คำฟ้องคดีอาญา (พ.ร.บ.เช็ค)
ข้อ ๑. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท มีกรรมการ ๔ คน และกรรมการ คดีนี้ คือ นาย................... เป็นกรรมการลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ กระทำการแทนบริษัทโจทก์รายละเอียดปรากฏตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๑
จำเลยที่ ๑ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร มีกรรมการ ๙ คน คดีนี้มีจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ ๑ สามารถกระทำการแทนจำเลยที่ ๑ และมีผลผูกพันบริษัทจำเลยที่ ๑ ได้ รายละเอียดปรากฏตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๒
ข้อ ๒. เมื่อวันที่ ................................................ เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามได้บังอาจกระทำผิดต่อกฎหมายอาญา โดยร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญา หลายบท หลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันออกเช็คธนาคาร................................ สาขา............................ เช็คเลขที่ ......................ลงวันที่ .............................. โดยมีจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ ลงชื่อสั่งจ่ายเงินจำนวน .............................. บาท (................................................) ประทับตราสำคัญจำเลยที่ ๑ จ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
และเมื่อวันที่ ................................................ เวลากลางวัน จำเลยทั้งสามยังได้ออกเช็ค....................................... สาขา.............................. เช็คเลขที่................... ลงวันที่ .............................. สั่งจ่ายเงินจำนวน ..................................บาท (......................................................) โดยจำเลยที่ ๒ และจำเลยที่ ๓ เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ ๑ มอบให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าสั่งซื้อสินค้า ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
ซึ่งหนี้ตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น เป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย รายละเอียดปรากฏตามใบสั่งซื้อสินค้าและใบเสร็จรับเงิน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๓ และ ๔ ตามลำดับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คทั้งสองฉบับโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข้อ ๓. ครั้นเมื่อเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวถึงกำหนดวันที่ลงในเช็ค โจทก์ได้นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ที่............................................... สาขา............................ เพื่อเรียกเก็บเงินตามระเบียบและวิธีการของธนาคาร ปรากฏว่าเช็คของธนาคาร................................................ สาขา................................. เช็คเลขที่ .......................... ธนาคารเจ้าของเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า “ติดต่อผู้สั่งจ่าย”...................................... พร้อมทั้งคืนเช็คและใบคืนเช็คมาให้โจทก์ รายละเอียดปรากฏตามเช็คและใบคืนเช็คเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๕ และ ๖ ตามลำดับ
ส่วนเช็คธนาคาร................................. สาขา................................เช็คเลขที่ ....................... ธนาคารเจ้าของเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยให้เหตุผลว่า “เงินในบัญชีไม่พอจ่าย) เมื่อวันที่ ........................................ พร้อมทั้งคืนเช็คและใบคืนเช็คมาให้โจทก์ รายละเอียดปรากฏตามเช็คและใบคืนเช็คเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข ๗ และ ๘ ตามลำดับ
ข้อ ๔. ภายหลังจากที่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแล้ว โจทก์ได้พยายามติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าวหลายครั้งหลายหน แต่จำเลยทั้งสามทราบแล้วผัดผ่อนมาตลอดแล้วก็เพิกเฉยเสีย การกระทำของจำเลยทั้งสาม โจทก์ถือว่าจำเลยทั้งสามมีเจตนาร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค หรือในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ หรืออกเช็คให้ใช้เงินจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชี อันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น หรือถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะให้ใช้เงินตามเช็คนั้นได้ หรือมีคำสั่งห้ามธนาคารที่จำเลยทั้งสามสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น โดยเจตนาทุจริต โจทก์จึงได้รับความเสียหาย
จำเลยทั้งสามกระทำความผิดหลายกรรม ต่างกรรม ต่างวาระกัน ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลยทั้งสามเรียงกระทงความผิดทุกกรรมไป
เหตุเกิดที่ธนาคาร......................................... สาขา.................. แขวง.............. เขต.............. จังหวัด ..............
โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดอายุความ โดยไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จะดำเนินคดีด้วยตนเอง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด