ตัววัด (ผลการปฏิบัติงาน) อันตราย!!


667 ผู้ชม


ตัววัด (ผลการปฏิบัติงาน) อันตราย!!




“Measure what is measurable, and make measurable what is not so.”
Galileo Galilei
การเลือกใช้ตัววัดที่จะทำให้บริษัท พนักงานและตัวผู้จัดการเองดูดี เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้ทั่วไปในแทบทุกองค์กร เพราะ “ไม่มีใครอยากใช้ ตัววัดที่จะทำให้พวกเขามีคะแนนผลการปฏิบัติงานแย่ๆ” โดยเฉพาะในกรณีที่มีการพิจารณาโบนัสและรางวัลอื่นๆ โดยดูจากคะแนนผลการปฏิบัติงาน
ซึ่งการกำหนดตัววัดที่นอกจากจะไม่ส่งผลต่อการปรับปรุงการ ปฏิบัติงานของพนักงานแล้วยังอาจเป็นอันตรายต่อผลการดำเนินงานของ องค์กรในระยะยาวนี้ก็ได้แก่
- กำหนดตัววัดจากมุมมองของตนเอง (หรือของบริษัท) แทนที่จะวัดจากมุมมองของลูกค้า (ทั้งภายในและภายนอก) ตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ให้บริการระบบไอทีแห่งหนึ่งที่วัดผลการทำ งานในด้านความตรงเวลาในการส่งมอบงาน โดยดูว่าทำงานให้ลูกค้าได้กี่เปอร์เซ็นต์แล้ว เช่น ถ้าส่งมอบงานได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของทั้งระบบ พนักงานก็จะได้คะแนนผลการ ปฏิบัติงาน 9 จากคะแนนเต็ม 10 แต่ว่าในแง่ของลูกค้าแล้ว บริษัทไอทีแห่งนี้จะได้ 0 คะแนน เนื่องจากถ้าระบบนั้นไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ลูกค้าก็จะไม่สามารถใช้งานมัน ได้อย่างเต็มที่
- การด่วนสรุป (โดยไม่พยายามคิดว่าอะไรมีความสำคัญต่อ ลูกค้าที่เราควรจะวัด) กำหนดตัววัดสิ่งที่ง่ายต่อการวัด หรือวัดสิ่งที่ตนเองเคยวัดมาตลอด แทนที่จะพยายามค้นหาให้แน่ ชัดว่าอะไรที่ควรค่าแก่การวัด
- การเอาตัววัดต่างๆ มาใช้ โดยไม่พิจารณาถึงผลที่จะเกิดกับพฤติกรรมของพนักงานและกับผลการปฏิบัติงานของบริษัทให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้คนในองค์กรมักพยายามปรับปรุงสิ่งต่างๆ ที่บริษัทบอกว่ามีความสำคัญและเชื่อมโยงกับรางวัล / ค่าจ้างของพวกเขา แม้ว่าการทำอย่างนั้นจะก่อให้ เกิดผลเสียมากกว่าผลดีก็ตาม
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทฟาสต์ฟูดแห่งหนึ่ง ที่เน้นอาหารประเภทเนื้อไก่ที่เกิดต้องการจะปรับปรุงผลการปฏิบัติงานด้านการเงินของบริษัท (บริษัทแห่งนี้เพิ่งนำเอา Balanced ScoreCard มาใช้) โดยการลดของเสียซึ่งพวกเขาระบุว่าเป็นไก่ปรุงสุกที่เหลือตกค้างภายในร้านในแต่ละวันและก็ต้องทิ้งไป บรรดาผู้จัดการร้านทั้งหลายจึงตอบสนองความคิดดังกล่าวและพากันพยายามลดของเสียที่ว่า (พวกเขาเห็นว่ามันเป็นตัววัดผลการปฏิบัติงานตัวหนึ่ง) ด้วย การบอกให้พนักงานอย่าปรุงอาหาร (ไก่) จนกว่าจะมีลูกค้ามาสั่งซื้อ
ซึ่งผลที่ตามมาคือมันทำให้ร้านอาหารฟาสต์ฟูดกลายเป็นร้านอาหารสโลวฟูดไป ของเสียลดลงก็จริง แต่ยอดขายก็ลดฮวบลงเหมือนกัน!
- ใช้ตัววัดที่ไม่ก่อให้เกิดการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน ใช้ตัววัดที่จะไม่ทำให้คนอื่นเห็นจุดอ่อน / จุดบกพร่อง ในการทำงานของตน เพราะคนในองค์กรไม่จริงจังกับการวัดผลการปฏิบัติงาน และพยายามหาข้อแก้ตัวในเรื่องผล การปฏิบัติงานที่ไม่ดี แทนที่จะหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วแก้ไข หาวิธีปัดความผิด / คำตำหนิให้พ้นตัว (เป็นเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรล้วนๆ) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่บริษัทที่ใช้ ตัววัดที่ไม่เหมาะสม จะปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของพนักงานและของบริษัทได้ยากมาก
จากหนังสือ "กะเทาะระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน"

โดย bloggang.com


อัพเดทล่าสุด