บทความฝึกอบรม : การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้


734 ผู้ชม


บทความฝึกอบรม : การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
อังคาร ที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2551
 
การสนทนา เพื่อพื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรุ้ ดังนั้นควรที่จะเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ ไปใช้ในการสร้างภูมิปัญญาขององค์กร ลดความขัดแย้งของทีมงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการสนทนา ผู้นำต้องลดบทบาททั้งด้านเผด็จการ การลงโทษ การสั่งการ การวินิจฉัย ผิดถูกด้วย และแนวคิดเรื่องการสนทนา ก็อาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเวลาคิด (Idea Time) ได้อีกด้วย
1. บทนำ

   การสนทนา (Dialogue) หมายถึง ถ้อยคำที่ผ่านการไหลของกระแสแห่งความหมาย ไหลไปมาระหว่างกัน จนปรากฏเป็นความเข้าใจ และเกิดบางสิ่งขึ้นใหม่ แลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ความเข้าใจ สมมติฐาน ความรู้สึก ความเชื่อที่ถูกสะสมมา และความหมาย ภายในกลุ่ม พูดคุยกันโดยแขวนไว้ไม่ตัดสิน ทำให้เกิดการไตร่ตรองความคิด (Reflection) เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยผ่านกระบวนการซักถาม การนำเสนอความคิด การฟัง และการไตร่ตรอง ความคิด
   ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Discussion) หมายถึงการนำเสนอ หลายมุมมองที่ทุกคนนำเสนอแตกต่างกันออกไป มีการวิเคราะห์และแยกองค์ประกอบ พูดตอบโต้กันไปมา เหมือนการเล่นลูกปิงปองที่มุ่งการเอาชนะด้วยความคิดที่เหนือกว่า ซึ่งไม่เหมือนกับการสนทนา
   การสนทนา เป็นการสำรวจความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และสมมติฐาน ของตนเอง และทุกคนในกลุ่ม เป็นการเฝ้าสังเกตและประมวลดูว่าค่านิยม ที่ซ่อนเร้นอยู่ในใจนั้น ควบคุมความประพฤติกันอย่างไร

2. ความจำเป็นของการสนทนา
  • จากกระแสโลกาภิวัฒน์ มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น กดดัน เร่งรีบ สื่อสารกันน้อยลง พึ่งกันน้อยลง
  • ความสามารถในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ ความคิด ความเข้าใจในองค์กรค่อนข้างจำกัด
  • ภาวะสังคมสมัยใหม่ เพิ่มกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิน เล่น เที่ยว คุยทั่วไป ทำงานร่วมกัน ประชุมร่วมกัน แต่ก็ยังไม่เข้าใจกัน ขัดแย้งกัน
  • ปัญหาการคิดร่วมกัน และการเรียนรู้ร่วมกันมีน้อยมาก
  • คนส่วนใหญ่เป็นนักขายความคิดให้คนอื่นมาคล้อยตาม ความคิดของผู้พูด ยึดตนเองเป็นหลัก พยายามจะพูดแต่เรื่องที่อยากจะพูดของตนเอง ยัดเยียดความคิดเราใส่คนอื่น
  • ขาดการรับฟังอย่างแท้จริง จึงขาดการนำเสนอความคิดเพราะการพูดตัดขาดว่า ผมเข้าใจแล้ว ไม่ต้องมาพูดอธิบายมาก
  • มีการพูด แต่เป็นแบบการต่อรองในเรื่องผลประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นการสนทนา และต่อรองในเรื่องรายละเอียดโดยไม่พูดถึงสมมติฐานของแต่ละฝ่าย

3. ลักษณะของการสนทนา

   ลักษณะของการสนทนา มีดังนี้

  • การคุยกันเป็นวงกลม แต่ละคนก็พูดและพูดโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีการตัดสินใจ
  • ไม่มีใครเป็นผู้นำ
  • ทุกคนมีส่วนร่วมได้
  • สมาชิก เป็นหนุ่มสาว ผู้อาวุโสด้วย
  • คุยจบ ก็จะหยุดโดยไม่มีเหตุผล
  • ทุกคนแยกย้ายกันกลับบ้าน
  • แต่ละคน จะรู้ว่าตนเองต้องทำอะไร เพราะรับทราบข้อมูล ทุกอย่างแล้วจากการคุยกัน
  • หลังจากนั้นก็จะจับกลุ่มที่เล็กลง ลงมือทำบางสิ่งร่วมกัน และตัดสินใจบางเรื่องร่วมกัน

   บรรยากาศ การสนทนา

  • ความคิดร่วมที่มีพลัง
  • รับรู้ความเข้าใจระหว่างกัน
  • การเปิดใจสนทนากัน
  • ไม่กำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย
  • ไม่เป็นการ ระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
  • สร้างความเป็นอิสระมากที่สุด ภาวะอิสระที่ทำให้หลายสิ่งเปิดออกมา
  • ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแบ่งปัน ความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจ ภายในกลุ่มอย่างแท้จริง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของบุคคล
  • สร้างความรู้สึกไว้วางใจระหว่างกัน
  • ทำให้บรรยากาศการประชุมแตกต่างออกไป
  • ทำให้ทุกคนเกิดความรู้สึกร่วมกัน ในเรื่องความสำเร็จ หรือความผิดพลาดร่วมกัน
  • เกิดการเคลื่อนย้ายความรู้สึกไปมาระหว่างทุกคน
  • ไม่เกิดการปกป้องความคิดของตนเอง
  • ไม่มีการตัดสินว่า ผิดถูก ดีไม่ดี ใช้ได้หรือใช้ไม่ได้
  • ขณะที่รับฟัง ไม่ต้องวิตกกับหลักการใด ๆ แต่ให้มีการไตร่ตรองความคิด
  • ในระหว่างสนทนา จะต้องสร้างความพอดีให้สมดุล ระหว่างการนำเสนอความคิดและซักถามกับ
  • เต็มใจ สมัครใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน

4.การดำเนินการสนทนา
  • นั่งล้อมกันเป็นวงกลม โดยไม่มีสิ่งใดมากั้นขวางไว้ เพื่อมองหน้ากันได้ทุกคน สื่อสารตรงกันได้
  • มีกติกาในการสนทนา ดังนี้
    - ไม่พูดแทรกจนกว่า อีกผ่ายหนึ่งพูดจบ
    - ไม่มีการโต้แย้ง โน้มน้าว หรือครอบงำความคิดของคนอื่น
    - ไม่ยึดบทบาทการพูดไว้ แต่เพียงผู้เดียว
    - ไม่ตัดสินคนที่พูดถูกหรือพูดผิด
  • ทุกคนรู้สึกอิสระ และได้รับโอกาสในการพูด
  • ขณะฟัง ทุกคนก็พัฒนาความคิดไตรครองไป ฟังอย่างตั้งใจ โดยไม่ตัดสินในสิ่งที่รับฟัง และผู้ที่พูดออกมา ทั้งนี้ให้แขวนหรือโยนทิ้ง สมมติฐานของตนเองได้
  • จำนวนกลุ่มสนทนาไม่จำกัดจำนวน อาจอยู่ในช่วง 20-40 คน หากมากกว่านี้ แนะนำให้แยกกลุ่มออกไป อีกกลุ่มหนึ่ง หากน้อยกว่า 10 คน ต่อกลุ่ม การสนทนาอาจติดขัด เพราะอาจเผลอพูดสิ่งที่ทำให้คนอื่นไม่พอใจออกมา
  • การสนทนาต้องพยายามเปิดช่องว่าง ให้คนอื่นพูด ซึ่งอาจเห็นบรรยากาศ
    - คนพูดเก่งอาจไม่ค่อยพูด
    - คนที่ไม่ค่อยจะพูด จะแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างมาก
  • หัวข้อการสนทนา
    - เริ่มจากหัวเรื่องใดก็ได้ที่อยู่ในความสนใจของทุกคน
    - ไม่มีข้อห้ามในการพูด หรือห้ามกล่าวในเรื่องใดก็ตาม
    - ทุกคนมีอิสระที่จะพูดได้ทุกเรื่อง
    - กำหนดหัวข้อสนทนาบ้างก็ได้ แต่ให้หัวข้อกว้าง ๆ
  • ระยะเวลาสนทนา ประมาณไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อไม่เกิดความล้า อาจเป็นสัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง ถ้าให้ดีควรเป็นสัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้แต่ละคนกลับไปไตร่ตรองความคิดอีกครั้งก่อนการเข้าประชุมสนทนาคราวหน้า
  • อาจมีการหมุนเวียนสมาชิกกลุ่มในการเข้าพบปะสนทนา
  • ไม่มีบทบาทผู้นำ ถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ให้วางตำแหน่งหน้าที่การงาน ยศ ก่อนการสนทนา
  • แม้ว่าจะไม่มีผู้นำในการสนทนา แต่ควรจัดให้มีผู้อำนวยความสะดวก อย่างน้อย 1 คน ในการดำเนินการกลุ่มสนทนา

5.สรุปส่งท้าย

   การสนทนา เพื่อพื้นฐานขององค์กรแห่งการเรียนรุ้ ดังนั้นควรที่จะเห็นประโยชน์ของแนวคิดนี้ ไปใช้ในการสร้างภูมิปัญญาขององค์กร ลดความขัดแย้งของทีมงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของงานอีกด้วย ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการสนทนา ผู้นำต้องลดบทบาททั้งด้านเผด็จการ การลงโทษ การสั่งการ การวินิจฉัย ผิดถูกด้วย และแนวคิดเรื่องการสนทนา ก็อาจถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเวลาคิด (Idea Time) ได้อีกด้วย

โดย มนต์ชัย พินิจจิตสมุทร
จากวารสาร For Quality ฉบับเดือนมีนาคม 2548

อัพเดทล่าสุด