TRAINING ROAD MAP : เครื่องมือสู่ความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากร
โดย...ณรงค์วิทย์ แสนทอง
[email protected]
คนที่ทำงานด้านการพัฒนาและฝึกอบรมคงไม่ปฏิเสธว่าไม่รู้จักคำๆนี้ บางองค์กรแปลคำนี้ว่า "เส้นทางความก้าวหน้าในการฝึกอบรม" หรือ "แผนที่ความก้าวหน้าในการพัฒนาบุคลากร" หรือ "แผนที่เส้นทางเพื่อการพัฒนาและฝึกอบรม" และอาจจะมีชื่อเรียกอื่นๆที่แตกต่างกันออกไป แต่ประเด็นเรื่องการเรียกชื่อนี้ไม่ใช่สาระสำคัญอะไรมากนัก เพราะทุกชื่อยังอยู่บนหลักการเดียวกัน
TRAINING ROAD MAP หมายถึง เอกสารที่กำหนดเส้นทางการพัฒนาและฝึกอบรมของบุคลากรแต่ละตำแหน่งว่าเขาควรจะได้รับการพัฒนาและฝึกอบรมเรื่องอะไรบ้าง ควรจะอบรมเมื่อไหร่ อบรมอะไรก่อน อะไรหลัง
TRAINING ROAD MAP นี้ถือเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการด้านการพัฒนาและฝึกอบรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะถ้าองค์กรใดไม่จัดทำเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เท่ากับว่าการพัฒนาและฝึกอบรมขาดกรอบในการดำเนินงาน การพัฒนาและฝึกอบรมจะออกมาสะเปะสะปะ หาหลักยึดไม่เจอ ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมคนๆนี้ต้องอบรมเรื่องนั้น ทำไมตำแหน่งงานนั้นต้องอบรมเรื่องนี้ ทำไมต้องอบรมหลักสูตรนั้นก่อนที่จะเข้าอบรมหลักสูตรนี้ ฯลฯ
ส่วนประกอบของหลักสูตรการพัฒนาและฝึกอบรมใน TRAINING ROAD MAP จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักดังนี้
- ตำแหน่งงานนี้ต้องอบรมเรื่องอะไรบ้างจึงจะทำงานนี้ได้? (On the Job Training/Job Requirements)
สิ่งที่เราจะได้จากการตอบคำถามนี้คือ ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ทุกคนต้องได้รับการปฐมนิเทศก่อน ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) วิธีการปฏิบัติงาน (Work Instruction) คู่มือการทำงาน (Manual) ระเบียบปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง (Rules & Regulations) ขององค์กร ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน - ตำแหน่งงานนี้จะควรจะอบรมเรื่องอะไรบ้าง จึงจะพัฒนาและปรับปรุงงานได้? (Job Enhancement)
สิ่งที่เราจะได้จากการตอบคำถามนี้คือ ความสามารถ(JOB COMPETENCY) ที่กำหนดไว้ในใบกำหนดหน้าที่งาน เพราะถ้าเขามีความสามารถในเรื่องที่กำหนดไว้แล้ว จะช่วยให้เขาสามารถปฏิบัติงานในข้อ 1. ได้ดียิ่งขึ้น - ตำแหน่งงานนี้จะควรจะอบรมเรื่องอะไรบ้าง จึงจะสามารถเติบโตขึ้นไปในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นไปได้? (Career Development)
คำตอบที่จะได้จากคำถามนี้คือ ความสามารถของตำแหน่งงานที่สูงขึ้นไป ทั้งในแง่ของความสามารถในงาน (TECHNICAL COMPETENCY) และความสามารถในการบริหารจัดการ (GENERAL COMPETENCY) เป็นการบอกว่าถ้าผู้ดำรงตำแหน่งงานนี้จะเติบโตขึ้นไปในตำแหน่งงานที่สูงกว่านั้น เขาจะต้องมีความพร้อมในเรื่องอะไรบ้างนั่นเอง
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ผมจึงยกตัวอย่างเส้นทางความก้าวหน้าในการฝึกอบรมของตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อมาให้ดูดังตารางข้างล่างนี้
TRAINING ROAD MAP
ตำแหน่ง : ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ | เกรด : 5 | |
แผนก/ฝ่าย : จัดซื้อ |
ประเภทของการฝึกอบรม | หลักสูตรอบรม | อายุงาน | |||
0-6 เดือน | 6 เดือน- 1 ปี | 1 - 3 ปี | หลังจาก 3 ปี | ||
ON THE JOB TRAINING | |||||
(สามารถทำงานได้) | 4ปฐมนิเทศ | a | |||
4Procurement Procedure (PR-180-01) | a | ||||
4การใช้โปรแกรมการจัดซื้อ ABC | a | ||||
4ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต | a | ||||
4ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ | a | ||||
JOB ENHANCEMENT | |||||
(สามารถพัฒนางานได้) | 4เทคนิคการเจรจาต่อรอง | a | |||
4ทักษะการจัดการ | a | ||||
4เทคนิคการวางแผน | a | ||||
4การบริหาร Supply Chain | a | ||||
4เทคนิคการนำเสนองาน | a | ||||
CAREER DEVELOPMENT | |||||
(สามารถก้าวหน้าในอาชีพได้) | 4การวางแผนเชิงกลยุทธ์ | a | |||
4การคิดอย่างเป็นระบบ | a | ||||
4การเงินสำหรับผู้บริหาร | a | ||||
4การพัฒนาองค์กร | a | ||||
4เทคนิคการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ | a |
สรุป การจัดทำ TRAINING ROAD MAP จึงถือได้ว่าเป็นฐานรากที่สำคัญของการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะการนำไปพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรขององค์กร สอดคล้องกับเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) และสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานสากลต่างๆ ที่นับวันจะยิ่งลงลึกลงมาในเรื่องของการพัฒนาบุคลากรเพิ่มมากยิ่งขึ้น องค์กรใดสามารถจัดทำระบบนี้ขึ้นมาได้ จะช่วยลดความวุ่นวายและสับสนในการพัฒนาคนลงได้เยอะทีเดียวนะครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าต่อจากนี้ไปองค์กรต่างๆ จะให้ความสำคัญกับเรื่อง