สุภาษิตกฎหมายไทย
" ผู้เยาว์ไม่อาจสาบานตัว "
" กฎหมายซึ่งมีเหตุผลย่อมได้รับคำสรรเสริญยิ่ง "
" บุคคลจะต้องไม่ถูกลงโทษสองครั้งสำหรับความผิดอันเดียวกัน "
" ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน "
" ฟ้องซ้ำต้องห้าม "
" บุคคลย่อมจะเป็นผู้ตัดสินคดีของตนเองไม่ได้ "
" ไม่มีผู้ใดจะถูกลงโทษเพราะการกระทำของบุคคลอื่น "
" กฎหมายใหม่พึงใช้บังคับในอนาคตหาควรมีผลบังคับย้อนหลังไม่ "
" จะทำสัญญายกเว้นความรับผิดอันเกิดจากการฉ้อฉลมิได้ "
" ไม่มีกฎหมายไม่มีการลงโทษ "
" ความเคารพต่อกฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญแห่งกฎหมาย "
" กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างย่อมตามกรรมสิทธิ์ในที่ดิน "
" ลูกสัตว์ย่อมเป็นทรัพย์อันตกแก่ผู้เป็นเจ้าของเม่สัตว์ "
" ไม่พึงมีการเพิ่มประเด็นระหว่างมีการพิจารณาคดี "
" ประจักษ์พยานหนึ่งปากดีกว่าพยานบอกเล่าสิบปาก "
" ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น "
" สัญญาเอกชนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ได้เป็นอันขาด "
" ความจำเป็นอาจใช้เป็นข้อต่อสู้ได้ "
" เมื่อสิ่งประธานถูกทำลาย สิ่งอุปกรณ์ย่อมสิ้นสุดลงด้วย "
" ผู้ซึ่งบอกรับไม่อาจบอกปัด "
" สิ่งใดติดกับที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน "
" ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำการอย่างใดถือว่าผู้นั้นได้กระทำการนั้นด้วยตนเอง "
" ผู้ออกคำสั่งย่อมเป็นผู้กระทำ "
" ใครมาก่อนผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายได้สูงสุด "
" ถือว่าผู้ที่นิ่งเฉยได้ให้ความยินยอม "
" ทรัพย์ไม่มีเจ้าของตกเป็นของแผ่นดิน "
" การให้สัตยาบันก็เปรียบเสมือนการสั่งให้กระทำ "
" ราชอาณาจักรเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ "
" สิ่งอุปกรณ์ย่อมตามสิ่งประธาน "
" คดีความซึ่งฟ้องร้องระหว่างคู่ความไม่ควรจะทำให้บุคคลภายนอกเสียหาย "
" เหตุการณ์ย่อมแจ้งอยู่ในตัว "
" ภัยพิบัติอันเกิดแก่ทรัพย์ย่อมตกแก่เจ้าของทรัพย์ "
" เจ้าของไม่อาจมีภาระจำยอมเหนือทรัพย์ของตนเอง "
" ประโยชน์สุขขของประชาชนย่อมเป็นกฎหมายสูงสุด "
" เมื่อผู้ซื้อถูกครองสิทธิทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ซื้ออาจไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ขายได้ "
" กฎหมายสิทธิพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไป "
" บทบัญญัติอันสูงสุดคือบทบัญญัติที่ส่งเสริมศาสนา "
" พึงชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแทนการนับจำนวนพยาน "
" พยานปากเดียวมีผลเสมือนไม่มีพยาน "
" เมื่อมีเหตุอย่างเดียวกัน ย่อมต้องใช้กฎหมายอย่างเดียวกัน "
" เมื่อมีสิทธิย่อมสมควรมีทางบังคับตามสิทธินั้นด้วย "
" เมื่อไม่มีตัวการ ย่อมไม่มีผู้สนับสนุน "
" เมื่อมีกฎหมายอันไม่แน่นอน ย่อมมีผลเท่ากับไม่มีกฎหมาย "
" การเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็เท่ากับจงใจกระทำความผิด "
" การรับสินจ้างรางวัลในการตัดสินความเท่ากับเป็นการข่มขู่เรียกเอารางวัลนั้น "
" กฎหมายย่อมจักทำให้เหมาะสมกับคดีที่เกิดขึ้นเป็นเนืองนิตย์ "
" กฎหมายให้ความเป็นธรรมมากกว่าปุถุชน "
" ความเป็นธรรมย่อมไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย "
" ความเป็นธรรมย่อมดำเนินตามกฎหมาย "
" กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา "
" ผู้ปล่อยคนผิด คือ ผู้สร้างความหวาดเกรงให้แก่ผู้บริสุทธิ์ "
" กฎหมายท้องถิ่นย่อมใช้บังคับแก่การกระทำในท้องถิ่นนั้น "
" กฎหมายย่อมมุ่งถึงสิ่งอนาคตไม่ใช่สิ่งอดีต "
" กฎหมายย่อมช่วยผู้บริสุทธิ์ "
" ความยุติธรรมไม่เป็นสิ่งที่จะพึงปฏิเสธหรือผัดผ่อน "
" กฎหมายย่อมเคารพต่อความเป็นธรรม "
" กฎหมายออกโดยอำนาจนิติบัญญัติ จะเลิกไปก็โดยอำนาจนิติบัญญัติ "
" สิทธิมหาชนย่อมมาก่อนสิทธิเอกชน "
" ตุลาการควรคำนึงถึงความยุติธรรมเสมอ "
" ในพินัยกรรมนั้นเราจักต้องค้นหาเจตนารมณ์ของผู้ตายให้จงได้ "
" สองผิดจะไม่ทำให้เป็นถูกขึ้นเลย "
" กฎหมายรับรู้กับสิ่งที่อยู่ใกล้กับเหตุเท่านั้น "
" ในคดีอาญาทั้งมวล ควรจะพิสูจน์ให้ประจักษ์แจ้งดั่งแสงตะวัน "
" เมื่อมีสิทธิเสมอกันแล้ว ผู้ครอบครองทรัพย์สินย่อมมีสิทธิดีกว่า "
" การไร้ความสามารถคงเป็นข้อแก้ตัวได้ตามกฎหมาย "
" ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว "
" ความไม่รู้ในสิ่งซึ่งกฎหมายถือว่าต้องรู้ไม่เป็นข้อแก้ตัว "
" ความไม่รู้ข้อเท็จจริงเป็นข้อแก้ตัวได้ "
" ผู้ซึ่งปกปิดการฉ้อย่อมกระทำการฉ้อเอง "
" จงประสาทความยุติธรรมแม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที "
" บุคคลวิกลจริตไม่มีเจตนา "
" ไม่มีการฟ้องร้องโดยอ้างสัญญาที่ไม่ชอบ "
" สัญญาไม่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย "
" ข้อยกเว้นจะต้องตีความโดยเคร่งครัด "
" ความฉ้อฉลของตนย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้องกล่าวหาบุคคลอื่นได้ "
" ผู้ที่ถูกบังคับให้เชื่อฟังย่อมไม่ต้องรับผิด "
" กฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย "
" เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ "
" สิ่งที่ให้ย่อมจะไม่สันนิษฐานว่าเป็นการให้โดยเสน่หา "
" การให้สมบูรณ์เมื่อผู้รับได้ครอบครองของให้นั้น "
" ของกำนัลซึ่งลักลอบให้ ย่อมเป็นสิ่งที่มีพิรุธเสมอ "
" บ้านของบุคคลใดย่อมเป็นที่รโหฐานของบุคคลนั้น "
" สัญญาซึ่งทำขึ้นโดยกลฉ้อฉล กฎหมายไม่รับรองบังคับบัญชาให้ "
" ดุลพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม "
" กฎหมายไม่นำพาในสิ่งเล็กน้อย "
" ผู้มีอำนาจกระทำสิ่งใหญ่ย่อมมีอำนาจกระทำสิ่งย่อยด้วย "
" อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการนั้นเป็นโมฆะ "
" เป็นลูกหนี้ย่อมไม่สันนิษฐานว่าจะให้เงินโดยเสน่หาแก่เจ้าหนี้ "
" หนี้ย่อมไล่ตามตัวลูกหนี้ "
" การตีความในกฎหมายย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย "
" คำสารภาพที่ให้ในศาลย่อมมีน้ำหนักมากกว่าการพิสูจน์อื่นใด "
" ความยินยอมย่อมกำจัดเสียซึ่งความผิดพลาด "
" ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้โอน "
" การอำพรางต่างกับการทำเฉย "
" ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมพร้อมใจด้วยย่อมมีโทษดุจกัน "
" ความเป็นธรรมนั่นแหละคือความเสมอภาค "
" หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่โจทก์ "
" ถ้าโจทก์ไม่นำสืบจำเลยย่อมพ้นผิด "
" ผู้เสียหายเท่านั้นจึงมีอำนาจฟ้องคดี "
" คำพิพากษาของศาลย่อมเป็นอันเด็ดขาด "