การสร้างกระบวนการตัดสินใจที่ดีภายใต้ภาวะกดดัน Making Good Group Decisions Amidst Pressure การตัดสินใจภายใต้ภาวะความกดดันมีผลทำให้ประสิทธิภาพการตัดสินใจของกลุ่มลดลง เนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น ข้อมูลมากเกินไป, ให้ความสำคัญกับข้อสันนิษฐานและข้อเท็จจริง, ขอบเขตอำนาจหน้าที่ และพวกมากลากไป การขจัดข้ออุปสรรคเหล่านี้จะช่วยสร้างความท้าท้ายเป็นอย่างมาก แต่การทำงานเป็นกลุ่มนั้นไม่สามารถวางแผนแก้ไขได้ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่กดดัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่กลุ่มสามารถทำได้ก็คือการสร้างกระบวนการตัดสินใจที่จะช่วยลดอุปสรรคเหล่านี้ กระบวนการตัดสินใจของทีมที่มีประสิทธิภาพ The Effective Team Decision-Making Process 1. หาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้: - หาข้อมูล หาข้อมูลจากหลายช่องทางจะช่วยลดอคติที่อาจจะมีมาจากแหล่งข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง
- ระดมความคิด อาจใช้วิธีการเปรียบเทียบโดยทบทวนวิธีการในการอดีตหรือประสบการณ์ที่ผ่านมาที่แล้วประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน วิธีการนี้ยังช่วยให้ได้แนวทางที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น หรืออีกวิธีที่ช่วยสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ก็คือ แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อยและให้แต่ละกลุ่มกำหนดแนวทางการตัดสินใจ การแบ่งเป็นกลุ่มย่อยยังช่วยให้ลด groupthink (พวกมากลากไป) ได้อีกด้วย
- เน้นการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ต้องแน่ใจว่าทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย นอกจากนั้น ต้องรวบรวมทุกมุมมองที่มีส่วนช่วยให้การตัดสินนี้จะมีประสิทธิภาพได้
- พยายามหาทางเลือก วิธีการหนึ่งที่จะขจัดพวกมากลากไป คือ การให้เวลาในการหาทางเลือกหรือแนวทางอื่น เมื่อตกลงที่จะหาทางเลือกนั้นจะช่วยลดทอนข้อโต้แย้งได้ และเทคนิคนี้ยังช่วยแก้อคติในการตัดสินใจของแต่ละคนที่อาจจะมีได้
2. แยกแยะข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้ตัดสินใจกระทำได้ง่ายขึ้น: - ตัดความคิดแบบสุดขั้ว ข้อคิดเห็นหรือข้อสันนิษฐานจะช่วยให้การพิจารณาทางเลือกที่เสนอมารอบคอบขึ้น สถานการณ์หรือความคิดแบบสุดขั้วจะเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกซึ่งรับผิดชอบอยู่และได้พิจารณาแนวทางแต่ละทางอย่างรอบครอบ แนวคิดแบบสุดขั้วมีประโยชน์ในการพิจารณาทางเลือก แต่จะดีก็ต่อเมื่อมีทางเลือกแล้ว
- ซอยปัญหาที่ซับซ้อน วิธีการหนึ่งในการจัดการข้อมูลจำนวนมากและซับซ้อน ก็คือการซอยปัญหาให้เล็กลง ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาจตัดสินใจว่าควรจะทำอะไรก่อน แล้วค่อยหาวิธีการว่าจะทำอย่างไร เป็นต้น
3. ทบทวนการตัดสินใจอย่างต่อเนื่อง: - ทบทวนการตัดสินใจใหม่ การทบทวนการตัดสินใจเป็นระยะ หรือเมื่อมีข้อมูลใหม่ จะช่วยให้การตัดสินใจที่ได้ดำเนินการไปแล้วมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลุ่มไม่ควรเพิกเฉยต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยเหตุผลที่ว่าได้ตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้ว
|