การประมาณค่าใช้จ่าย โครงการฝึกอบรม


1,336 ผู้ชม


การประมาณค่าใช้จ่าย โครงการฝึกอบรม




(เนื้อหา ต่อจากตอนที่ 1)

1. กรณีการฝึกอบรมในสถานที่ทำงาน


   1.1 ค่าสมนาคุณวิทยากร

ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการ พ.ศ.2545 หลักเกณฑ์ในการเบิกจ่ายเงินค่าสมนาคุณวิทยากร ขึ้นอยู่กับลักษณะของการฝึกอบรม คือ

1. ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการบรรยาย ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรไม่เกิน 1 คน
               2. ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการอภิปรายเป็นคณะ หรือสัมมนา ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกิน 5 คน โดยรวมถึงผู้ดำเนินการอภิปรายหรือสัมมนาด้วย
               3. ชั่วโมงการฝึกอบรมที่มีลักษณะเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ แบ่งกลุ่มอภิปราย หรือแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ซึ่งได้ กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือโครงการแล้วและจำเป็นต้องมีวิทยากรประจำกลุ่ม ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน
               4. ชั่วโมงการฝึกอบรมใดมีวิทยากรเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นให้เฉลี่ยจ่ายค่าสมนาคุณภายใน จำนวนเงิน ที่จ่ายได้ ตามหลักเกณฑ์
               ทั้งนี้ การฝึกอบรม 1 ชั่วโมง ต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 50 นาที หากการฝึกอบรมมีเวลาไม่เต็มชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่า 25 นาที ให้เบิกจ่ายเงินค่าสมนาคุณได้กึ่งหนึ่ง
               ส่วนอัตราการจ่ายเงินค่าสมนาคุณวิทยากรนั้น ตามระเบียบฯ ดังกล่าวขึ้นอยู่กับ :
               ก. ระดับของการฝึกอบรม ซึ่งมี 3 ระดับ คือ
               - การฝึกอบรม ระดับต้น ซึ่งผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับ 1 - 2
               - การฝึกอบรม ระดับกลาง ซึ่งผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับ 3 - 8
               - การฝึกอบรม ระดับสูง ซึ่งผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไป
               ทั้งนี้ ในปัจจุบัน อัตราค่าสมนาคุณวิทยากร คือ 
               - ค่าสมนาคุณวิทยากรในการฝึกอบรมระดับต้นและระดับกลาง ไม่เกินชั่วโมงละ 600 บาท
               - ค่าสมนาคุณวิทยากรในการฝึกอบรมระดับสูง ไม่เกินชั่วโมงละ 800 บาท
               ข. สังกัดของวิทยากร ว่ามาจากภาคราชการ หรือมิใช่ภาคราชการ (วิทยากรภาคราชการ หมายถึง วิทยากรที่เป็นข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ) กล่าวคือ หากเป็นวิทยากรซึ่งมิได้มาจากภาคราชการ ให้จ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรเพิ่มได้อีกไม่เกินหนึ่งเท่า ของอัตราดังระบุในข้อ ก.
   1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
            อัตราค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในสถานที่ของทางราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ไม่เกิน มื้อละ(ครึ่งวัน) 25 บาท/คน หากต้องการเบิกจ่ายเฉพาะค่าเครื่องดื่มอย่างเดียว อัตราค่าเครื่องดื่มไม่เกิน มื้อละ 10 บาท/คน
   1.3 ค่าอาหารกลางวัน
            อัตราค่าอาหารกลางวันโดยตรงนั้นไม่มีปรากฏในระเบียบกระทรวงการคลัง หากมีการกำหนดค่าอาหารในกรณีจัด ไม่ครบทุกมื้อ (ใน 1 วัน) และจัดฝึกอบรมในสถานที่ของทางราชการ ระเบียบฯได้กำหนดอัตราค่าอาหารในการฝึกอบรม ไว้ดังนี้
            - การฝึกอบรม ระดับต้น ไม่เกิน 200 บาท/วัน/คน
            - การฝึกอบรม ระดับกลาง ไม่เกิน 300 บาท/วัน/คน
            - การฝึกอบรม ระดับสูง ไม่เกิน 400 บาท/วัน/คน
            ในกรณีของ มธ. หากห้องประชุมที่ใช้เป็นสถานที่จัดฝึกอบรมไม่สะดวกที่จะจัดเลี้ยงอาหารกลางวัน แต่ผู้จัดการ ฝึกอบรม ประสงค์จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าอบรม เพื่อประหยัดเวลา หรือในกรณีที่ต้องการประหยัดงบประมาณ อาจใช้อาหารกล่องแทนก็ได้ 
   1.4 ค่าใช้จ่ายในการใช้และการตกแต่งสถานที่ฝึกอบรม
            ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการใช้และตกแต่งสถานที่ฝึกอบรมได้เท่าที่จ่ายจริง ค่าใช้จ่าย ในรายการนี้ ได้แก่ ค่าแจกันดอกไม้ ค่าจัดทำป้ายชื่อโครงการฝึกอบรม เป็นต้น
   1.5 ค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม
            สำหรับการฝึกอบรมที่เน้นพิธีการ ก็อาจตั้งขอค่าใช้จ่ายในพิธีเปิด-ปิดการฝึกอบรม ซึ่งระเบียบกระทรวงการคลังฯ ได้กำหนด ไว้ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินราคามาตรฐานที่กระทรวงการคลังกำหนด(ถ้ามี) ซึ่งแต่เดิมได้เคยมีอัตรากำหนดไว้พอสรุปได้ ดังนี้
            - การฝึกอบรมที่มีระยะเวลาฝึกอบรมไม่เกิน 2 วัน ให้เบิกจ่ายสำหรับพิธีเปิดและพิธีปิดการฝึกอบรม ในวงเงิน 400 บาท
            - การฝึกอบรมที่มีระยะเวลาฝึกอบรมเกินกว่า 2 วันขึ้นไป ให้เบิกจ่ายสำหรับพิธี เปิดและพิธีปิด ได้ครั้งละ 400 บาท
   1.6 ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์
            โดยปกติแล้วค่าวัสดุต่าง ๆ ในการจัดทำเอกสารประกอบการอบรม ตลอดจน ค่าเครื่องเขียนและอุปกรณ์ต่าง ๆ จะเป็นค่าใช้จ่าย แอบแฝงที่รวมอยู่ในค่าใช้จ่าย และค่าวัสดุของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดโครงการฝึกอบรม ดังนั้น หากจะมีการขอเบิกจ่าย ค่าวัสดุในโครงการฝึกอบรมอีก มักจะเป็นค่าวัสดุซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการ จัดโครงการฝึกอบรม ดังกล่าวเป็นการเฉพาะเท่านั้น
            ค่าใช้จ่ายรายการนี้ โดยทั่วไปแล้ว สามารถเบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังได้เท่าที่จ่ายจริง แต่อาจมีบางรายการ ที่มีราคามาตรฐานที่กระทรวงการคลังกำหนด ก็จะเบิกจ่ายได้เท่ากับราคามาตรฐานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การจัดทำเอกสารประกอบ การอบรม ในปัจจุบันอาจจะมีวิธีผลิตเอกสารได้หลายวิธี เช่น การถ่ายเอกสาร การผลิตสำเนาด้วยเครื่องถ่ายสำเนาแบบดิจิตอล (Copy
Printer) ซึ่งสามารถผลิตสำเนาเอกสารได้อย่างมีคุณภาพและราคาประหยัดกว่าเดิม ผู้รับผิดชอบโครงการอาจ ประมาณการ ค่าใช้จ่ายเป็นรายการ ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม หรือ ค่าผลิตเอกสารด้วยเครื่องถ่ายสำเนาแบบดิจิตอลโดยตรง ตามจำนวน ที่คาดว่าจะจ่ายจริงก็ได้
   1.7 ค่าพาหนะรับจ้างสำหรับวิทยากรภายนอก
            ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ การจัดรถรับ-ส่งวิทยากรภายนอก (ทั้งภาคราชการ และภาคเอกชน) อาจทำได้โดยต้องรับส่ง จากสำนักงานของวิทยากรดังกล่าว ไป-กลับยังหน่วยงานผู้จัดการฝึกอบรม (ไม่ใช่จากที่พักอาศัย) โดยเบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ เท่าที่จ่ายจริง หากใช้รถราชการ แต่ในทางปฏิบัติบางกรณีอาจไม่สะดวก จำเป็นต้องขอให้วิทยากรใช้บริการพาหนะรับจ้าง (รถแท็กซี่) ในการเดินทาง โดยผู้จัดดำเนินการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ กรณีเบิกจ่ายค่าพาหนะรับจ้างนี้ ต้องประมาณการเป็น รายการค่าพาหนะ รับจ้างไว้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อจ่ายเงินค่าพาหนะรับจ้างให้วิทยากร ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายตามระยะทาง จากสำนักงาน ของวิทยากร มายัง มธ. ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรม โดยคำนึงถึงสภาพการจราจรโดยปกติของเส้นทางดังกล่าวด้วย หากการจราจรติดขัด เป็นประจำ อาจต้องประมาณการเพิ่มด้วย (รายการนี้จะไม่สามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดินได้) 
   1.8 ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการจัดฝึกอบรม
            เป็นรายการค่าใช้จ่ายที่ขอตั้งงบประมาณสำรองไว้ เผื่อจะมีรายการค่าใช้จ่ายจำเป็นที่ไม่ได้คาดหมายไว้เกิดขึ้น จะสามารถ มีวงเงิน สำหรับใช้จ่ายได้
 
2. กรณีการฝึกอบรมนอกสถานที่ทำงาน (ต่างจังหวัด) รวมทั้งกรณีการจัดไปดูงานนอกสถานที่ 


               เนื่องจากระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการได้กำหนดอนุญาตเอาไว้ว่า การพิจารณา หาสถานที่เพื่อจัดฝึกอบรมให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ ดังนั้น ในการจัดฝึกอบรม บางโครงการ ซึ่งหวังจะได้รับประโยชน์จากข้อดีของการจัดฝึกอบรมนอกสถานที่ทำงาน ซึ่งได้แก่ 1) การดึงดูดผู้เข้าร่วมโครงการ ให้สนใจมาเข้าร่วม มากขึ้น เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนสถานที่ 2) ตัดขาดผู้เข้าร่วมโครงการจากการรบกวนของงานประจำ 3) ส่งเสริมให้สามารถดำเนิน กิจกรรม ระหว่างการฝึกอบรมได้สะดวกขึ้น เช่น การสัมมนากลุ่ม การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่างๆ และกิจกรรมนอก ห้องประชุม เช่น กิจกรรม Walk Rally 4) เป็นการสร้างบรรยากาศในการฝึกอบรม และ 5) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่าง ผู้เข้าร่วมโครงการได้มากขึ้น
               ในกรณีนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากกรณีจัดฝึกอบรมในสถานที่ทำงานอีกหลายด้าน จำเป็นที่ผู้จัดโครงการฝึกอบรม ต้อง วางแผน และเตรียมการอย่างรอบคอบ รายการค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
   2.1 ค่าที่พัก
               ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2541 กำหนดให้ใช้อัตรา ค่าเช่าที่พักในการฝึกอบรมในประเทศ (ทั้งในกรณีเช่าที่พักของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน) ตามบัญชีหมายเลข 4 ดังนี้ 
 

ระดับการฝึกอบรม

อัตราค่าเช่าที่พักคนเดียว

อัตราค่าเช่าที่พัก 2 คน

  1. การฝึกอบรมระดับต้น

ไม่เกิน 600 บาท

ไม่เกิน 450 บาท

  2. การฝึกอบรมระดับกลาง

ไม่เกิน 800 บาท

ไม่เกิน 550 บาท

  3. การฝึกอบรมระดับสูง

ไม่เกิน 1,600 บาท

ไม่เกิน 1,100 บาท

2.2 ค่าอาหาร
               โดยปกติแล้ว ผู้จัดโครงการฝึกอบรมจะต้องจัดเตรียมอาหารให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด โดยประมาณการค่าอาหาร ตามข้อมูลที่ได้สอบถามจากสถานที่ซึ่งจะไปจัดการฝึกอบรม ว่าอาหารมื้อใด ราคาเท่าใดบ้าง และจะต้องกำหนดราคาค่าอาหารต่อวัน รวมแล้วไม่เกินอัตราค่าอาหารในการฝึกอบรมตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ดังนี้

อัตราค่าอาหารในการฝึกอบรม

(บาท : คน วัน)

ระดับการฝึกอบรม

การฝึกอบรมในสถานที่ของ
ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

การฝึกอบรมในสถานที่ของเอกชน

      จัดครบทุกมื้อ      

จัดไม่ครบทุกมื้อ  

   จัดครบทุกมื้อ 

จัดไม่ครบทุกมื้อ 

   1. การฝึกอบรม
ระดับต้น

ไม่เกิน 300

ไม่เกิน 200

ไม่เกิน500

ไม่เกิน 250

   2. การฝึกอบรม
ระดับกลาง

ไม่เกิน 500

ไม่เกิน 300

ไม่เกิน 800

ไม่เกิน 400

   3. การฝึกอบรม
ระดับสูง

ไม่เกิน 700

ไม่เกิน 400

ไม่เกิน 1,000

ไม่เกิน 500

จากอัตราดังกล่าวข้างต้น ผู้ประมาณการค่าอาหารจะต้องคำนึงไว้ว่า ไม่ว่าจะต้องเบิกจ่ายค่าอาหาร 1 มื้อ หรือ 2 มื้อ ภายในวันเดียวกัน จะต้องเบิกค่าใช้จ่ายในอัตราไม่เกินวงเงินเท่ากัน เช่น เมื่อจัดฝึกอบรมระดับกลาง ในโรงแรมของเอกชน โดยจัดอาหารเย็น จำนวน 1 มื้อ ในวันแรกที่เข้าพัก จะขอตั้งงบประมาณเป็นเงินจำนวน 250 บาทต่อคน (ไม่เกินอัตรา 400 บาท/คน/วัน) ในวันดังกล่าว แต่หากจำเป็นต้องจัดทั้งอาหารกลางวัน และอาหารเย็นในวันดังกล่าว ก็จะสามารถตั้งงบประมาณ รวมกันทั้ง 2 มื้อได้ไม่เกิน 400 บาทต่อคน เช่นเดียวกัน


   2.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
               อัตราค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ขึ้นอยู่กับสถานที่จัดการฝึกอบรมว่าเป็น ของทางราชการ หรือเอกชน ดังตารางข้างล่างนี้ 

ระดับการฝึกอบรม

การฝึกอบรมในสถานที่ของ
ทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

การฝึกอบรมในสถานที่ของเอกชน

อาหารว่างและเครื่องดื่ม

เครื่องดื่ม

อาหารว่างและเครื่องดื่ม

เครื่องดื่ม

ทุกระดับ

ไม่เกิน 25 บาท

ไม่เกิน 10 บาท

ไม่เกิน 50 บาท

ไม่เกิน 20 บาท

 

  ดังนั้น ก่อนที่จะประมาณการค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการฝึกอบรมนอกสถานที่ ผู้ประมาณการจึงต้องทราบว่า จะใช้สถานที่ประเภทใดในการฝึกอบรม เพื่อจะได้ประมาณการตรงตามที่ผู้จัดเรียกเก็บและไม่เกินอัตราดังระบุข้างต้น
   2.4 ค่ายานพาหนะ
              โดยปกติผู้จัดการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดยานพาหนะสำหรับการเดินทางไปฝึกอบรมนอกสถานที่ การประมาณ การค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับประเภทของยานพาหนะที่จะใช้
              หากใช้รถของส่วนราชการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สามารถเบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้เท่าที่จ่ายจริง จึงควร ประมาณการค่าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคำนวณตามระยะทางไป-กลับ ประเภทของรถและราคาของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ เช่น ถ้าเป็นน้ำมัน เบนซินจะต้องประมาณการราคาสูงกว่าน้ำมันดีเซล รถบัสจะใช้น้ำมันสิ้นเปลืองกว่ารถยนต์ เป็นต้น
การประมาณค่าใช้จ่าย โครงการฝึกอบรม

สำหรับในกรณีที่ไม่สามารถใช้รถยนต์ของส่วนราชการได้ และผู้จัดโครงการพิจารณาเห็นว่าเป็นการเหมาะสม ที่จะใช้ รถยนต์เช่าเหมาทั้งคันนั้น เนื่องจากไม่มีระเบียบกระทรวงการคลังฯ กำหนดรายละเอียดการเบิกจ่ายเอาไว้ จำเป็นต้องขอเบิกจ่าย จาก งบประมาณของหน่วยงาน และหากประสงค์จ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน ก็จะต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นกรณี ๆ ไป
   2.5 ค่าเช่าหรือค่าใช้สถานที่ฝึกอบรม
              ค่าใช้จ่ายรายการนี้ หมายถึง ค่าใช้ห้องประชุม ค่าใช้ห้องประชุมสัมมนากลุ่มย่อย หรือสถานที่ในการจัด กิจกรรมต่าง ๆ ในการฝึกอบรม รวมทั้งกิจกรรมของผู้เข้าอบรม ซึ่งเจ้าของสถานที่พัก อาจเรียกเก็บแยกต่างหากจากค่าเช่าที่พักของผู้เข้าอบรม ค่าใช้จ่ายรายการนี้มักจะไม่ใคร่เกิดขึ้นในกรณีใช้สถานที่พักของเอกชน เนื่องจากได้มีการคิดค่าบริการ และค่าใช้สถานที่ ดังกล่าว รวมไว้กับค่าเช่าที่พักและอาหารอยู่แล้ว แต่ในกรณีค่าเช่าสถานที่พักของหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อาจมีการแยกคิดต่างหากได้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสามารถเบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดินได้ตามที่จ่ายจริง ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
   2.6 ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
              ค่าใช้จ่ายรายการนี้ ผู้ประมาณการอาจกำหนดประมาณการไว้เป็นเงินจำนวนเล็กน้อย เพื่อใช้เป็นค่าโทรศัพท์ และค่าส่งโทรสาร สำหรับในกรณีที่มีเหตุจำเป็นในการติดต่อประสานงานระหว่างการเดินทางไปฝึกอบรมนอกสถานที่ และสามารถเบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ 
   2.7 ค่าสมนาคุณพนักงานขับรถยนต์ และค่าสมนาคุณเจ้าหน้าที่ช่วยงาน
              โดยปกติผู้จัดโครงการฝึกอบรมควรจัดที่พักและอาหารให้แก่พนักงานขับรถยนต์และเจ้าหน้าที่ช่วยงาน ในการจัดฝึกอบรม นอกสถานที่เช่นเดียวกับวิทยากร และผู้เข้าอบรมอยู่แล้ว ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว จึงไม่สามารถ ขอเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงหรือเงินอื่นใด ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งสองประเภทดังกล่าวได้อีก แต่ในกรณีของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งต้องการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พนักงานขับรถยนต์ จึงได้มีการกำหนดอัตราเงินค่าสมนาคุณพนักงานขับรถยนต์และเจ้าหน้าที่ในการฝึกอบรมในการจัดฝึกอบรมนอกสถานที่ ให้สามารถ เบิกจ่ายจากงบประมาณของหน่วยงานได้ คือ 

ตำแหน่ง

พนักงานขับรถยนต์

เจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรม

อัตรา

คนละ/วันละ 200 บาท

คนละ/วันละ 80 บาท

ทั้งนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ดังกล่าวปฏิบัติงานครบ 24 ชั่วโมงแล้ว มีระยะเวลาปฏิบัติงานต่อเนื่องอีกครบ 12 ชั่วโมง ให้นับเพิ่ม เป็นอีก 1 วัน 
 
   2.8 ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นในการฝึกอบรม 
              ในการเดินทางไปจัดการฝึกอบรมนอกสถานที่ อาจมีค่าใช้จ่ายจำเป็น ซึ่งไม่สามารถประมาณการได้ หรือไม่คาดคิดมาก่อน เกิดขึ้นได้ เช่น ค่าผ่านทางด่วน หรือทางพิเศษต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องขอประมาณการค่าใช้จ่ายจำเป็นสำรองไว้จำนวนหนึ่งด้วย
 
              นอกจากนั้น ในการประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะต้องระบุด้วยว่าจะขอเบิกจ่ายจากงบประมาณใดบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากแต่ละรายการขอเบิกจ่ายจากงบประมาณต่างกัน และต้องสรุปยอดรวมที่จะขอเบิกจ่ายจากงบประมาณแต่ละประเภทไว้ด้วย ดังตัวอย่างการประมาณการค่าใช้จ่ายข้างล่างนี้ 
 
การประมาณค่าใช้จ่าย โครงการฝึกอบรม

ที่มา : การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประมวลวิชา ตามโครงการฝึกอบรมการพัฒนาเจ้าหน้าที่ระดับ
                       ปฏิบัติการยุคใหม่ รุ่นที่ 3 จัดโดย งานฝึกอบรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14. ที่ปรึกษาโครงการฝึกอบรม
              สำหรับบางหน่วยงาน เช่น โครงการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. จะต้องมีหัวข้อ "ที่ปรึกษาโครงการฝึกอบรม" ไว้เพื่อเป็นการสร้างศรัทธาและความเชื่อถือให้กับผู้ที่สนใจจะมาเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนั้น ๆ ทั้งนี้ เพราะผู้ซึ่งมีชื่อเป็นที่ปรึกษาของโครงการมักจะเป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูงของหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดโครงการฝึกอบรม หรือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และยอมรับในด้านความรู้ความสามารถและประสบการณ์ อาจช่วยทำให้โครงการ ฝึกอบรมซึ่งมีท่านเหล่านั้นเป็นที่ปรึกษา ดูมีคุณค่าขึ้น
              ดังนั้น หากโครงการฝึกอบรมใดมีผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารระดับสูง ตลอดจน ผู้ทรงคุณวุฒิช่วยให้คำแนะนำปรึกษาอยู่จริง ก็น่าจะมีหัวข้อนี้เพื่อใส่รายชื่อของท่านที่ได้ช่วยให้การปรึกษาแนะนำไว้ด้วย ทั้งนี้ ในความคิดเห็นของผู้เขียน มิใช่เพื่อเป็นการสร้าง ความศรัทธาเชื่อถือที่ผู้เข้าอบรมจะมีต่อโครงการฝึกอบรมเป็นประการสำคัญ หากเพื่อเป็นการให้เกียรติ และแสดงถึงการตระหนัก ในคุณค่าของการให้คำแนะนำปรึกษาของท่านเหล่านั้นเสียมากกว่า
              การใส่รายชื่อของที่ปรึกษา ควรระบุชื่อ - สกุล ตำแหน่งหน้าที่เฉพาะที่สำคัญและหน่วยงานที่สังกัดไว้ด้วย
15. ผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม
              ในกรณีที่โครงการฝึกอบรมมีเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบจัดและดำเนินโครงการเป็นการเฉพาะ ย่อมจำเป็นที่จะต้องระบุ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง หน่วยงานที่สังกัด หมายเลขโทรศัพท์ โทร-สาร ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจนในรายละเอียดของโครงการ แต่ในบางกรณีที่โครงการฝึกอบรมใหญ่มาก มีระยะฝึกอบรมยาวนาน เจ้าหน้าที่หลายคนต้องร่วมรับผิดชอบดำเนินงานแต่ละด้าน หรือมีหลายหน่วยงานร่วมกันรับผิดชอบดำเนินงานในด้านต่าง ๆ อาจระบุเฉพาะชื่อหน่วยงาน งานด้านที่รับผิดชอบดำเนินการ และหมายเลขโทรศัพท์ โทรสารก็ได้ ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

 หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ

                งานฝึกอบรม กองการเจ้าหน้าที่ - เจ้าของโครงการ
                    โทร 6235080, 6132060-1
                    โทรสาร 2233754
                 สถาบันภาษา - ดำเนินงานด้านวิชาการของโครงการ
                    โทร 6133101-2
                งานการเจ้าหน้าที่ กองงานศูนย์รังสิต - ร่วมประสานงานโครงการ ณ    มธ.ศูนย์รังสิต          
                     โทร 5644440 ต่อ 1107, 1108
 

ที่มา : โครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำภาค 2/2542

15. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
              เป็นการระบุถึงประโยชน์หรือผลที่คาดว่าจะได้รับจากความสำเร็จของการจัดโครงการฝึกอบรม ทั้งผลทางตรง และผลทางอ้อมที่ดีต่าง ๆ และมีใครบ้าง (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เข้าอบรม) จะได้รับประโยชน์อะไรทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ นั่นคือ จะต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมที่ได้กำหนดไว้นั่นเอง[22]
             วิธีการเขียน มักใช้การเขียนแบบบรรยายความ แต่เขียนเพียงย่อหน้าสั้น ๆ เนื้อหากระชับได้ใจความเท่านั้น หรืออาจเขียนเป็น
ข้อ ๆ ก็ได้
             อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผู้เขียนสังเกตจากการเขียน "ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ" ในโครงการต่าง ๆ แล้วเชื่อว่า เป็นการเขียน ถึง "วัตถุประสงค์สูงสุด" หรือ "วัตถุประสงค์ในอุดมคติ" ดังที่ อาจารย์กริช อัมโภชน์ ได้อธิบายเอาไว้ (อธิบายไว้ในบทที่ 4: การสร้าง หลักสูตรฝึกอบรม)นั่นเอง


 

ตัวอย่าง : โครงการฝึกอบรมการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชา

      ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

             คาดว่า จะทำให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชา สามารถนำความรู้ด้าน การบริหารงาน บริหารคน และบริหารตนเองไปใช้ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งนำไปปรับใช้ ในการ ปกครองบังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วย  กุศโลบายอย่างมีประสิทธิภาพ


โดยสรุปแล้ว โครงสร้างหรือรูปแบบของโครงการฝึกอบรม ควรจะเป็นดังนี้ :

[22] หมายเหตุ เท่าที่ผู้เขียนสังเกตจากการเขียน "ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ" ในโครงการต่าง ๆ แล้ว เชื่อว่า เป็นการเขียนถึง "วัตถุประสงค์สูงสุด" หรือ "วัตถุประสงค์ในอุดมคติ" ดังที่อาจารย์กริช อัมโภชน์ ได้อธิบายเอาไว้ (ในบทที่ 4 : การสร้าง หลักสูตร ฝึกอบรม) นั่นเอง
 
[1] สายสอางค์ แกล้วเกษตรกรณ์ , อ้างแล้ว , หน้า 3.
[2] โปรดดูรายละเอียดเรื่อง การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม ในบทที่ 4 หน้า36-38
[3] วรภา ชัยเลิศวนิชกุล, การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ, ชุดฝึกอบรมเรื่องการบริหารสำหรับผู้บังคับบัญชา, สถาบันพัฒนาข้าราชการ
พลเรือน, สำนักงาน ก.พ. หน้า 103 

ที่มา : https://www.tu.ac.th


อัพเดทล่าสุด