วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน


658 ผู้ชม


วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน




    

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

 

ก่อนอื่นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องตระหนักว่าการประเมินผลดังกล่าว มิใช่มีจุดมุ่งหมายในการจับผิดว่าใครทำงานดีหรือไม่ดีอย่างไร  รวมทั้งมิใช่จะเป็นการประจานว่าพนักงานคนใดปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐานเพราะสิ่งเหล่านี้มิได้ช่วยให้การปฏิบัติงานของพนักงานดีขึ้นเลย  ในการประเมินผลการปฏิบัติงานในอดีตมักจะมุ่งหาข้อผิดพลาดหรือคอยจับผิดพนักงานเพื่อจะใช้โจมตีพนักงานและลงโทษโดยไม่เพิ่มเงินเดือนหรือให้ขึ้นเงินเดือนแต่เพียงน้อย  การประเมินผลโดยเจตจำนงเช่นนี้มิได้ก่อให้เกิดผลดีอะไรดังเช่น Harbert H. Meyer  และคณะได้ชี้ให้เห็นว่าการวิพากษ์วิจารณ์หรือการตำหนิพนักงานจะไม่ช่วยให้การทำงานดีขึ้นแต่การชมเชยกลับช่วยให้งานดีขึ้น  เมื่อถูกโจมตีหรือตำหนิพนักงานก็ต้องหาข้อแก้ตัว ซึ่งการแก้ตัวของพนักงานมีแต่จะทำให้งานแย่ลง  การชี้แนะการทำงานควรจะทำอย่างสม่ำเสมอไม่ใช่ทำกันปีละครั้งในรูปของการประเมินผลการปฏิบัติงาน แต่การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการทำงานจะช่วยให้งานสำเร็จมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการที่หน่วยงานใดที่จะริเริ่มหรือจัดการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วก็ต้องเลิกแนวคิดเก่าๆ ที่จะใช้ผลการประเมินเพื่อไปตำหนิพนักงานตนเพราะนอกจากจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแล้วยังทำให้พนักงานเสียกำลังใจมากขึ้นอีกด้วย  ลำพังชีวิตที่เรียกว่า “การประเมินผลการปฏิบัติงาน” เพียงอย่างเดียวก็ทำให้พนักงานหวาดระแวงอยู่แล้วและถ้าจะต้องมีการโดนตำหนิตามมาอีกก็ย่อมทำให้พนักงานเกิดความกลัว สิ่งที่ตามมาก็คือพนักงานจะเริ่มให้ข้อมูลเท็จและอาจตามด้วยการเคลื่อนไหวต่อต้านการประเมินผลดังกล่าวได้

โดยเจตนาแท้ๆ ของการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว วัตถุประสงค์จะมีเพียง 2 ประการสำคัญคือวัตถุประสงค์ในการประเมินผล (Evaluative  Objectives) และวัตถุประสงค์ในการพัฒนา (Development Objectives)

1.  วัตถุประสงค์ในทางการประเมินผล โดยทั่วไปวัตถุประสงค์ประการนี้จะเป็นวัตถุประสงค์หลักที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผลของการประเมินผลจะใช้เพื่อกำหนดอัตราค่าตอบแทนในโอกาสต่างๆ เช่น ในการขึ้นเงินเดือนประจำปี  การจ่ายโบนัสหรือการให้ค่าตอบแทนพิเศษที่กำหนดไว้ในหน่วยงานนั้นๆ รวมความไปถึงการพิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงานและการโยกย้ายอีกด้วย

นอกจากนั้นผลของการประเมินที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานอาจจะใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก เช่น นำผลของการประเมินไปเปรียบเทียบกับวิธีการสรรหาพนักงานในตอนที่เริ่มรับพนักงานมานั้นย่อมมีวิธีการคัดเลือก หลังจากการคัดเลือกจึงได้พนักงานนั้นๆ มา ถ้าหากพนักงานที่รับมาอยู่ครบระยะเวลาที่กำหนดก็จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ถ้าผลของการประเมินพบว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ  นั่นก็แสดงว่าวิธีการสรรหาพนักงานที่ใช้อาจจะไม่เหมาะสมก็ได้

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา  ผลของการประเมินผลการปฏิบัติงานจะเป็นประโยชน์มีทั้งแก่พนักงานและผู้บริหาร ฝ่ายพนักงานจะได้ทราบว่าการปฏิบัติงานของตนเท่าที่ผ่านมาอยู่ในระดับน่าพอใจหรือไม่   ผู้บริหารมีทักษะอย่างไรต่อการทำงานของตนเองควรแก้ไขปรับปรุงตนอย่างไรในการทำงาน ฝ่ายผู้บริหารนั้นเมื่อทราบผลของการประเมินก็จะทราบได้ว่าพนักงานของตนยังมีจุดอ่อนอะไร  ควรจะจัดฝึกอบรมเรื่องใดเพื่อส่งเสริมจุดอ่อนดังกล่าว หรือทราบว่าว่ามีปัจจัยอะไรบางที่เป็นเหตุให้ผลการปฏิบัติงานไม่น่าพอใจและควรจะแก้ไขสภาพดังกล่าวอย่างไร

นอกจากวัตถุประสงค์หลักๆ สองประการดังกล่าวยังมีหน่วยงานต่างๆ ใช้ผลของการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น การสำรวจของ Charles J . Fombrun และ Robert L. Laud ได้เคยสำรวจบริษัททั้งหมด 256 แห่งพบว่าได้ใช้ผลของการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์อะไรบ้าง  ซึ่งผลของการสำรวจปรากฏดังต่อไปนี้

อันดับที่

การใช้ประโยชน์

ร้อยละ

 

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

ปรับเงินเดือน

ทราบผลงานและการให้การปรึกษา

เลื่อนตำแหน่ง

หยุดสัญญาจ้างหรือให้ออก

รู้ถึงศักยภาพการทำงานของพนักงาน

รู้ถึงผลของแผนการปฏิบัติงาน

วางแผนอาชีพ

โยกย้าย

วางแผนกำลังคน

โบนัส

รู้ผลของการฝึกอบรม

รู้ผลการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ

เป็นเกณฑ์ตัดสินเลือกวิธีการปฏิบัติงาน

ควบคุมค่าใช้จ่าย

91

90

82

64

62

57

52

50

38

32

29

25

16

7

อัพเดทล่าสุด