ตัวอย่างคำฟ้องแพ่ง กรณีผิดสัญญากู้ยืมเงิน ค้ำประกัน
ข้อ ๑. เมื่อวันที่ ...........................จำเลย ที่ ๑ ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน .....................บาท (..........................บาทถ้วน) ไปจากโจทก์ โดยจำเลยที่ ๑ สัญญาว่าจะชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตรา...............บาทต่อเดือน หรือร้อยละ ........................บาท ต่อปี นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป และจะชำระต้นเงินคืนให้แก่โจทก์ภายในวันที่ .............................ในการทำสัญญากู้ยืมเงินนี้ จำเลยที่ ๑ ได้นำโฉนดที่ดินโฉนดที่ ............................... ตำบล.............. อำเภอ..................... จังหวัด.........................ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ ๑ มอบให้ไว้แก่โจทก์เพื่อยึดถือไว้เป็นประกัน โดยในวันทำสัญญาจำเลยที่ ๑ ได้รับเงินไปจากโจทก์เรียบร้อยแล้ว ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและโฉนดที่ดิน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑ และ ๒ ตามลำดับ
ในการทำสัญญากู้ยืมเงินและวางโฉนดที่ดินเป็นประกันดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ได้เชิด จำเลยที่ ๒ ออกแสดงให้โจทก์เห็นว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๑ ได้ยินยอมให้จำเลยที่ ๒ ลงนามในสัญญากู้ยืมเงินและส่งมอบโฉนดที่ดินแทนจำเลยที่ ๑ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๓
จำเลยที่ ๒ ได้เข้าผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ สัญญาว่าหากจำเลยที่ ๑ ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ย ตลอดจนบรรดาค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะผลแห่งการที่จำเลยที่ ๑ ผิดสัญญาให้แก่โจทก์ทั้งสิ้น ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาค้ำประกัน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๔
ข้อ ๒. นับแต่จำเลยที่ ๑ ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ดังกล่าวในข้อ ๑ ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ มิได้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาโจทก์จึงได้ติดต่อทวงถามให้จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่ โจทก์ แต่จำเลยทั้งสองก็เพิกเฉย ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือขอให้ชำระหนี้เงินกู้ สำเนาภาพถ่ายหนังสือขอให้ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญาค้ำประกัน และใบตอบรับ ของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๕, ๖, ๗ และ ๘ ตามลำดับ
การที่จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ ๑ มีหน้าที่ต้องชดใช้เงินกู้ยืมจำนวน .................... บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ......... ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ ๑ ผิดนัด คือตั้งแต่วันที่ .................................เป็นต้นมาจนถึงวันฟ้องคิดเป็นเงิน ....................... บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยที่ ๑ จะต้องชำระให้แก่โจทก์ เป็นเงินทั้งสิ้น .......................บาท (.............................บาทถ้วน)
จำเลยที่ ๒ ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยที่ ๑ ในการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินทั้งสิ้น ........................ บาท (............................บาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์ไม่มีทางใดที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้จึงจำต้องฟ้องขอให้ศาลบังคับ
คำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง
เพราะฉะนั้นขอศาลออกหมายเรียกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษา และบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้
๑. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน...................บาท(............................บาทถ้วน) ให้แก่โจทก์
๒. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ .............. ต่อปี ของต้นเงินจำนวน ....................... บาท (..................บาทถ้วน) นับจากวันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
๓.ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความแทนโจทก์ด้วย
ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย...........ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว
...............................โจทก์
คำฟ้องฉบับนี้ข้าพเจ้า...................ทนายความใบอนุญาตที่................อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ที่................ถนน.................ตำบล/ซอย...................ใกล้เคียง.............ตำบล/แขวง................อำเภอ/เขต.................จังหวัด.................โทรศัพท์......................พิมพ์
. ...............................โจทก์