เทคนิคการนำกิจกรรม


632 ผู้ชม


เทคนิคการนำกิจกรรม




เทคนิคการเข้าหา
    1. ยิ้มไว้ก่อน  
    2. แนะนำตัวเองให้ถูกต้อง  ตามสถานการณ์ , กาละเทศะ   (ดูสนิทสนม)  
    3. วางตัวให้เหมาะสม  อย่าใกล้ชิดกับคนใดคนหนึ่งมากจนเกินไป  
    4. ให้ความเป็นกันเองกับทุกคน

ทักษะการนำเกมส์ & เพลง

  1. เตรียมการล่วงหน้า  โดยจัดลำดับให้ดี  คือ  ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนนำเกมส์ & เพลง  เช่น อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 
  2. ต้องซ้อมแล้วซ้อมอีก  เพื่อเพิ่มทักษะการนำเกมส์  และเพื่อศึกษาถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น  เช่น  อธิบายไม่เข้าใจ 
  3. ทำงานเป็นทีม   เป็นวิธีที่ดีที่สุด  โดยแบ่งงานกันรับผิดชอบ  อาจแบ่งได้ดังนี้ 
                   - ผู้นำเกมส์   เป็นผู้อธิบาย  ควบคุมการดำเนินเกมส์ 
                   - Cheer  Up   (ผู้ช่วย)  
                   - ช่วยสาธิตเกมส์  
                   - เข้าร่วมกันผู้เล่น  
                   - สร้างบรรยากาศให้สนุกสนาม  และตอบสนองผู้นำเกมส์   เช่น  ปรบมือ , แซวผู้อื่น  เป็นต้น  
        หน้าที่ของ  Cheer Up 
                   - ดึงอารมณ์ของผู้เล่น  ให้มีความสนุกสนาน  มีส่วนร่วมในเกมส์ให้มากที่สุด  
                   - ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้นำเกมส์เด่นขึ้นมาคนเดียว  (ไม่ให้เกิดความสับสน)  
                   - ช่วยเหลือผู้นำเกมส์  หากเกิดปัญหาขึ้น

เทคนิคการนำเกมส์

เทคนิคการนำเพลง

แบ่งผู้เล่นออกเป็นกลุ่มๆ  หรือนั่งเป็นวง  ตามลักษณะของเกมส์
บอกชื่อเกมส์
อธิบายวิธีการเล่น
อธิบายกติกาการเล่น
ทดลองเล่น  (หนูทดลอง)
เล่นจริง 
จับคนผิดมาลงโทษ   (ไม่ควรรุนแรงมานัก เพราะอาจเกิดความอับอาย จนต่อต้านกิจกรรมอื่นๆ)

บอกชื่อเพลง
ให้พูดตามทีละประโยค  (ประมาณ 2 รอบ หรือมากกว่า)
คนนำ  ร้องเพลงให้ฟังก่อน (ไม่มีดนตรี)
ร้องคลอไปพร้อมกัน
ร้องพร้อมดนตรี  (หากมีท่าประกอบ  ต้องให้ทุกคนร้องได้ก่อน  จึงสอนท่าประกอบ)
สอนท่าทีละประโยค
ให้ร้อง พร้อมแสดงท่าประกอบให้ดูทั้งเพลง

การเลือกเกมส์ - เพลง

 1. สังเกตพฤติกรรมของผู้เล่น  ว่ามีความสัมพันธ์ระดับใด  และพฤติกรรมแบบใดที่เราต้องการให้เกิดขึ้น 
       - ถ้าไม่รู้จักมาก่อน  ต้อง Ice-Braking เริ่มด้วย การแนะนำชื่อ  เพื่อสร้างความรู้จัก  เกมส์ไม่ควรมีท่าที่ Over มากนักและหลีกเลี่ยง 
         เกมส์ที่ต้องถูกเนื้อต้องตัวกัน 
       - เมื่อเริ่มคุ้นเคย   สามารถใช้เกมส์ที่ต้องสัมผัสตัวกันได้   เช่น  ปูลงรู , ทาหน้าตา , งูกินหาง 
       - สร้าง  Human-Relation  โดยใช้เพลงที่สนุกสนาน และเล่นเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย 

 2. สนองตอบความสนใจ   ต้องประเมินอารมณ์ของผู้เล่น ว่าเป็นอย่างไร   โดยพยายามสร้างให้เกิดความสนุกสนานขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุด Climax แล้วจบเกมส์นั้น เพื่อให้เกิดความประทับใจเพราะหากเล่นต่อไป ความประทับใจ อาจลดลงเรื่อยๆ  ต้องตระหนักถึง  
      - อารมณ์ของผู้เล่น  
      - จุด  Climax ของเกมส์อยู่ที่ใด  
      - คำนึงถึงเพศ และวัย  
      - จัดเตรียม สถานที่ให้เหมาะสม  
      - ต้องปลอดภัย  
      - เป็นเกมส์ที่ทุกคนมีส่วนร่วม  
      - ให้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ 

อัพเดทล่าสุด