เกี่ยวกับศาล ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาล


838 ผู้ชม


เกี่ยวกับศาล
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาล

พฤหัสบดี ที่ 29 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2551
 

  

ศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มี 4 ประเภท คือ

 
 
  1. ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณา วินิจฉัย ชี้ขาดปัญหาที่ขัดแย้งต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ หรือปัญหาขัดแย้งในการใช้กฏหมาย
  2. ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญ หรือมีกฏหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
  3. ศาลปกครอง เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบางด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำ หรือละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายบัญญัติ
  4. ศาลทหาร เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร และคดีอื่นตามที่กฏหมายบัญญัติ
 
     
 
     ศาลยุติธรรม แบ่งชั้นของศาลออกเป็น 3 ชั้นคือ
 
 
  1. ศาลชั้นต้น
  2. ศาลอุทธรณ์
  3. ศาลฎีกา
 
     
 
        ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับพิจารณาคดีในเบื้องต้น ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีพิเศษอื่นๆ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
 
 
  1. ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 
- ศาลแพ่ง
- ศาลอาญา
- ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
- ศาลแพ่งธนบุรี
- ศาลอาญาธนบุรี
- ศาลแขวงที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
- ศาลจังหวัดมีนบุรี
- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
- ศาลภาษีอากรกลาง
- ศาลแรงงานกลาง
- ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
- ศาลล้มละลายกลาง
      2.    ศาลชั้นต้นในต่างจังหวัด ได้แก่
- ศาลจังหวัด
- ศาลแขวง
- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

 
 
    บุคลากรในศาลชั้นต้น หรือเรียกว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
 
 
  1. ข้าราชการตุลาการ ได้แก่ ผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ (สำหรับ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะมีดะโต๊ะยุติธรรม ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการที่มีหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีด้านกฏหมายอิสลาม)
  2. ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการและลูกจ้างในศาลที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานในทางธุรการของศาล 
 
 
    ผู้มีหน้าที่ในการปกครองดูแลศาล มีอยู่ 2 ระดับคือ
 
 
  1. ผู้มีหน้าที่ปกครองดูแลสูงสุดในศาล 
- ศาลชั้นต้นขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร คือ อธิบดีผู้พิพากษา
- ศาลชั้นต้นอื่นๆโดยทั่วไปกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด คือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 
  1. หัวหน้างานทางด้านธุรการในศาล
- จ่าศาล ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานทางธุรการ และปกครองดูแลข้าราชการธุรการในศาล

อัพเดทล่าสุด