คน เพื่อจะระบุให้ชัดเจนว่าพนักงานคนใดอยู่ในตำแหน่งใดใน 60 ตำแหน่ง ย่อมทำได้ยากและเสียเวลามาก การแยกแยะระดับให้มีเพียง 5 ระดับย่อมจะช่วยให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้นและผู้ประเมินสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

การประเมินผลโดยวิธีจัดอันดับโดยให้กระจายตัวตามที่กำหนดไว้มีลักษณะเหมือนกันวิธีจัดอันดับแบบตรงๆ ในส่วนที่ว่าทั้งคู่จะมองผลการปฏิบัติงานของพนักงานหนึ่งๆ ตามความวิริยะ หรืออื่นๆ  แต่เป็นการดูทั่วๆ ไปแล้วก็ประเมินว่าพนักงานคนนั้นควรอยู่อันดับใด จึงเป็นการง่ายแก่หัวหน้างานผู้ประเมิน แต่ความง่ายนี้อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ Adolph Langsner  และ Herbert G. Zollitsch  จึงเสนอว่าการประเมินผลโดยวิธีจัดอันดับโดยให้กระจายตัวตามที่กำหนดไว้ขอให้ใช้เพื่อพิจารณาใน 2 ประเด็นเท่านั้น คือพิจารณาผลการปฏิบัติงาน  (Job Performance) และความสามารถในการเลื่อนตำแหน่ง (Promote – ability)  และยังเสนอต่อไปว่าการกระจายตัวของระดับต่างๆที่กำหนดมาให้นั้น ควรมีลักษณะเป็นการกระจายตัวปกติ (Normal  Distribution)  โดยระดับสูงและระดับต่ำสุดจะมีเพียงเล็กน้อยและส่วนใหญ่ตกอยู่ที่ระดับกลาง  ดังเช่นตัวอย่างที่ให้ไว้ก่อนหน้านี้คือ ระดับดีมาก 10 % ระดับดี 20 %  ระดับปานกลาง 40 %  ระดับอ่อน 20 % ระดับอ่อนมาก 10 %  เป็นต้น

ตัวอย่าง แบบการประเมินโดยวิธีจัดอันดับโดยให้กระจายตัวตามที่กำหนดไว้ [ คลิกที่นี่ ]


อัพเดทล่าสุด