การตักเตือนด้วยวาจา (Oral Warning)
การตักเตือนด้วยวาจา (Oral Warning)
การตักเตือนด้วยวาจาถือเป็นขั้นตอนแรกของการปฏิบัติการเกี่ยวกับระเบียบวินัย และเป็นวิธีที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดมักจะถูกนำมาใช้กับเหตุการณ์ลักษณะที่เป็นความผิดอย่างไม่เป็นทางการ โดยผู้บริหารหรือผู้ทำหน้าที่รักษาวินัยเริ่มต้นด้วยการพูดให้กับพนักงานรับทราบ และให้เข้าใจถึงกฎระเบียบที่ได้มีการฝ่าฝืนและเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจมีผลเสียเนื่องมาจากการกระทำความผิดที่ได้ทำในครั้งนี้เพื่อให้พนักงานได้ปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมในครั้งต่อไปให้ถูกต้อง ภายหลังจากที่ได้กล่าวตักเตือนด้วยวาจาและชี้แจงให้เข้าใจแล้วควรให้โอกาสพนักงานได้แสดงความคิดเห็นแสดงเหตุผลและแสดงความตั้งใจในการปฏิบัติตนในอนาคตของเขาว่าเป็นอย่างไรเกี่ยวกับการกระทำนั้นๆ (Mondy , Noe , & Premeaux , 2002 : 492-493)
เมื่อผู้บริหารหรือผู้รักษาวินัยมั่นใจว่าพนักงานได้เข้าใจอย่างดีแล้ว ควรมีการติดตามดูผลการปฏิบัติงานตนของพนักงานว่าเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าพนักงานได้สามารถปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ก็จะดำเนินการในขั้นตักเตือนด้วยวาจาและบันทึกขึ้นมูล กล่าวคือ ตักเตือนด้วยวาจาอีกครั้งหนึ่งพร้อมบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มประวัติของพนักงานผู้นั้นโดยบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อพนักงาน วันเดือนปี พฤติกรรมที่กระทำผิด คำพูดที่ได้ชี้แจงให้รับทราบและเข้าใจรวมทั้งคำพูดของพนักงาน ต่อมาพนักงานผู้นั้นได้แก้ไขปรับปรุงดีแล้ว จึงดึงเอากระดาษบันทึกการตักเตือนด้วยวาจา นั้นออกจากแฟ้มประวัติของพนักงานผู้นั้น
การตักเตือนด้วยวาจานี้ถือเป็นการดำเนินการทางวินัยทางบวกหรือเป็นการดำเนินวินัยทางสร้างสรรค์
โดย : รองศาสตราจารย์สุดา สุวรรณาภิรมย์