HRD Proactive 1 : บทบาทเชิงรุก


654 ผู้ชม


HRD Proactive 1 : บทบาทเชิงรุก




จากสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบันนั้นทำให้บทบาทของงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลยุคใหม่ต้องปรับบทบาทของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป  

ดังนั้น งานพัฒนาทรัพยากรบุคคลต้องแสดงบทบาทเชิงรุก (Proactive) เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) โดยร่วมในการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์ทรัพยากรบุคคลขององค์การ (Strategic Facilitator)  

ลดบทบาทการส่งมอบการฝึกอบรม (Training Deliverer) ก็คือลดบทบาทในการสอนเอง ให้ผู้มีความรู้ ความชำนาญในแต่ละสาขาอาชีพ (Professional) เป็นผู้ช่วยสอน

ลดความสำคัญของการฝึกอบรมในชั้นเรียน (Classroom Based Training) เพื่อให้พนักงานสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องส่งเสริมการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (Action Learning)  (อ้างถึงใน สมบัติ กุสุมาวลี)            

ดังนั้น งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะแพทยศาสตร์ จึงเริ่มต้นการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองของบุคลากรเป็นอันดับแรกเน้นการทำงานเชิงรุก (Proactive) เข้าไปพบบุคลากรกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเข้ามาอ่านหรือเข้ามาเขียน Blog  ในแหล่งแบ่งปันความรู้ Cop HRD” ซึ่งเป็นการฝึกการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – Learning) เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ต้องลงทุน สามารถเริ่มต้นได้เลยสำหรับทุก ๆ คน

โดย :  ขนิษฐา  เมฆอรุณกมล


อัพเดทล่าสุด