การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


720 ผู้ชม


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์




การพัฒนาคน ที่แท้จริงต้องพัฒนาที่รากเหง้า  แต่ในทางปฏิบัติต้องบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆ และพัฒนาคนโดยสามารถบูรณาการทั้งแนวปรัชญา   Essentialism  or Perennials   แนวปรัชญา  Progressive / Reconstructive (OD,OL,LO)  เข้าด้วยกันให้สอดคลองกับโครงสร้างพื้นฐานและวัฒนธรรมของประเทศเรา  ปัจจัยพื้นฐานไม่ควรมองข้ามประเด็นทรัพยากรขององค์กรไม่จะเป็น  คน งบประมาณ และทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องเอื้อต่อการพัฒนา  และต้องมีทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะแผนในระยะยาวต้องมุ่งเน้นที่การพัฒนาที่รากเหง้าให้เป็นคนที่คิดเป็น  ทำเป็น  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในที่สุด  ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามเป้าหมาย โดยไม่มองข้ามความคุ้มค่าคุ้มทุน ข้อเสนอแนะการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจและสังคมจะไม่บรรลุผลสำเร็จด้วยดี ถ้าหากประชากรของชาติขาดการศึกษาหรือมีการศึกษาในระดับต่ำ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการสร้างกำลังบุคลากรของประเทศให้เป็นคนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ถ้าบุคลากรในประเทศดี การพัฒนาทุกอย่างจะง่ายและรวดเร็ว  ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้ง จึงมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน   ในฐานะ HRD  การวางแผนพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องมองให้ประสานกันและมีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกัน กล่าวโดยทั่วๆ ไป การให้การศึกษาเบื้องต้นแก่ประชาชนนับว่าเป็นความจำเป็นอันดับแรกในการพัฒนาการศึกษา และในขณะเดียวกัน การจัดแนวการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศในด้านกำลังคนก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ในระยะของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจจึงควรมีการกำหนดว่าควรผลิตกำลังคนในระดับต่างๆ ที่จะใช้ในแผนงานพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแต่ละแขนงอย่างเพียงพอควบคู่ไปด้วยการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  ถ้าจะพัฒนาต้องเริ่มต้นที่ตัวคนก่อนเป็นอันดับแรก  หลังจากนั้นก็ศึกษาระบบ และบริบท สภาพปัญหาที่แท้จริง  นโยบาย  ภาคีเครือข่ายเอาด้วยหรือไม่  ความศรัทธาของระบบการศึกษา  ช่องทางการพัฒนาน่าจะเกิดผลมากน้อยแค่ไหน  อะไรคือตัวชี้วัดที่สำคัญ  ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร  จริงใจที่จะแก้ไขปัญหามากน้อยเพียงใด ฯลฯ  ซึ่งตัวแปรเหล่านี้จำเป็นต้องมาวิเคราะห์ก่อนวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

โดย : คนึงนิจ อนุโรจน์


อัพเดทล่าสุด