การกำหนดแนวทาง การฝึกอบรม - ความหมาย และ ประโยชน์
ขั้นที่ 7 : การกำหนดแนวอบรม
ความหมายของแนวการอบรม
แนวการอบรม หมายถึง สิ่งที่ระบุว่า ภายในหัวข้อวิชานั้นประกอบด้วย เนื้อหาอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎี แนวคิด หลักการ หรือแนวปฏิบัติใดก็ตาม ที่จะทำให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ หรือความสามารถตรงตามวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
ประโยชน์ของแนวการอบรม
1. ช่วยให้วิทยากรทราบว่า โดยหลักการแล้วตนจะต้องเตรียมตัวถ่ายทอดเนื้อหาอบรมอะไรบ้างให้แก่ผู้เข้าอบรม
2. แนวการอบรม มีประโยชน์ที่สำคัญที่สุด คือ ช่วยป้องกันมิให้วิทยากรแต่ละคนทำการบรรยาย หรืออภิปรายในเนื้อหาวิชา ที่ไม่ซ้ำซ้อน เพราะถึงแม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชาแล้วก็ตาม แต่บางหัวข้อวิชาอาจมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน จนวิทยากรอาจพูด รายละเอียดซ้ำซ้อนกันได้ เช่น หัวข้อหลักมนุษยสัมพันธ์กับ หัวข้อการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา วิทยากรทั้งสองหัวข้ออาจพูด ถึงทฤษฎี ความต้องการของบุคคลเหมือนกันก็ได้
ขั้นตอนในการจัดทำแนวการอบรม
ในการกำหนดแนวการอบรม เราควรดำเนินการขั้นตอนดังนี้
1) พิจารณาภารกิจหน้าที่ซึ่งเป็นความจำเป็นในการฝึกอบรม
2) พิจารณาระดับความสำคัญ
3) พิจารณาชื่อของหัวข้อวิชา
4) พิจารณาวัตถุประสงค์ของหัวข้อวิชา
5) กำหนดแนวการอบรม
อย่างไรก็ตาม การระบุเนื้อหาของหัวข้อวิชาจะเป็นเรื่องยาก หากเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรม ไม่มีความรู้ข้อง กับหัวข้อ วิชานั้นมาก่อน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้จัดทำหลักสูตรต้องขอคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ที่จะกำหนด ในหลักสูตร รวมทั้งอาจต้องศึกษาค้นคว้าจากตำราทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง หรือเอกสารประกอบการอบรมในหัวข้อวิชาต่าง ๆ แต่การค้นคว้าจากเอกสารประกอบการอบรม อาจจำเป็นต้องตระหนักอยู่เสมอด้วยว่า อาจเป็นเอกสารที่ได้รับการเขียนหรือรวบรวม เพื่อวัตถุประสงค์โดยเฉพาะของแต่ละครั้ง และตามสภาพความจำเป็นในการฝึกอบรม ที่อาจจะแตกต่างจา กครั้งที่เจ้าหน้าที่ กำลังพัฒนาหลักสูตรอยู่