กระบวนการวางแผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติ


826 ผู้ชม


กระบวนการวางแผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติ




พอใครพูดคำว่า "การวางแผนกลยุทธ์" หรือ Strategic Planning  ฟังดูเป็นคำเท่ห์  หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า จริงๆแล้ว คำว่า "กลยุทธ์" คืออะไร  มีกระบวนการและการนำไปใช้อย่างไร  คำว่า "กลยุทธ์"  ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง การรบที่มีเล่ห์เหลี่ยม  วิธีการต่อสู้ที่ต้องใช้กลอุบายต่างๆ  อ่านแล้วก็ยังมองไม่ออกว่าคืออะไร  ในที่นี้จึงขอสรุปย่อๆพอให้เห็นภาพว่า กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ในทางธุรกิจนั้น คืออะไร และประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  และมีความเชื่อมโยงกับแผนปฏิบัติงานอย่างไร     

แผนกลยุทธ์

แผนงานที่ปรับองค์กรให้ใช้ทรัพยากรทำงานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นแผนระยะยาวที่เป็นตัวกำหนดทิศทางสำหรับแผนระยะสั้นทั้งหลาย

แผนปฏิบัติ

แผนงานที่นำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด จะเชื่อมโยงแผนงาน  โครงการ แผนดำเนินงาน แผนงบประมาณ ที่ปฏิบัติประจำปี

การจัดทำกลยุทธ์

การกำหนดจุดมุ่งหมายสูงสุด จัดทำเป็นแผนดำเนินงานต่าง ๆ

การวางแผนกลยุทธ์

การทำการวิเคราะห์และคาดคะเนปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวิทยาการต่าง ๆ ที่จะเป็นไปในอนาคต  โดยวิเคราะห์จุดอ่อน และจุดแข็งของธุรกิจ เพื่อคาดคะเนภาวการณ์แข่งขัน พัฒนาโอกาสทางธุรกิจให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงที่คาดไว้ล่วงหน้า

เป้าหมายกลยุทธ์

การค้นให้พบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดของธุรกิจ จุดมุ่งหมายที่ธุรกิจควรจะไป และควรจะเป็น แหล่งทรัพยากรโดยตรงที่จะนำมาใช้

หลักการพิจารณาในกระบวนการวางแผน

พิจารณาว่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่ ฝ่ายบริหารจะยอมรับและเข้าใจ เต็มใจนำแผนไปใช้ในการตัดสินใจอย่างไร

ระบบการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ

ต้องช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเห็นตรงกันในแนวทางและวิธีดำเนินการที่จะทำ มีกลไกเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์กับแผนปฏิบัติให้ต่อเนื่องกัน

การจัดสรรเงินทุนตามแผนงานกลยุทธ์

ต้องจัดตามลำดับแผนงานที่มีโอกาสเกิดผลสำเร็จมากที่สุด ไปสู่แผนงานที่มีโอกาสต่ำกว่า

เงินทุนทางกลยุทธ์

  • เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์ กับการใช้ทรัพยากรด้านเงินทุน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย ได้แก่การลงทุนในทรัพย์สินที่มีตัวตน การเพิ่มทุนในเงินทุนหมุนเวียน และค่าใช้จ่ายส่วนเกินความต้องการที่ใช้ในปัจจุบัน
  • เงินทุนสำหรับงานประจำ เป็นเงินทุนที่ธุรกิจใช้ในการดำเนินงานปกติ อยู่ในงบประมาณประจำปี ขนาดของเงินทุนกำหนดตามงานประจำต่าง ๆ ส่วนที่เหลือจึงนำไปใช้พัฒนากลยุทธ์

การวิเคราะห์แผนงานกลยุทธ์

ควรจะต้องดูวัตถุประสงค์และวิธีการ ในการพัฒนาและดัดแปลงผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การค้นคว้าวิจัย การโฆษณา และการลงทุนต่าง ๆ วิเคราะห์ภาพรวมของแผนงาน ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ การจัดการทรัพยากรให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพสูงสุด

หลักเกณฑ์ที่ใช้จัดลำดับแผนงาน

เป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับสูงโดยตรง พิจารณาจากความจำเป็น ความเหมาะสม ขนาดความเสี่ยง โอกาสสำเร็จผล ความสนับสนุนทางการเงินหลายปีติดต่อกัน และส่วนประสมของเงินทุนที่ใช้

ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน

ติดตามความก้าวหน้าของงาน โดยกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน จุดที่จะติดตามผลเป็นระยะ ๆ

ประโยชน์จากการจัดทำแผนงานในการวางแผนกลยุทธ์

 เป็นการนำกระบวนการวิเคราะห์ และจัดสรรเงินทุนใช้เชื่อมโยงเป้าหมายทางกลยุทธ์กับงบประมาณ ใช้เงินทุนดำเนินการสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง

งบประมาณ

เป็นกลไกที่ช่วย วิเคราะห์ถึงขนาดค่าใช้จ่าย และทรัพยากรทุกชนิดที่ใช้ในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่วางไว้ เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับแปลงความคิดทางกลยุทธ์ เป็นแผนปฏิบัติงาน

ที่มา : วันสต๊อปเอ็ชอาร์


อัพเดทล่าสุด