สวัสดิการที่จ่ายตอบแทนเมื่อลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ( Pay for time not work )


698 ผู้ชม


สวัสดิการที่จ่ายตอบแทนเมื่อลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ( Pay for time not work )




สวัสดิการที่จ่ายตอบแทนเมื่อลูกจ้างไม่ได้ทำงาน ( Pay for time not work )

 

สวัสดิการชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบแก่พนักงานมากที่สุด สวัสดิการเหล่านี้ก็ได้แก่การให้สิทธิในการลาต่างๆ โดยได้รับค่าจ้างเสมือนหนึ่งได้มาทำงานตามปกติ กฎหมายได้กำหนดให้มีวันหยุดประจำปีตามราชการอย่างน้อยปีละ 13 วันอยู่แล้ว วันหยุดนอกเหนือจากนี้อาจทำได้ตามความเหมาะสม

2.1.  วันหยุดพักผ่อนประจำปี ( Vacations )

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หมวด 2 มาตรา 30 ได้กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน องค์การจะให้มากกว่านี้ก็ได้และวิธีบริหารวันหยุดว่าจะให้หยุดอย่างไร เมื่อใด มีการสะสมวันหยุดได้หรือไม่ ฯลฯ นั้น ให้ตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง บางองค์การอาจมีเงินสวัสดิการจ่ายให้พนักงานลูกจ้าง เพื่อใช้จ่ายในวันพักผ่อนประจำปีก็ได้

2.2. วันหยุด ( Holidays )

วันหยุดนี้ได้แก่วันหยุดราชการประจำปีตามที่กฎหมายกำหนดจำนวน 13 วัน นอกจากนี้องค์การอาจมีวันหยุดอื่นๆได้อีก เช่น วันหยุดตามประเพณี วันหยุดทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น

2.3. วันลาเนื่องด้วยกิจส่วนตัว ( Personal excused absences )

วันลาเหล่านี้เป็นวันลาด้วยธุระส่วนตัว ซึ่งมีทั้งที่กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาได้ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ( เช่น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาบวช ลาเพื่อทำหมัน ลาป่วย ฯลฯ ) และการที่องค์การให้สวัสดิการการลาพิเศษนอกเหนือจากกฎหมายกำหนด เช่น

2.3.1. ลาเพื่อไปติดต่อราชการ ( Civic duty )

2.3.2. ลาไปงานศพของคนในครอบครัว ( Death in family )

2.3.3. ลาเพื่อสมรส ( Marriage )

2.3.4. ลาเพื่อดูแลบุตร ( Paternity leaves ) เป็นต้น

การลาโดยยังได้รับค่าจ้างนี้องค์การต้องกำหนดจำนวนวันไว้ว่าไม่เกินกี่วันต่อปี เพื่อให้มีความชัดเจนในทางปฏิบัติและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหาร ส่วนใหญ่องค์การมักเรียกรวมๆกันว่าสิทธิในการลากิจส่วนตัว


อัพเดทล่าสุด