มือพนักงาน : รายการตรวจสอบความพร้อมก่อนจัดทำคู่มือพนักงาน


927 ผู้ชม


มือพนักงาน : รายการตรวจสอบความพร้อมก่อนจัดทำคู่มือพนักงาน


    การจัดทำคู่มือพนักงานสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ก่อนลงมือเขียนได้ โดยพิจารณาหัวข้อดังต่อไปนี้

 

 

1. สารหรือข้อความต้อนรับจากประธานคณะผู้บริหาร

 

        ·  การประกาศเจตนารมณ์ขององค์กร ในด้านต่างๆเช่น การจ้างงาน,  สหภาพแรงงาน ฯลฯ

 

2. รายละเอียดของธุรกิจ

 

        ·  วิสัยทัศน์ ปรัชญาของบริษัท ,พันธกิจ หรือลักษณะการดำเนินงาน

        ·  ประวัติความเป็นมา

        ·  สินค้าหรือบริการ

        ·  การจัดองค์กร

 

3. ความเท่าเทียมกันในการจ้างงาน/การรับรองสิทธิ

 

        ·  ข้อความที่บ่งบอกถึงความเท่าเทียมกันในโอกาสการจ้างงาน

 

4. การว่าจ้าง

 

        ·   สถานะของพนักงาน (เต็มเวลา , ไม่เต็มเวลา ฯลฯ)

        ·   ชั่วโมงการทำงาน ,เวลาพัก และรับประทานอาหารกลางวัน

        ·   การบันทึกเวลาทำงาน

        ·   แฟ้มประวัติพนักงาน

        ·   การเลื่อนตำแหน่งและการโอนย้าย

        ·   โปรแกรมการฝึกอบรม

        ·   ขั้นตอนการเลิกจ้าง

 

5.  ค่าแรงและเงินเดือน

 

        ·   นโยบายด้านค่าแรงและเงินเดือน

        ·   การประเมินการขึ้นเงินเดือน

        ·   วันจ่ายเงินเดือน/ค่าแรง

        ·   การเบิกเงินล่วงหน้า

        ·   การทำงานล่วงเวลา

        ·   รายการหักเงิน

        ·   การนำฝากธนาคารอัตโนมัติ

 

6. ความปลอดภัยและสุขภาพ

 

        ·   กฎระเบียบในเรื่องความปลอดภัย

        ·   ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

        ·   การให้บริการทางการแพทย์

        ·   ความปลอดภัยในองค์กร

        ·   การกลับเข้ามาปฎิบัติงาน

        ·    สถานที่ทำงานที่ปลอดยาเสพติด

 

7. มาตรฐานและกฎระเบียบบริษัท

 

        ·   การประพฤติตนของพนักงาน

        ·   การลงโทษ

        ·   การายงานการลา/ความไม่เอาใจใส่ในงาน

        ·   การใช้โทรศัพท์

        ·   การมีส่วนร่วมและการให้รางวัลจูงใจ

        ·   เงินได้อื่นๆ

        ·   การล่วงละเมิดทางเพศ

 

8. ผลประโยชน์ของพนักงานตามพระราชบัญญัติ

 

        ·   การจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน *

        ·   ประกันสังคม *

        ·   การชดเชยการว่างงาน *

        ·   การลาคลอด *

        ·   การลาเพื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของทางการ *

        ·   (ผลประโยชน์อื่นๆ ตามพระราชบัญญัติ)

 

9. ผลประโยชน์ของพนักงานด้านการประกันภัย

 

        ·   การประกันสุขภาพหมู่

        ·   การประกันชีวิต/ประกันอุบัติเหตุ

        ·   การประกันทุพพลภาพถาวร

        ·   การประกันทุพพลภาพชั่วคราว

 

10. ผลประโยชน์ของพนักงานตามความสมัครใจ

 

        ·   การลาพักผ่อน

        ·   การซื้อหุ้นของบริษัท

        ·   แผนการออม/สหกรณ์ออมทรัพย์

        ·   แผนการเกษียณอายุ

        ·   การสนับสนุนค่าเล่าเรียน

        ·   การลาป่วย/ลากิจ

        ·   การถึงแก่กรรมของบุคคลในครอบครัว

        ·   ร้านอาหาร/สวัสดิการอาหารกลางวัน

        ·   การแบ่งปันผลกำไร

        ·   เงินชดเชยการเลิกจ้าง

        ·   สิทธิพิเศษอื่นๆ

 

11. แรงงานสัมพันธ์

 

        ·    การประเมินผลการปฎิบัติงาน

        ·    การจัดการกับข้อร้องเรียน *

        ·    การประกาศข่าวประชาสัมพันธ์

        ·    ระบบการเสนอข้อแนะนำ

        ·    จดหมายข่าวพนักงาน

        ·    กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ และกิจกรรมทางสังคมของพนักงาน

 

    หากคุณยังไม่แน่ใจว่ามีหัวข้อใดบ้างที่สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรของคุณ สิ่งสำคัญอีกประการที่จะให้คุณทราบถึงวิธีการเลือกและพัฒนาหัวข้อที่มีความสำคัญมากที่สุด ดังนี้

 

        1.  พิจารณาว่าผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน พูดถึงหรือบ่นถึงมากที่สุด

        2.  พิจารณาว่าหัวข้อใดบ้างที่พนักงานถามถึงบ่อยที่สุด

        3.  พิจารณาว่าหัวข้อใดบ้างที่พนักงานเข้าใจน้อยที่สุด

        4.  พิจารณาว่าลักษณะการกระทำใดที่พนักงานสร้างปัญหาให้บริษัทมากที่สุด

        5.  มีกฎข้อบังคับของรัฐ ที่จำเป็นต้องรวบไว้ในคู่มือ

 

 


 

อ้างอิงจากหนังสือ วิธีการเขียนคู่มือพนักงาน

 

 แปลและเรียบเรียงโดย :วุฒิพงษ์  ยศถาสุโรดม

 

อัพเดทล่าสุด