การกำหนดหัวข้อวิชา - การฝึกอบรม


602 ผู้ชม


การกำหนดหัวข้อวิชา - การฝึกอบรม




ขั้นที่ 5 : การกำหนดหัวข้อวิชา
ความหมายของหัวข้อวิชา
               หัวข้อวิชา หมายถึง เนื้อหาสาระของเรื่องที่ต้องการจะให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และความสามารถ การกำหนดหัวข้อวิชา จึงหมายถึง การระบุว่า ภารกิจหรือหน้าที่ที่เป็นความจำเป็นในการฝึกอบรมนั้น ควรจะนำวิชาอะไรบ้าง มาช่วยแก้ไขปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ขั้นตอนและหลักการกำหนดหัวข้อวิชา
               1. จัดทำตารางในการกำหนดหัวข้อวิชาขึ้น โดยประกอบด้วย ช่อง ภารกิจ หรือหน้าที่ ซึ่งเป็นความจำเป็นในการฝึกอบรม ช่องระดับความสำคัญของแต่ละภารกิจ และช่องหัวข้อวิชา

ตารางกำหนดหัวข้อวิชา

ภารกิจ หรือหน้าที่

ระดับความสำคัญ

หัวข้อวิชา

1

 

2

3

4


 2. กรอกภารกิจหรือหน้าที่ โดยเรียงตามลำดับความสำคัญตามที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว
               3. ทำการพิจารณาว่า ภารกิจใดควรจะใช้หัวข้อวิชาใดในการฝึกอบรม โดยมีหลักการปลีกย่อย คือ
                   1) หัวข้อวิชาเดียวอาจจะใช้สำหรับหลาย ๆ ภารกิจได้
                   2) ภายในภารกิจเดียว อาจจะต้องใช้หัวข้อวิชาหลายวิชาก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจซึ่งมีความสำคัญสูง
                   3) การกำหนดชื่อของหัวข้อวิชา ควรจะมีลักษณะกะทัดรัด ชัดเจน และสามารถสะท้อนให้เห็นภาพ ของงาน ที่จะต้อง ทำการฝึกอบรม
การกำหนดหมวดวิชา
                   ถ้าหากหลักสูตรฝึกอบรมที่กำหนดขึ้น ประกอบด้วยหัวข้อวิชาจำนวนมาก ควรนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของ ความคล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธี คือ
                   ก. จัดหมวดหมู่ตามลักษณะคล้ายคลึงกันของเนื้อหาวิชา เช่น วิชาต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นการปูพื้นฐาน อาจรวบรวม อยู่ในหมวดเดียวกัน เรียกว่า หมวดพื้นฐาน หรือหัวข้อวิชาเกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ การบริหารความขัดแย้งฯลฯ อาจรวมเรียกว่าหมวดมนุษย์พฤติกรรม เป็นต้น
                   ข. จัดหมวดหมู่ตามลักษณะของเทคนิควิธีการฝึกอบรม หรือลักษณะของการอบรมของวิทยากร เช่น หัวข้อวิชาที่เป็น การบรรยายอยู่ในห้องประชุม อาจรวมเรียกว่าเป็นหมวดทฤษฎี หรือภาคทฤษฎี และหัวข้อวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ อาจรวมเรียกว่า หมวดปฏิบัติการ หรือภาคปฏิบัติการก็ได้ (หรืออาจแบ่งภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติการ ออกเป็นหมวดต่าง ๆ ตามลักษณะของเนื้อหาวิชาอีกก็ได้)


อัพเดทล่าสุด