ตัวอย่างวิธีการเขียนข้อสอบ ตั๋วทนายภาคปฏิบัติ


1,950 ผู้ชม


ข้อเขียน อัตตนัย

คำฟ้อง – แพ่ง
คำฟ้อง – อาญา
- ประมาท - นิยามของประมาทต้องใส่ว่า ป้องกันได้หรือไม่แต่ไม่ป้องกัน
- หมิ่นประมาท – ต้องใส่ข้อความที่หมิ่นประมาท
- เจตนา – ใช้คำว่า บังอาจ

การเขียนคำฟ้อง
1. ฐานะโจทก์, จำเลย - มีการมอบอำนาจให้ใคร
2. นิติสัมพันธ์ โจทก์-จำเลย มีนิติสัมพันธ์กันอย่างไร
3. การโต้แย้งสิทธิ เหตุในการฟ้อง – ผิดสัญญาอย่างไร
4. โจทก์ต้องการอะไร (เหมือนท้ายฟ้อง)


คำให้การ ม.177
หลักการทำคำให้การ
- ยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียก
- ต้องบรรยายแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้นหรือบางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
- จำเลยจะฟ้องแย้งรวมมาในแบบก็ได้ แต่ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟ้องเดิม
การตั้งประเด็นในคำให้การ
1. ปัญหาข้อกฎหมาย
- คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
- โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
- โจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่
- นิติกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
- ฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อนหรือไม่
2. ปัญหาข้อเท็จจริง
- จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องหรือไม่เพียงไร
- จำเลยได้ชำระหนี้แล้วหรือไม่เพียงไร
- จำเลยผิดสัญญาหรือไม่
- จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายหรือไม่เพียงไร
- ลายมือชื่อปลอมหรือไม่

รูปแบบของคำให้การในทางปฏิบัติ
- ปฏิเสธฟ้องโจทก์ทุกประเด็น
- ปฏิเสธบางประเด็นปละยอมรับบางประเด็น
- ปฏิเสธเฉพาะประเด็นที่แน่ใจว่าทำให้ชนะคดีได้แน่นอน


คำให้การที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
- คำให้การที่จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์
- คำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นการรับหรือปฏิเสธ
- คำให้การที่ขัดแย้งกันเอง
- คำให้การที่ปฏิเสธลอยๆ โดยไม่อ้างเหตุผลแห่งการปฏิเสธ

การแก้ไขคำให้การ และการยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง
ต้องยื่นเป็นคำร้องก่อนวันชี้ หรือวันสืบไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อน หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือเป็นการแก้ไขผิดพลาดเล็กน้อย หรือผิดหลงเล็กน้อย

คำแถลง – คำแถลงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้แถลงต่อศาลเพื่อให้ศาลทราบหรือเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาต เป็นการบอกกล่าวศาลให้ศาลทราบเกี่ยวกับคดี ไม่เกี่ยวกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
- แถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียม, ยืนยันที่อยู่จำเลย, ส่งหมายข้ามเขต, ปิดหมาย,
- ส่งหมายเรียกฯม.83, ให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผย ม.36, กะประเด็นข้อพิพาท ม.182 ว.3,
- ขอรับเงินหรือทรัพย์ตามใบมอบฉันทะ ม.63, ให้ศาลสั่งปิดหมาย ม.79, ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายใน 15 วัน ม.82 ว.2, ขอส่งสำเนาเอกสารก่อนสืบไม่น้อยกว่า 7 วัน ม.90, ม.90 ว.2,
- ส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่น ม.102, ขอรับต้นฉบับวัตถุพยานคืนโดยส่งสำเนาแทน ม.127 ทวิ, ส่งคำบังคับ ม.272, ขอให้ถอนการบังคับคดี ม.295

คำขอ - คำเสนอตอ่ศาลที่กฎหมายบัญญัติให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ยื่นต่อศาล เป็นการขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งอย่างใด เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ขอ ซึ่งไม่เกี่ยวกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
- ขอให้ศาลเผชิญสืบหรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ม.99, หมายเรียกพยานบุคคล ม.106, ขอให้คู่ความฝ่ายที่อ้างส่งต้นฉบับเอกสาร ม.122 ว.2, ขอให้ศาลแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ม.129, ขอให้ศาลอ่านคำคู่ความ ม.185, ขอออกหมายบังคับคดี ม.275

คำร้อง – คำคู่ความที่ได้ยื่นเสนอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีคำสั่งแต่งตั้งหรือขอให้คุ้มครองสิทธิหรือเพื่อรับรองสิทธิใดๆ (เป็นการกระทบอีกฝ่ายเพื่อโต้แย้งได้ จะต้องมีคำว่า “ขอ” ต่อจากคำร้องเสมอ) คดีอยู่ระหว่างทำอะไร, เหตุแห่งการยื่นคำร้อง, ต้องการให้ศาลสั่งอะไร
- จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ, ขอให้ศาลพิพากษาชนะคดีโดยขาดนัด ม.198, ม.199
- โต้แย้งสิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ม.55 (เพิกถอนผู้จัดการมรดก)
- ชั่วคราว ม.253, ม.254 ว.1(1), ม.254 ว.1(2), ม.256, ฉุกเฉิน ม.266 ว.1
- อนาถา ม.156 ว.1 สาระสำคัญคือ ยากจน และ คดีมีมูล
- พิจารณาผิดระเบียบ ม.27, ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ม.24 (อำนาจฟ้อง, อายุความ)
- แก้ฟ้อง, แก้คำให้การ ม.180 (เป็นการแก้ไขคำ...เพียงเล็กน้อย ซึ่งมิได้ทำให้ (คู่ความ) เสียเปรียบหรือหลงประเด็นแต่อย่างใด) เหตุที่ขอแก้ไข ม.179
(1) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ
(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
- ขอขยายระยะเวลา (ยื่นคำให้การ) ม.23
- ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลัก 15 วัน นับสืบ ม.88 ว.3 ต้องมีเหตุอันสมควร
- ถอนฟ้อง(หลังจำเลยยื่นคำให้การ ม.175 ว.2)
- ขอหมายเรียกพยานเอกสาร
คำร้องสอด (ม.57 (1) ) ถ้าเข้ามาเป็นฝ่ายที่ 3 มีลักษณะเป็นคำฟ้อง ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ม.172 หากมีลักษณะเป็นคำให้การต้องแสดงโดยแจ้งชัดว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างรวมทั้งเหตุแห่งข้ออ้างนั้น

คำบอกกล่าว
- ถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ม.175 ว.1 (ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ให้ทำเป็นคำร้อง เพื่อให้จำเลยโต้แย้งได้)

แบบฟอร์มการเขียนต่างๆ
หลักในการเขียน - บอกกล่าวทวงถาม
1. บอกกล่าวทวงถาม – (ยังไม่มีคำว่า โจทก์ – จำเลย)
- ให้เขียนเต็มรูปแบบ - มุมบนขวาเป็นที่อยู่ออกหนังสือทวงถาม เบอร์โทรด้วยถ้ามี
- วันที่ออกหนังสือ
- เรื่อง
- เรียน ชื่อลูกหนี้
- อ้างถึง สัญญากู้ฉบับลงวันที่ (ถ้าโจทก์ให้มา)
- เนื้อหา – ตามที่ท่านได้.............. ย่อหน้าสุดท้าย โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก................จึงแจ้งมาเพื่อขอให้ท่านนำเงินจำนวน.............บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ...... ต่อปี นับแต่วันที่ (ผิดนัดหรือได้รับจดหมายฉบับนี้) จนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น ไปชำระแก่...............ภายใน...วัน นับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้น.................มีความจำเป็นที่จะต้องบังคับจำนอง, จำนำ) และดำเนินการตามกฎหมายกับท่านต่อไป

-----------------------
บอกเลิกสัญญาเช่า
เรียน
ตามที่ท่านได้เช่าตึกแถว.............จากนาย............เมื่อวันที่............มีกำหนดเวลา..........นั้น บัดนี้ ครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าไม่ประสงค์จะให้ท่านเช่าอีกต่อไป จึงมอบให้ข้าพเจ้าในฐานะทนายความดำเนินการในเรื่องนี้กับท่าน
ฉะนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้า ขอให้ท่านขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากตึกแถวที่เช่า พร้อมกับชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ...........บาท นับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่า พร้อมกับชำระดอกเบี้ยของค่าเสียหายในอัตราร้อยละ..............บาท นับแต่วันครบกำหนดสัญญาเช่าแก่ข้าพเจ้าภายใน.........วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้น ข้าพเจ้าจำเป็นต้องดำเนินคดีกับท่านตามกฎหมายต่อไป

------------------------

หนังสือมอบอำนาจ (อาญา)
ข้าพเจ้า................ ขอมอบอำนาจให้...............อายุ.............อยู่บ้านเลขที่.....................ดำเนินการร้องทุกข์ กล่าวโทษและถอนคำร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ และให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวน รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทุกคนในทุกข้อหาความผิด ซึ่งบุคคลดังกล่าวได้กระทำและ/หรือมีส่วนรู้เห็น และ/หรือ ร่วมกระทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการ.............แทนข้าพเจ้าได้จนกว่าจะเสร็จการ
การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามข้อความในหนังสือฉบับนี้แล้ว ให้ถือเสมือนว่า ข้าพเจ้าได้กระทำด้วยตนเองทุกประการ
เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน

---------------------
หนังสือมอบอำนาจ (แพ่ง)

หนังสือฉบับนี้ ทำขึ้นเพื่อแสดงว่า ข้าพเจ้า.................ขอมอบอำนาจให้...............อายุ.............อยู่บ้านเลขที่ .....................เป็นผู้รับมอบอำนาจของข้าพเจ้าโดยให้มีอำนาจดำเนินการแทนข้าพเจ้าในเรื่องต่อไปนี้
1. ฟ้องคดี นาย......................ในข้อหา...............ดำเนินกระบวนพิจารณา ทั้งนี้ให้รวมถึงการประนีประนอมยอมความกับจำเลย ถอนฟ้อง รับทรัพย์สิน เงิน หรือค่าเสียหายจากจำเลย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยื่นอุทธรณ์ ฎีกา หรือคำแก้อุทธรณ์ ฏีกา ด้วย
2. กระทำการใดๆ อันจำเป็นหรือสมควร เพื่อให้กิจการที่ได้รับมอบหมายตามหนังสือนี้ สำเร็จลุล่วงไปโดยสมบูรณ์
การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปตามข้อความในหนังสือฉบับนี้แล้ว ข้าพเจ้าขอยืนยันรับรองในกิจการที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปเสมือนหนึ่งข้าพเจ้ากระทำไปด้วยตนเองทุกประการ
เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน

------------------------

2 คำฟ้องแพ่ง
1. ฐานะโจทก์-จำเลย (กรณีเป็นนิติบุคคล - ถ้าเป็น หจก. ต้องมี จำเลยที่ 1, จำเลยที่ 2)
(ถ้าโจทก์เป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องบรรยาย) โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบธุรกิจ.......... โดยมีนาย.......เป็นกรรมการบริษัท/เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
(ถ้าจำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องบรรยาย) จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบธุรกิจ.......... โดยมีนาย.......เป็นกรรมการบริษัท/เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2
- (หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดยอม ถ้าใช้ชื่อเป็นชื่อ หจก. ต้องร่วมรับผิดโดยไม่จำกัดด้วย)
2. ข้อความการเริ่มต้น (ความสัมพันธ์ โจทก์ – จำเลย เกี่ยวกับเรื่องฟ้อง (สัญญา, ละเมิด) )
3. โต้แย้งสิทธิ – ผิดสัญญา (โจทก์หรือจำเลย บรรยายฟ้องให้แยกเป็นข้อๆ เช่น 2.1, 2.2, 2.3) ข้อความการผิดสัญญา .....................การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำ............ต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยต้องรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน ความเสียหาย – จำนวนหนี้ที่ค้าง + ดอกเบี้ยที่ฟ้อง = รวมเป็นเงิน
4. โจทก์ได้ติดตามทวงถามจำเลยเรื่อยมา แต่จำเลยเพิกเฉย ครั้งสุดท้ายโจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยได้รับแล้วแต่ก็ยังคงเพิกเฉยอยู่อีก รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือทวงถามและใบตอบรับ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข.........
5. โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงต้องนำคดีมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลยต่อไป
6. ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ท้ายฟ้องแพ่ง
1. ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชดใช้เงินจำนวน.......บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ........ต่อปี ของเงินต้น...................บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่โจทก์ครบถ้วน
2. หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามข้อ 1 ให้แก่โจทก์ ให้ยึดที่ดินของจำเลย โฉนดเลขที่ .........................ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามข้อ 1 ให้แก่โจทก์ หากได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน
3. ให้จำเลยร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

-------------------

3. ฟ้องอาญา
1. (ถ้าโจทก์เป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องบรรยาย) โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบธุรกิจ.......... โดยมีนาย.......เป็นกรรมการบริษัท/เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1
(ถ้าจำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่ต้องบรรยาย) จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบธุรกิจ.......... โดยมีนาย.......เป็นกรรมการบริษัท/เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2
2. เมื่อวันที่ ..................เวลา (กลางคืนหลังเที่ยง – เที่ยงวันเป็นหลัก 18.00-24.00) (กลางคืนก่อนเที่ยง – 24.00 – 06.00 น.)
จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมาย คือ จำเลยได้บังอาจ (เป็นเจตนาใช้บังอาจ)
(กรณีขับรถโดยประมาท ม.59 ) - จำเลยได้กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีวิสัยและพฤติการณ์โดย จำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
(ถ้าเป็นหมิ่นประมาท)- หมิ่นประมาทโจทก์ต่อนาย.........และผู้อื่นวา “โจทก์ได้ (ข้อความหมิ่นประมาท)” โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งข้อความที่จำเลยใส่ความโจทก์ ดังกล่าวเป็นข้อความเท็จทั้งสิ้น การกระทำดังกล่าวของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชังจากนาย........และผู้อื่นที่ได้ร่วมฟังอยู่ด้วย
(ฉ้อโกง) – การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงโจทก์ ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ทรัพย์สินเป็นจำนวน.............จากโจทก์โดยทุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
(ยักยอก) – การกระทำของจำเลยเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยไปเป็นของจำเลยโดยทุจริต ซึ่งเป็นการกระทำในฐานะเป็น......(ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล) เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย


3. เหตุเกิดที่ แขวง.................เขต.....................จังหวัด....................
4. โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จะดำเนินคดีด้วยตนเอง หรือ โจทก์ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาล..............ไว้แล้ว ปรากฎตามบันทึกประจำวันข้อ...หน้าที่....ลงวันที่......................แต่พนักงานดำเนินการล่าช้า โจทก์จึงมีความประสงค์ดำเนินคดีกับจำเลยด้วยตนเอง เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข.............


4.ท้ายฟ้องอาญา
1. ให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา..............
2. ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาคดีนี้ ด้วยอักษร.....หนังสือพิมพ์............เป็นเวลา........โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง (กรณีหมิ่นประมาท)
หมายเหตุ ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเอง (โจทก์ต้องลงลายมือชื่อเอง หรืออัยการ)

---------------------

5. คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก – ไม่มีพินัยกรรม (ม.4 จัตวา ว.1)
ผู้จัดการมรดก – ผู้ตายมีภูมิลำเนาก่อนตายที่ศาลจังหวัด..............
1. (อำนาจของผู้ร้อง) ผู้ร้องเป็นภริยา โดยชอบด้วยกฎหมายของนาย......................ผู้ตาย จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ ............ณ....................ปรากฏตามสำเนาทะเบียนสมรส/สำเนาทะเบียนบ้าน
2. (ภูมิลำเนาของผู้ตาย) ขณะนาย.........ถึงแก่ความตาย มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ ............................รายละเอียดตามสำเนาทะเบียนบ้าน..................
3. (เหตุการตาย) เมื่อวันที่ ........นาย.ผู้ตาย ถึงแก่ความตายด้วยโรค.....รายละเอียดปรากฎตามใบมรณบัตร
4. (ทายาทผู้ตาย) ผู้ตายมีทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ คือ....ผู้ร้องมีบุตรกี่คน (ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย) เสียชีวิตหรือยัง ถ้ายังให้ใส่ไปด้วย ลำดับที่ 1, 2 ไม่ตัด บิดามารด, ลูก) ปรากฎตามบัญชีเครือญาติ
5. (ทรัพย์ผู้ตาย) ผู้ตายมีทรัพย์มรดก คือ..... รายละเอียดปรากฎตามบัญชีทรัพย์สินของผู้ตาย
6. (เหตุขัดข้อง) ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก กล่าวคือ เมื่อผู้ร้องไปขอเบิกเงินจากธนาคารและขอรับโอนทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ต้องให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้
7. (คุณสมบัตของผู้ร้อง) ผู้ร้องเป็นผู้มีความสามารถสมบูรณ์ตามกฏหมาย มีความประพฤติเรียบร้อย มิได้เป็นบุคคลวิกลจริต บุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ทั้งมิใช่บุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือบุคคลล้มละลาย อันเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็น ผู้จัดการมรดกแต่ประการใด
8. (ยืนยันศาล) ผู้ร้องจึงขอศาลได้โปรดมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ....ผู้ตายต่อไปด้วย


อัพเดทล่าสุด