มุมมองของนักฝึกอบรมมืออาชีพ
- การวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม ในรูปแบบเดิมๆ เช่นการแจกแบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการในการฝึกอบรม TrainingNeed Survey อาจไม่เพียงพอ และยังไม่สามารถชี้วัดได้อย่างชัดเจน
- การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ยังไม่ทันสมัย ทั้งกระบวนการและการจัดฝึกอบรมที่ไม่ถูกต้องที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ KSA (K = Knowledge ,S = Skills, A=Attitude) หรือวิทยากรไม่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง
- เนื้อหาหลักสูตร อาจเป็นเพียงทฤษฎี หรือเป็นเพียงแค่หลักการ หรือเป็นเพียงของนำเข้าจากต่างประเทศ ที่ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์จริงในธุรกิจ
- สิ่งสุดท้ายสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนา คือวงจรการฝึกอบรม ในส่วนการประเมินผล เพื่อการปรับปรุงพัฒนา จุดบกพร่องต่อไป ทั้งนี้การประเมินที่ใช้กันอยู่ คือประเมินแบบปฏิกิริยา Reaction Evaluation ถือว่าเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
- การฝึกอบรมเป็นมุมมองตามกระแสนิยม หรือตามแฟชั่น และไม่มีเครื่องมือชี้วัดการฝึกอบรม Knowledge Management
- เจ้าหน้าที่งานฝึกอบรมและพัฒนา ทำงานค่อนไปทางธุรการ จัดเอกสาร หรือติดต่อวิทยากรหรือบริษัทฯเท่านั้น ไม่มีการวิเคราะห์วางแผนงานอย่างแท้จริง
- หัวใจสำคัญสุดท้าย คือความรู้ ความเข้าใจ ของผู้บริหารในงานฝึกอบรม ยังไม่เป็นมืออาชีพ Knowledge Master หรือ ที่เรียกว่า Professional จุดนี้ถือเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์กรของท่าน
สรุป ทุกประเด็นที่กล่าวมา ในมุมมองในเรื่อง HRD ข้อสังเกตุคือการสร้างความเป็นมาตรฐานของงานฝึกอบรมในองค์กรธุรกิจของคุณก่อนที่จะไปพึ่งพิง นักฝึกอบรมภายนอกที่ไม่รู้ทิศทางธุรกิจ ของคุณเอง ....
SiamHRM.com