คมความคิด เกาะติดสถานการณ์
มุสลิมไทย
โพสต์
หน้าแรก
ข่าวเด่น
ข่าวโลกมุสลิม
ข่าวเจาะประเด็นโลก
ข่าวโลกอาหรับ
ข่าวกรรมการกลางฯ
ข่าวมุสลิมไทย
คอลัมนิสต์
ผู้หญิง
ปัตตานีดารุสลาม
ประเด็นร้อน
รูปภาพ
คลิป
เวลาละหมาด
คลังความรู้
อิสลามศึกษา
คลังความรู้
คลังสุขภาพ
ร้านอาหาร
แหล่งท่องเที่ยว
แฟชั่นมุสลิม
กูรูมุสลิมไทย
อัลกุรอาน
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อสำนักข่าว
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลัก
ข่าวที่น่าสนใจ
ข่าวกฎหมาย ศาลรธน.เอกฉันท์ 'สมัคร-ครม.'พ้นสภาพ
729
ผู้ชม
ข่าวกฎหมาย
ศาลรธน.เอกฉันท์ 'สมัคร-ครม.'พ้นสภาพ
อังคาร ที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ.2551
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เริ่มอ่านคำวินิจฉัยคดี ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของส.ว.และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ในฐานะผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กรณีดำเนินรายการ "ชิมไปบ่นไป" และ “ยกโขยงหกโมงเช้า” ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และมาตรา 267 ประกอบ 182 วรรคสาม และมาตรา 91
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ ว่า นายสมัครมีการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 คือเป็นลูกจ้างของบริษัท เฟซ มีเดีย และ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ที่ห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งใดๆในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันหรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด จึงวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ให้รัฐมนตรีทุกคนนั่งรักษาการ ตาม มาตรา 181
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำวินิจฉัยคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา ส.ว.สรรหาและคณะส.ว. รวม 29 คน ผู้ร้องที่ 1 รวมทั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ร้องที่ 2 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้อง เนื่องจากเป็นพิธีกรดำเนินรายการ "ชิมไปบ่นไป" และรายการ "ยกโขยง 6 โมงเช้า" ให้กับบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และมาตรา 267 ประกอบ 182 วรรคสาม และมาตรา 91
ภายหลังเมื่อวันที่ 8 ก.ย. นายสมัคร ผู้ถูกร้อง ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมง ในการไต่สวนพยานเพื่อชี้แจงต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานออกนั่งบัลลังก์ โดยคณะตุลาการ นัดรับฟังคำวินิจฉัยคดีนี้ในวันที่ 9 กันยายน
ศาลรัฐธรรมนูญคำวินิจฉัยว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอให้วินิจฉัยเรื่องนี้ โดยมีประเด็นต้องพิจารณาดังนี้ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องจะสิ้นสุดไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 1 (7 ) หรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยว่า เป็นลูกจ้างหรือไม่ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ที่ห้ามรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีเป็นลูกจ้างบริษัทที่แสวงหากำไร เพื่อให้ทำหน้าที่โดยชอบ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ และขาดจริยธรรมระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับสาธารณะ ดังนั้น กรณีจึงไม่ใช่การแปลคำว่าลูกจ้าง ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การปกครองประเทศ และพื้นฐานการดำเนินการชของรัฐ ดังนั้น คำว่าลูกจ้างตามความหมายของรัฐธรรมนูญ จึงมีความหมายกว้างกว่ากฎหมายอื่น นอกจากนี้ ตามพจนานุกรมได้ให้ความหมายคำว่า "ลูกจ้าง" ว่าหมายถึง ผู้รับจ้างทำการงาน ผู้ซึ่งนายจ้างตกลงให้ทำงาน โดยไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
ผู้ถูกร้องเป็นพิธีกรรายการ "ชิมไปบ่นไป" เมื่อวิเคราะห์กิจการงานหลายปี พบว่าบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด ประกอบกิจการเพื่อมุ่งหาทำไร และผู้ถูกร้องได้รับค่าตอบแทนอย่างสมฐานะและภารกิจ โดยเมื่อผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยังมีความสัมพันธ์อยู่ในขอบเขตของข้อห้ามตามมาตรา 267 ประกอบกับคำให้การของผู้ถูกร้อง ในหนังสือสกุลไทย ที่ระบุว่า การทำหน้าที่พิธีกรในรายการชิมไปบ่นไป ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผู้ถูกร้องได้รับเงินจากบริษัทดังกล่าวเดือนละ 80,000 บาท
ต่อมา ผู้ถูกร้องชี้แจงว่า ก่อนเดือนธันวาคม ปี 2550 ได้รับค่าตอบแทนเพียงค่านำมัน ซึ่งขัดแย้งกับคำให้การของพยานและหลักฐานการเสียภาษี ซึ่งถือเป็นข้อพิรุธว่า เป็นการทำหลักฐานย้อนหลังเพื่อปกปิดข้อเท็จจริง นอกจากนี้ ผู้ถูกร้องเคยอ้างว่า ไม่ได้รับค่านำมัน แต่คนขับรถอาจได้รับ ซึ่งขัดกับคำให้การของผู้ถูกร้องที่บอกว่า จะได้รับค่าน้ำมันเมื่อไปออกรายการเท่านั้น จึงรับฟังเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
ดังนั้น ถือว่าผู้ถูกร้องยังได้รับค่าตอบแทนในลักษณะทรัพย์สินจากบริษัท เฟช มีเดีย จำกัด จึงเข้าข่ายการเป็นลูกจ้างตามมาตรา 267 ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้าม ความเป็นรัฐมนตรีจึงสิ้นสุดลง
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่า ผู้ถูกร้องกระทำตามข้อต้องห้ามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ทำให้คุณสมบัติสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 1 (7 ) โดยเมื่อคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุด จึงเป็นเหตุให้รัฐมนตรีต้องพ้นคุณสมบัติตามไปด้วย ทำให้รัฐมนตรีที่เหลือยังอยู่ในตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีรัฐมนตจรีชุดใหม่มาทำงาน
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
10 อันดับ ค่าเทอมโรงเรียนนานาชาติ แพงที่สุดในประเทศไทย ปี 2024
โรงเรียนนานาชาติเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสากล โดยใช้หลักสูตรที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
พีระมิดเบ็นเบ็น พีระมิดหินดำ ที่ทำนักวิทย์งงงวยมานาน
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
เคล็ดลับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้น
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
7 วิธีดื่มน้ำช่วยให้ผอมได้จริง
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
เรื่องของแป้ง แป้งทำขนม แป้งทำอาหาร
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
10 ส่ิง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
วิธีเพิ่มเครื่องคิดเลขบน iPad แบบไม่ติดโฆษณา โหลดแล้วใช้ได้เลยฟรี!
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
พักโรงแรมไม่ควรมองข้าม “หลอนใต้เตียง” แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่ วิชาภาษาไทย
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวบรวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 สามารถดาวน์โหลดได้
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem)
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
อย่ากังวลไปเลย สำหรับคนที่ไม่มีคู่ เพราะคู่ของคุณ ก็ยังไม่มีใครเหมือนกัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์