การออกแบบ การเรียนรู้


729 ผู้ชม


การออกแบบ การเรียนรู้




การออกแบบการเรียนรู้  ในการออกแบบการเรียนรู้ในผู้ใหญ่  มีตัวแปรต้องพิจารณา 3 ตัวแปร  คือ

1.      Learning Strategies  กลยุทธการเรียนรู้ 

2.      Learning outcome  ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่ต้องการ

3.      The learner  การพัฒนาสู่ผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน  หมายถึงผู้เรียนมีการพัฒนาความรู้  ทักษะ  และความสามารถ            

การออกแบบการเรียนรู้ที่ดีจะส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบการเรียนรู้ต้องการ  ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ต้องการประกอบด้วย    

1.      Program Knowledge   หมายถึง  การจัดโปรแกรมการเรียนรู้  ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในเรื่อง

   o     Basic facts and skill   ความรู้พื้นฐานรวมทั้งทักษะในเรื่องนั้น ๆ  เช่น  ความรู้ในเรื่องสภาพขององค์กรในปัจจุบัน  สมาชิกขององค์กรเป็นต้น    ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge)  และการถ่ายทอดทักษะในการทำงาน   

   o     Professional/Technical Information  ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับความรู้ในเชิงวิชาชีพ    งานที่ทำ  ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน    ได้แก่  -        -  Factual  information  เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับวิชาชีพของผู้เรียน  ที่ผู้จัดโปรมแกรมต้องการให้ผู้เรียนได้รับความรู้  เช่น น้ำ   เกิดจากการรวมตัวของไฮโดรเจนและออกซิเจน

-          Detailed complexity  มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แยกแยะปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน  เข้าใจและสามารถระบุรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  สามารถวิเคราะห์สาเหตุและคาดการผลที่จะเกิดขึ้นได้เป็นขั้นตอน    (cause & effect)  เช่น วิศวกรออกแบบการสร้างสะพานจะต้องมีการคำนวณความสามารถในการรองรับน้ำหนักของสะพานรวมทั้งความสามารถในการต้านแรงลม ของสะพาน  เพื่อให้ได้สะพานที่มีความแข็งแรงป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง 

  o     Procedural skills   เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่ต้องการให้เกิดในโปรแกรมความรู้  เป็นเรื่องทักษะและขั้นตอนการปฏิบัติงานตามสาขาวิชาชีพ ที่ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน   ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตนที่ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ  ซึ่งทักษะในการทำงานนี้จะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์แยกแยะปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน  นั่นคือทักษะนี้จะแสดงให้เห็นได้เมื่อผู้เรียนพบกับปัญหายุ่งยากซับซ้อนนั่นเอง

กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาให้เกิดผลสำฤทธิ์ด้านนี้  ประกอบด้วย

o     Theory  Session เป็นการให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีด้วยวิธีการต่างๆ

o     Lecture  ใช้วิธีการบรรยาย

o     Skill session  การสอนเกี่ยวกับทักษะ

2.      ความรู้ความสามารถในแก้ปัญหาในงาน (Task)  แบ่งเป็นองค์ประกอบคือ

2.1    Analytical   ความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิเคราะห์  แบ่งเป็น 4 ระดับคือ•Linear analysis:  เป็นความสามารถและทักษะในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ความสามารถในการเปรียบเทียบ การวิเคราะห์แนวโน้ม และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุและผลได้

•Diagnostic analysis:  เป็นความสามารถในการอธิบาย  การตีความข้อมูล ในแต่ละประเภทได้   การขุดคุ้ยค้นหาสาเหตุได้ซึ่งเป็นความสามารถที่พัฒนาขึ้นมาจากระดับแรก 

•Complex analysis: เป็นความสามารถในการที่จะแก้ปัญหา  และตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องโดยใช้กระบวนการหรือรูปแบบการแก้ปัญหา เช่น รูปแบบการแก้ปัญหาของ  Dewey  7 ขั้นตอน คือ  1.       มีการระบุปัญหา  2.       ระบุแนวทางที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา   3.       การประเมินผลหรือคาดการณ์แต่ละแนวทางที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหา 4.       การตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา5.       วางแผนสู่การปฏิบัติ6.       นำแนวแก้ปัญหาทางที่เลือกไปลงมือปฏิบัติ7.       ประเมินผล

•Analysis under uncertainty : เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ขั้นสูง  ได้แก่ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์  สามารถระบุปัญหาและหาแนวทางแก้ไขได้แม้ข้อมูลที่มีไม่สมบูรณ์เพียงพอ ซึ่งเซงเก้ได้ให้ความหมายของบุคคลในกลุ่มนี้ว่าเป็น  “บุคคลที่เต็มไปด้วยพลังของความคิดสร้างสรรค์ มีพลังและมีชีวิตชีวา 

2.2  Logistical  การทำงานที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผลหรือ  ความเป็นตรรกะ  มี 4 องค์ประกอบ  ได้แก่

•Goal Identification  สามารถระบุเป้าหมายที่ต้องการได้

•Administrative proficiency  สามารถในการบริหารจัดการได้ ซึ่งเป็นความสามารถนี้เป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กับการวางแผนและการจัดการ 

    -  การวางแผน(Planning)  คือความสามารถในการคาดการกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานได้  และสามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมเพื่อลงมือปฏิบัติได้อย่างมีเหตุมีผล

      -    การจัดระบบ (Organizing)   เป็นความสามารถในการที่จะนำทรัพยากรที่มีอยู่มาบริหารจัดการร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพสมเหตุสมผล     

ในขณะที่การจัดการ (Administrative) เป็นการคิดจัดการในเรื่อง         

  -- Resource allocation  คือ  การจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม คุ้มค่า           

   -- Efficiency มีประสิทธิภาพ  เป็นการค้นหาแนวทางหรือวิธีการในการบริหารจัดการที่ดีกว่าเดิมโดยมีประเด็นสำคัญคือ                   

          --- การคัดเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพ                   

          --- มีการตั้งเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้                   

          ---  ผลลัพธ์ที่ต้องการมีมาตรฐานและมุ่งสู่ความเป็นเลิศขององค์กร                               

2.3  Implementing การประยุกต์ความรู้ความสามารถในแก้ปัญหาในงานสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการให้เกิด การประยุกต์ความรู้ความสามารถในแก้ปัญหาในงานสู่   มีด้วยกัน 4 องค์ประกอบคือ

•Work  motivation   ต้องมีกระตุ้นการบุคลการในหน่วยงานเกี่ยวกับคุณค่าของงานที่ทำ  โดยเน้นที่การสร้างทัศนคติที่ดีในงานซึ่งเป็นself motivation ที่จะส่งผลให้เกิดความกระตือรือร้น (enthusiasm)  มีความรัก  และเชื่อมั่นในงานที่ทำ (strong believe in work )

•Bias for Action  เป็นการกระตุ้นโดยเน้นที่ความต้องการปัจเจกบุคคลเรื่องความสำเร็จ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ  ที่ส่งผลให้เกิดความภาคภูมิใจในงาน

•Purposeful action: สร้างความมั่นใจให้ผู้ปฎิบัติบิตงานมีความมั่นใจว่าจะสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลลัพธ์ที่ดี   

•unilateral power: เป็นการสร้างพลังความสามารถผู้ปฏิบัติงานให้มีความสามารถในการเป็นผู้กำหนดทิศทาง  หาแนวร่วม  และรวมพลังทรัพยากรที่มีมาบริหารจัดการงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

•Effectiveness: มีประสิทธิผล  พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานที่ตอบสนองเป้าหมาย 4 ประการคือ

          1. responsiveness   คือตอบสนองความต้องการของแลกค้าและความต้องการขององค์กร

          2. Innovation  เกิดนวัตกรรม

          3.Competence  มีการพัฒนาและใช้ศักภาพของคนอย่างมีประสิทธิภาพ

         4. Efficiency มีประสิทธิภาพ 

 กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านนี้  ประกอบด้วย

o     Discussion เป็นการอภิปรายกลุ่ม  หรือถกแถลงวิเคราะห์ สังเคราะห์ร่วมกัน  แล้วหาข้อยุติ

o     case study  เป็นการนำกรณีตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา  ทำการวิเคราะห์สังเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของกรณีตัวอย่างและสรุปรูปแบบในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดร่วมกัน

o     Role play  เป็นการแสดงบทบาทสมมุติ  สถานการณ์สมมุติ  และให้ผู้ศึกษาเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมที่ผู้แสดงบทบาทสมมุติปฏิบัติตามสถานการณ์สมมุตินั้นๆ  แล้วนำมาวิเคราะห์วิจารณ์วิเคราะห์สังเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง และสรุปรูปแนวทางที่ดีที่สุดร่วมกัน 

3.      การสร้างสัมพันธภาพ (Relationship)  แบ่งเป็น

o     Intrapersonal สัมพันธภาพในตัวเอง  ประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้

  •       Spontaneity เป็นลักษณะที่มีและเกิดขึ้นเองในบุคคลนั้น  ได้แก่ความสามารถของบุคคลในการที่แสดงตัวตนของตนเองออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้อย่างอิสระ  

  •       Self awareness การตระหนักรู้ตนเอง  เป็นความสามารถของบุคคลนั้น ๆ ที่มีความตระหนักรู้ในตนเอง  สามารถบอกจุดอ่อนจุดแข็งของตนเองได้  

  •       Self confidence  ความเชื่อมั่นในตนเอง  เป็นความสามารถของบุคคลในการแสดงออกซึ่งความเชื่อมั่นเด็ดเดี่ยวของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้ 

  •       Inner strength  ความเข้มแข็งอดทนภายในของบุคคลต่อภาวการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ  โดยเฉพาะสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงไม่สามารถคาดการณ์ได้    

  •       Self discipline ความมีวินัยในตนเอง  หมายถึงความสามารถของบุคคลในการควบคุมกำกับตนเอง  และแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  

  •       Emotional resilience ความยืดหยุ่นทางอารมณ์  เป็นความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งเป็นความสามารถที่จะพัฒนาสู่การคิดวิจารณ์  คิดแบบเป็นตรรกะต่อการเปลี่ยนแปลงหรือสถาณการณ์ต่าง ๆ (Critical thinking and meta  ability) ได้อย่างเหมาะสมตามมา   

o     Interpersonal  สัมพันธภาพระหว่างบุคคล  ประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้

  • Communication มีความสามารถในการสื่อสารระดับพื้นฐาน ได้แก่ สามารถเขียน  พูด  หรือแสดงให้ผู้อื่นเข้าใจได้

  • interaction at the objective level ความสามารถการสื่อสาร  ปฏิสัมพันธ์  และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

  • Interacting at emotional level  สามารถมีปฏิสัมพันธ์ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เข้าใจในความแตกต่างของการทำงานกับคน   และสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • Using group process มีความสามารถในการบริหารจัดการกระบวนการกลุ่มส่วนผลให้เกิดผลลัพธ์ที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ซึ่งต้องมีสรรถนะ(Competency) ระดับสูงในเรื่อง              

การสื่อสาร                    

การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น                     

 -  การควบคุมอารมณ์

  • Using social power  มีความสามารถในการใช้พลังทางสังคมมาสนับสนุนงานได้  โดยมีความสามารถเลือกสิ่งเครื่องมือมาใช้ได้อย่างฉลากหลักแหลม  ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานได้เป็นอย่างดี

o     Concern for other  ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ประกอบด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้คือ

  •       Developing others  มีความสามารถในการพัฒนาผู้อื่นได้  บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนใฝ่ดี มีค่าและพัฒนาได้  •       Empathy  มีความสามารถที่จะเข้าใจความรู้สึกหรือความยากลำบากของผู้อื่น  

  •       Leadership  มีความเป็นผู้นำ  สามารถตัดสินใจหรือลงความเห็น  มอบหมายหน้าที่  และนิเทศติดตามงานได้

  •       Managing Conflict มีความสามารถในการบริหารความขัดแย้ง  ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานการเป็นผู้นำที่ดี  

กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาให้เกิดผลัมฤทธิ์ด้านนี้  ประกอบด้วย

o     experiential learning  เป็นการสอนให้เกิดการเรียนรู้โดยการทดลองเพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีมาเป็นแนวทางปฏิบัติ

o     Mentoring  การใช้ระบบพี่เลี้ยง  โดยผู้ที่มีความสามารถและเป็นที่ยอมรับ(Best practice) มาเป็นเครื่องมือในการสอนหรือพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ในคนที่มีประสบการณ์น้อย  หรือบุคลากรใหม่

o     Problem base learning  การสอนที่มุ้งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาทำความเข้าใจเนื้อสาระและสร้างองค์ความรู้ขึ้นมา เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา  รูปแบบการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้งและเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา  วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งและสรุปแนวทางที่ดีร่วมกัน

 4.      คิดวิจารณ์ (Critical Thinking)  เป็นความสามารถในการบูรณาการในเรื่องต่อไปนี้ 

-          Problem solving การแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนโดยใช้กระบวนการในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง เช่น กระบวนการแก้ปัญหา 7 ขั้นตอนของ Dewey  (รายละเอียดใน Task/Analytical )

-          Creative มีความคิดอย่างสร้างสรรค์  คิดสร้างแนวคิดใหม่ คิดนอกกรอบ 

 -          Evaluation   มีการประเมินผล

-          Dialectic thinking; opposing attribute มีความคิดโต้แย้งแบบมีเหตุมีผล   เป็นตรรกะ 

5.      Meta ability  พลังการเปลี่ยนแปลง  ที่ได้รับการพัฒนาความรู้และปลูกฝังไปเป็นความรู้แฝง (tacit knowledge) ในบุคคลนั้น ๆ  ซึ่งแสดงให้เราเห็นได้จาก

o           Mental agility ความเฉลียวฉลาดของบุคคล  แบ่งเป็น        

       -  Mental  capacities ความสามารถในการที่จะเข้าใจปัญหาแม้ใน       สถานการณที่ยุ่งยากซับซ้อน                   

       -  Speed  คิดไว

o        Helicopter  Perception  มองภาพกว้าง  หมายถึงความสามารถในการมองภาพหรือสถานการณ์ได้ในทุก ๆ มุมมอง และสามารถสรุปประเด็นปัญหา

 

โดย : คนึงนิจ อนุโรจน์

 

อัพเดทล่าสุด