มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมก้าวเป็น Ubiquitous Campus


757 ผู้ชม


มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมก้าวเป็น Ubiquitous Campus

พีซีแมกะซีนฉบับนี้ได้นำเสนอเรื่องราวของการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของทางมหาวิทยาลัยเชียใหม่เอง ที่กำลังมีแนวทางในเรื่องแบบเดียวกันก็คือ การทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็น Ubiquitous Campus (ยู-บิ-ควิ-ตัส แคมปัส) ครับ

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล่าให้ฟังว่า ณ ในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานด้านไอที เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Ubiquitous Campus ซึ่งโดยนิยามของคำว่า Ubiquitous Campus ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น หมายถึง การสร้างสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย เพื่อการดำเนินการต่างๆ ในชีวิตประจำวันของ นักศึกษา และ ชุมชมภายใน ให้เอื้อต่อการเข้าถึง สามารถใช้ประโยชน์จากไอที และการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการสร้างชีวิตไอที (CMU IT Life) ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของนักศึกษา อาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องมือการเข้าถึงในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่จำกัดเฉพาะคอมพิวเตอร์ (terminals) และการให้บริการต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากไอที โดยการออกแบบให้มีการบูรณาการและผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ

นับจากช่วงเวลานี้ไปอีก 4 ปี ข้างหน้า เชื่อว่านักศึกษาและชุมชนภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ จาก สารสนเทศได้อย่างครอบคลุม ทุกที่ ทุกเวลา และจากเครื่องมือที่หลากหลาย โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ (Emerging Technology) ที่เรียกว่า Ubiquitous Technology* รวมทั้งการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กัน เช่น การเพิ่มศักยภาพของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลัก การบริหารจัดการพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล การขยายความเร็ว ครอบคลุมการดูแลด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง การเพิ่มจุดของการให้บริการเครือข่ายแบบไร้สาย ซึ่ง ณ วันนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ได้ให้บริการเครือข่ายไร้สายในมหาวิทยาลัยกว่า 227 จุด ทำให้มีผู้ใช้เข้าพร้อมกันได้ถึง 2,000 ราย โดยนักศึกษาสามารถใช้บริการได้ในพื้นที่ที่มีสัญลักษณ์ Jumbo-Net Service Area เช่น สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุดกลาง ห้องสมุดคณะ และศูนย์ไอทีของทุกคณะ หอพักทั่วมหาวิทยาลัย และที่สำคัญที่สุดก็คือ การให้บริการการใช้ประโยชน์สารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เรียนรู้ และเพื่อ productivity ต่างๆ ของผู้เรียน ตัวอย่างเช่น การให้บริการ Digital Content ในลักษณะของสื่อใหม่ Game-Based Learning สตรีมมิ่งมีเดีย เป็นต้น ผ่านอุปกรณ์การเข้าถึงในรูปแบบต่างๆ โดยบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • www.chiangmai.ac.th เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของมหาวิทยาลัย ที่นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสารทางวิชาการ ความเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • https://itsc.cmu.ac.th เว็บไซต์สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร การให้บริการด้านไอที โดยเฉพาะการศึกษา พัฒนาทักษะด้านไอทีของนักศึกษา และจัดหลักสูตรด้านไอทีที่หลากหลายตามความต้องการ
  • https://mis.chiangmai.ac.th/cmumis/ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหารงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • https://itscgames.cm.edu เว็บไซต์ระบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์รูปแบบ Game-Based Learning
  • https://itsc.cmu.ac.th/cmunetwork.html โทรทัศน์ออนไลน์ CMU Network TV
  • https://dekmor.cmu.ac.th ชุมชนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • https://www.mcotcm.com/it_talk เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง อสมท FM 100.75 รายการคุยเฟื่องเรื่องไอที
  • https://www.fm100cmu.com/blog/itsccorner เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง เสียงสื่อสารมวลชน FM 100 รายการ ITSC Corner
  • https://www.lannacorner.net/weblanna สารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา รวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ร้านอาหารและแหล่งท่องเที่ยว

และถ้านักศึกษาไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง ทางมหาวิทยาลัยก็ได้มีการจัดบริการคอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตทั่วทุกคณะ จำนวน 1,000 เครื่อง ด้วยความเร็ว 400 Mbps สามารถ Log in โดยใช้ Username และ Password ของนักศึกษา เพื่อใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Jumbo – Net) และเรียกใช้งานจากที่พัก (Remote Access) โดยมีชั่วโมงการใช้งาน 60 ชั่วโมง/เดือน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง ITSC CORNER โดยให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 80 เครื่อง ในพื้นที่เดียวกันอย่างครบวงจร บริเวณหน้าสำนักหอสมุด ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาได้ใช้บริการเกี่ยวกับการสืบค้น ค้นคว้าสารสนเทศและสามารถใช้เป็นแหล่งนัดพบของนักศึกษา เพื่อทำกิจกรรมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้กันได้เป็นอย่างดี

Ubiquitous Technology

อุปกรณ์ช่วยดูแลระบบรักษาความปลอดภัยให้กับ

สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

*Ubiquitous Technology ครอบคลุม IPV6, Grid, Handheld PC, RFID, Educational Content Sharing Service, Multimedia Classroom Services Next-generation LCMS and Digital Content โดยมี สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็น หน่วยงานหลักในการดำเนินการ สำรวจ ติดตาม ค้นคว้า วิจัยหลัก เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้การลงทุน และใช้ประโยชน์ทางด้านไอทีให้มีความปลอดภัยสูง

อัพเดทล่าสุด