วิธีจ่ายโบนัสแบบต่างๆ


979 ผู้ชม


วิธีจ่ายโบนัสแบบต่างๆ




ตาราง วิธีการจ่ายโบนัสแบบหลักๆ

 

วิธีจ่ายโบนัสแบบต่างๆ

ระบบอัตราตามชิ้นงาน

ระบบอัตราตามชิ้นงานเป็นวิธีแรกสุดและง่ายที่สุดของวิธีจ่ายโบนัสทั้งหมดมักจะถูกนำมาใช้เป็นวิธีจูงใจให้เพิ่มผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์จะกระตุ้นให้คนงานเฉพาะกลุ่มทำงานได้ตามเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้ วิธีจ่ายโบนัสตามอัตราชิ้นงานจะใช้ผลงานจริงของคนงานแต่ละคนเป็นฐานเมื่อผลงานเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คนงานก็จะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้นด้วย

ในระบบอัตราชิ้นงาน จำนวนเงินเพิ่มหรือโบนัสหาได้โดยการคูณชิ้นงานที่ทำได้ด้วยราคาต่อชิ้นงานซึ่งบริษัทได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว บริษัทกำหนดราคาต่อชิ้นงานสองวิธี คือ วิธีอัตราตรงและวิธีอัตราแปร โดยตามชื่อของวิธีอัตราต่อชิ้นจะไม่เปลี่ยนตามเวลาในวิธีอัตราตรง อย่างไรก็ตามสำหรับวิธีอัตราแปรราคาจะเปลี่ยนไปตามที่บริษัทกำหนดว่าเป็นอัตราก้าวหน้าหรืออัตราลดลง

สำหรับวิธีการผลิตซึ่งใช้กระบวนการง่ายๆ และความเร็วเป็นข้อกำหนดที่สำคัญที่สุดจะใช้อัตราก้าวหน้า ในวิธีนี้อัตราต่อชิ้นจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ปริมาณการผลิตทำได้ถึงจำนวนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะบริษัทต้องการจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มปริมาณสินค้าทั้งหมดขึ้นไปอีก ในกรณีที่การประหยัดวัตถุดิบและคุณภาพของผลผลิตเป็นเรื่องสำคัญก็จะใช้อัตราลดลง วิธีนี้จะกระตุ้นให้คนงานทั้งหมดให้ความสนใจต่องานที่กำลังทำอยู่มากขึ้น

วิธีการให้สิ่งจูงใจเป็นรายบุคคล เช่น วิธีอัตราต่อชิ้นงานควรจะนำมาใช้เมื่อลูกจ้างต้องทำงานอย่างอิสระโดยไม่ต้องประสานงานกับลูกจ้างคนอื่นโดยต้องใช้ทักษะส่วนตัวสูงและมีวิธีการวัดผลงานรายบุคคลที่ดี

เมื่อพัฒนาระบบอัตราต่อชิ้นงานต่อไปอีก หลักการคิดคำนวณก็จะหันมาใช้มูลค่าทั้งหมดของผลผลิต หรือยอดขายของบริษัทหรือแผนก ยอดเงินโบนัส

หมายเหตุ   แทนที่จะใช้ยอดขาย บริษัทอาจจะใช้ยอดผลผลิตเป็นตัวชี้ในการกำหนดโบนัสก็ได้
ทั้งหมดจะถูกกระจายเป็นรายเดือนให้คนงานทั้งหมดตามเงินเดือนพื้นฐานต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการคิดคำนวณโบนัสตามวิธีของระบบอัตราต่อชิ้นงาน
เมื่อนำมาใช้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มที่มีคนน้อย ระบบอัตราต่อชิ้นงานก็เป็นรูปแบบการจ่ายชนิดหนึ่ง ซึ่งผลงานที่ปรากฏได้รับการตอบแทนทันทีในรูปของการเพิ่มของค่าจ้างประจำเดือน
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว ระบบอัตราต่อชิ้นงานได้ลดความนิยมไปแล้วทั่วโลกเพราะระบบดังกล่าวบังคับให้ลูกจ้างพุ่งความสนใจไปที่การเพิ่มปริมาณผลผลิตโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ นอกจากนั้นการใช้ระบบอัตราต่อชิ้นงานยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานเพิ่มขึ้นและเป็นการบันทอนสุขภาพของคนงาน ข้อเสียอีกประการหนึ่งก็คือคนงานมักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงผลผลิตเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพราะย่อมหมายความว่าลูกจ้างจะต้องเสียเวลามากขึ้นเพื่อเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ และทำให้เกิดความสูญเสียรายได้ ข้อเสียเหล่านี้เองที่ทำให้บริษัทบางแห่งพยายามจัดระบบอัตราส่วนต่อชิ้นงานแบบผสมขึ้น
ระบบอัตราตามปริมาณ
เมื่อไม่สามารถหรือไม่เหมาะสมที่จะใช้ระบบอัตราตามชิ้นงาน แต่ยังต้อลดเวลาที่ต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์บางชนิดออกมา ก็อาจจะใช้วิธีระบบอัตราตามปริมาณงานได้ ในระบบนี้จะจ่ายค่าจ้างปกติตามเวลาที่ใช้ไปจริงในการทำงานเฉพาะอย่างอย่างหนึ่ง  โดยจะมีการจ่ายโบนัสเพิ่มให้สำหรับเวลาที่ประหยัดลงได้อันเป็นผลมาจากการทำงานนั้น โบนัสตามอัตราปริมาณงานมักจะใช้สูตรมาตรฐานสองสูตรคิดคำนวณดังต่อไปนี้
ตัวอย่างวิธีการคำนวณสองวิธี
 
โดยใช้การศึกษาเวลาในวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (IE)  เวลามาตรฐานที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้น คือ 8 ชั่วโมง ลูกจ้างได้รับค่าจ้างในปัจจุบัน ชั่วโมงละ   20 บาท  เมื่อลูกจ้างคุ้นเคยกับงานมากขึ้น ก็สามารถทำงานได้ ภายในเวลา 7 ชั่วโมง
ถ้าเราใช้วิธีการคำนวณ วิธีแรก รายได้รายวันจะเป็นดังนี้
โดยถือว่ามีวันทำงาน 26 วัน และมีชั่วโมงทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ลูกจ้างสามารถทำงานจำนวนต่อไปนี้ได้เสร็จภายในหนึ่งเดือน
จำนวนงานที่ทำเสร็จทั้งหมด
(จำนวนชั่วโมงงานทั้งหมด)                                       =   26   x  8
                                                                                =   208
ถ้าลูกจ้างใช้จำนวนชั่งโมงมาตรฐานในการทำงานให้เสร็จรายได้ต่อเดือนจะเป็น ฿ (208 x 20)  ซึ่งเท่ากับ ฿ 4,160 แต่ถ้าบัดนี้ลูกจ้างใช้เวลาเพียงวันละ 7 ชั่วโมง ทำงานให้เสร็จก็จะหมายความว่าลูกจ้างสามารถทำงานได้ (208 หาร 7 ) = 29.7 ชิ้นงานต่อเดือน ดังนั้นรายได้ต่อเดือน คือ ฿ (141 x 29.7 ) ซึ่งเท่ากับ ฿ 4,187.7  ตามวิธีคำนวณแบบที่หนึ่ง และตามวิธีคำนวณแบบที่สองรายได้ต่อเดือน คือ ฿ (141.5x 29.7 )   ฿ 4,202.55  ถึงแม้จะดูเหมือนว่าลูกจ้างจะมีรายได้ลดลงต่อวันอันเป็นผลมาจากการเพิ่มประสิทธิภาพรายได้ต่อเดือนจะมากขึ้นเพราะบัดนี้ลูกจ้างทำงานได้เสร็จมากขึ้นในหนึ่งเดือน
โดยที่
                Wh        =  อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
                     Ha        =  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ไปจริงในการทำงาน
                     Hs        =   จำนวนชั่วโมงมาตรฐานที่ใช้ในการทำงาน
ตรงกันข้ามกับระบบอัตราตามชิ้นงาน ซึ่งพิจารณาแต่ผลงานที่ได้อย่างเดียวเท่านั้น อัตราตามชิ้นงานจะใช้การประหยัดให้กับบริษัทเป็นฐาน เช่นในรูปของชั่วโมงทำงานหรือวัตถุดิบ ดังนั้น วิธีการหลังนี้จะมีผลให้มีประสิทธิภาพและรายได้สูงขึ้น ข้อดีและข้อเสียของระบบอัตราปริมาณงาน ก็เป็นเช่นเดียวกับของระบบอัตราตามชิ้นงาน  
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือค่าจ้างและสวัสดิการยืดหยุ่น เล่ม 2
โดย : คุณธัญญา  ผลอนันต์

อัพเดทล่าสุด