ศาลปกครอง
การแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีปกครองของศาล
- ศาลปกครองมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือ
- เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครอง
- คู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ (หน่วยงานของรัฐ, เจ้าหน้าที่รัฐ)
- ระบบการพิจารณาพิพากษาคดี ต้องต่างจากกรณีปกติ เพราะรัฐได้เปรียบเก็บพยานหลักฐานทุกอย่างไว้
- การพิจารณาคดีเป็นระบบไต่สวน
- การยื่นฟ้องไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
- การสืบพยานต้องทำเป็นหนังสือ จะเอาพยานบุคคลมาเบิกความขัดแย้งกับเอกสารของทางราชการไม่ได้
- คู่กรณี เรียกว่า ผู้ฟ้องคดี กับ ผู้ถูกฟ้องคดี
- หากข้อเท็จจริงเพียงพอ ศาลจะแจ้งไปยังคู่กรณีว่า จะกำหนด “วันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง” โดยมีขึ้นเพื่อคานอำนาจระหว่างตุลาการเจ้าของ
สำนวน กับตุลาการนอกคดี / ตุลาการหัวหน้าคณะ
- ให้ยื่นฟ้องคดีทางไปรษณีย์ตอบรับได้ ต้องแนบหลักฐาน + หนังสือมอบอำนาจ + บัตรประชาชน โดยอายุความจะสะดุดหยุดลงในวันที่ยื่นฟ้องทางไปรษณีย์
- ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไม่ได้
- ระยะเวลาการฟ้องคดี 90 วัน /1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
- บางคดี ศาลไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ให้ดำเนินคดีต่อไป เพราะบางกรณีเป็นประโยชน์ สาธารณะ ถ้าเป็นเรื่องประโยชน์ส่วนตน ถอนได้
- การนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ศาลอาจให้ทำคำแถลงเป็นหนังสือ โดยยื่นก่อนวันนัด (ต้องทำคำแถลงเป็นหนังสือ จึงจะแถลงด้วยวาจาได้ซึ่งต้อง
ภายในขอบเขตของคำแถลงเป็นหนังสือเท่านั้น)
- การอุทธรณ์ ให้อุทธรณ์ ไปยังศาลปกครองสูงสุด ภายใน 30 วัน ศาลขยายให้ไม่ได้
- การบังคับคดี เมื่อศาลตัดสินไปแล้ว ต้องให้คำพิพากษาถึงที่สุด โดยไม่ต้องออกคำบังคับ/หมายบังคับคดี
- การจ่ายเงินเป็นไปตามมติครม. จะทำการยึดทรัพย์ของหน่วยงานไม่ได้ แต่หากเป็นหนี้กระทำการ / งดเว้นกระทำการ หน่วยงานของรัฐทำได้แม้ไม่มีมติ ครม.
- ฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อนไม่ได้
- กรณีเป็นผู้เยาว์ อายุ 15 ปีขึ้นไป ฟ้องคดีด้วยตนเองได้
- ค่าธรรมเนียมศาล ไม่เกิน 2.5% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในกรณีขอให้ใช้เงิน/ ส่งมอบทรัพย์สิน
- ถ้ายากจน/ได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้
- การขอคุ้มครองชั่วคราวขอได้ ออกคำสั่งให้ปฏิบัติ มีผลทันที แต่หากจะขอทุเลาการบังคับคดีต้องดูว่า คำสั่งทางปกครองนั้น กระทบถึง การบริหารราชการแผ่นดิน +
การบริหารสาธารณะ หรือไม่
การเตรียมและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลปกครอง
- ในคดีปกครอง เรียกว่า คู่กรณี = ผู้ฟ้องคดี + ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้ได้รับค.เดือดร้อน) , ระยะเวลาการฟ้องคดี (อายุความ) ,ตุลาการศาลปกครอง (ผู้พิพากษา)
- หน่วยงานทางปกครองได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ตามพรบ.,พรฎ. องค์การมหาชน เอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครอง
เช่น สภาทนายความ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น ปปช. คตง.
- การยื่นฟ้อง ภูมิลำเนาของผู้ฟ้องคดี / สถานที่เกิดเหตุ
- องค์คณะ 3 คน จ่ายตามความเชี่ยวชาญ และแต่งตั้งตุลาการผู้แถลงคดี คนใดคนหนึ่งเป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ทำการตรวจสำนวน และคำชี้แจง จึงมีคำสั่งรับฟ้อง
- ส่งหมาย และให้ผู้ถูกฟ้องคดีทำคำให้การ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับสำเนาคำฟ้อง
- ส่งสำเนาคำให้การ ให้ผู้ฟ้องคดีทำคำคัดค้านคำให้การ ถ้าไม่ประสงค์คัดค้าน ให้แถลงต่อศาลภายในกำหนด มิฉะนั้น ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี
- ผู้ถูกฟ้อง ทำคำให้การเพิ่มเติมได้
- การไต่สวน / การแสวงหาข้อเท็จจริง ถ้าไม่พอ ศาลแสวงหาได้ โดยเรียกพยานบุคคล / พยานเอกสารมา
- เขตอำนาจศาลปกครอง (ม.9)
1. คดีฟ้องให้เพิกถอนกฎ/คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกม. หลักทั่วไป ฟ้องครั้งแรกที่ศชต. หากเป็นกฎที่ออกโดยครม. ฟ้องครั้งแรกที่ ศาลปกครองสูงสุด
2. จนท.ของรัฐกระทำการทางกายภาพ เช่น สร้างสะพานลอย ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
3. หน่วยงานทางปกครองละเลย/ล่าช้าต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ต้องมี กม.กำหนด อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองเอาไว้ มีได้ 2 กรณี คือ มีกม.กำหนดหน้าที่ไว้เป็นการทั่วไป และหน้าที่เกิดเพราะมีคนมายื่นคำขอ
ระยะเวลาในการฟ้องคดี
( กรณีล่าช้า)
4. การกระทำละเมิดทางปกครอง อปก. 2 ประการ 1.เป็นการกระทำละเมิด (ม.420 ปพพ.) 2.เกิดจากการใช้อำนาจตามกม. โดยจะต้องฟ้องฟ้องทั้ง 2 อย่างภายใน 90 วัน
5. ความรับผิดอย่างอื่น อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกม. /จากกฎ คำสั่งทางปกครอง /คำสั่งอื่น /จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กม. กำหนดให้ต้องปฏิบัติ /
ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า เกินสมควร
6. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เป็นเรื่องที่รัฐทำสัญญากับเอกชน แยกส.ทางปกครอง ออกจากส.ทางแพ่ง
ส.ทางปค. = คู่ส.ฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปค. /ตัวแทนของหน่วยงานทางปค. + ส.สัมปทาน ,ส.ให้จ้ดทำบริการสาธารณะ,ส.จัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค,ส.
ซ่อมแซมปรับปรุง,ส.แสวงหาปย.จากทรัพยากรธรรมชาติ + ส.ที่รัฐมีอำนาจเหนือเอกชน +
ส.ที่เอกชนเข้าร่วมดำเนินการจัดทำสาธรณูปโภค
- ตย.สัญญาทางปกครอง และไม่ใช่ส.ทางปค.
- ส.ซื้อขายเครื่องคอมพิวเตอร์ ╳ แต่หากซื้อทั้งระบบคอมพิวเตอร์ √
- ส.ซื้อเรือรบ เรือตรวจการ √ ส.การศึกษาต่อกับทางราชการ√ ส.ค้ำประกันการศึกษาต่อ √ ส.จ้างออกแบบและควบคุมงาน √
- ส.ให้เช่าที่ราชพัสดุ ╳ องค์การคลังสินค้าให้กู้เงินเพื่อไปซื้อสินค้าในราคาประกัน √ ส.จ้างลูกจ้างของส่วนราชการ √ ส.จ้างผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ √
7. คดีที่มีกม. กำหนดให้ฟ้องศาลปค. เช่น กม.เดินเรือในน่านน้ำไทย
8. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกม. กำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปค.
- เงื่อนไขในการฟ้องคดีปค.
1.ต้องเป็นคำฟ้องที่มีสาระสำคัญครบถ้วนสมบูรณ์ตามเนื้อหาที่ระบุใน ม.45 มีชื่อผู้ฟ้อง ชื่อหน่วยงานทางปค. การกระทำ และคำขอท้ายฟ้องที่อยู่ในอำนาจศาล
ทำเป็นหนังสือ ทำสำเนาตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดี ในคดีปค.ไม่มีฟ้องเคลือบคลุม
2. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3. ต้องได้ดำเนินการแก้ไขความเดือดร้อนครบขั้นตอนตามที่กม.กำหนดแล้ว เฉพาะคำสั่งทางปค.ที่ต้องอุทธรณ์ การอุทธรณ์เป็นไปตามกม.เฉพาะ
หากไม่มีกม.เฉพาะ ใช้พรบ.วิธีปฏิบัติ
4. ต้องเป็นฟ้องที่ชำระค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้อง /ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
5. ต้องเป็นฟ้องที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา
6. ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่มีค.สามารถตามกม.
7. ต้องมีคำสั่งทางปค. /กฎในเรื่องที่จะฟ้องคดีนั้น ไม่ใช่เพียงมติ / นส.เวียน
8. ต้องไม่เป็นการฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน ดำซ้ำ
9. ต้องเป็นคำฟ้องที่ มีการแก้ไขค.เดือดร้อนที่เป็นต้องมีคำบังคับของศาล
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้รับมอบอำนาจ หรือทนายความในคดีปกครอง
- คดีปกครองไม่ส่งเสริมวิชาชีพทนายความ กล่าวคอ ไม่มีทนายความก็ได้ แต่ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะมีทนายความ
- การดำเนินคดีปกครอง อาจดำเนินคดีด้วยตนเอง /มอบอำนาจให้ทนายความ /มอบอำนาจให้ผู้อื่น
- การมอบอำนาจใช้นส.มอบอำนาจทั่วไป ปิดอากรแสตมป์ตามป.รัษฎากร
- ทนายความทำได้ภายในขอบเขตที่ได้รับมอบอำนาจ ทนายความเป็นตัวทนของตัวความซึ่งเป็นตัวการ ทั้งยังต้องคำนึงถึงข้อบังคับของทนายความด้วย
- การฟ้องคดีทำได้เมื่อมีการมอบอำนาจเป็นการเฉพาะ
- ทนายความมีสิทธิได้รับบำเหน็จ หากมีหลายคนต้องร่วมกันทำงาน จะทำแยกกันไม่ได้
- ถ้าเป็นทนายความคดีปกครองอยู่ แล้วถูกเพิกถอนใบอนุญาต ยังสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ หากลูกความไม่ถือการเป็นทนายความเป็นสาระสำคัญของคดี
- หากมีผู้ฟ้องคดีหลายคน อาจตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้ การกระทำของผู้แทนผูกพันทุกคน ( ผู้แทนของผู้ฟ้องคดีจะต้องเป็นผู้ฟ้องคดีด้วย) ใช้ใบมอบอำนาจหรือ
ระบุในคำฟ้องก็ได้
- คู่กรณี หมายความรวมถึงทนายผู้รับมอบอำนาจด้วย
ศาลแรงงาน
การเตรียมคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน
- เป็นการพิพาทกันระหว่าง นจ. กับ ลจ. ( นจ. = คนที่ให้ทำงาน และจ่ายค่าจ้าง ลจ. = ผู้ที่ตกลงทำงานให้ และได้ค่าจ้าง )
- ศาลแรงงาน (ม.3) คือ ศาลที่พิจารณาพพษ คดีแรงงาน ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค ศาลแรงงานจังหวัด จัดตั้งวันที่ 24 เม.ย. 2524
- คดีแรงงาน (ม.8) คือ คดี่ที่พิพาทกันระหว่าง นจ. กับ ลจ. เรื่องเกี่ยวกับการจ้าง/การทำงาน รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามกม.แรงงาน เช่น ฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าจ้าง
- ขั้นตอนการระงับข้อพิพาท การกระทำอันไม่เป็นธรรม (พรบ.แรงงานสัมพันธ์ ม.121-123) เช่น การที่นจ.กลั่นแกล้งลจ. ไม่ให้สิทธิตามกม.แรงงาน เช่น
การตั้งสหภาพแรงงาน ห้ามเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ต้องร้องต่อคณะกก.แรงงานสัมพันธ์ก่อน ถ้าไม่พอใจจึงมาฟ้องต่อศาลแรงงาน ภายใน 30 วัน
ถ้าเป็นนจ. ต้องนำเงินวางต่อพนง.ตรวจแรงงาน + ดอกเบี้ยก่อน 15 %ต่อปี จึงจะมีอำนาจฟ้อง
- คดีเป็นคดีแรงงานหรือไม่ (ม.9) ถ้าคู่ความเห็นว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน ให้อธิบดีผู้พพษศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งนี้เป็นที่สุด
- ฟ้องศาลแรงงานในท่องที่ที่มูลคดีเกิด (ศาลหลัก) / ศาลที่โจทก์/จล.มีภูมิลำเนา (ศาลยกเว้น) ต้องอ้างค.สะดวก
- สถานที่ลจ.ทำงาน ถือเป็นสถานที่มูลคดีเกิด เช่น นจ.อยู่กทม. มีโรงงานอยู่ที่ลำพูน ลจ.มีภมิลำเนาอยู่เชียงใหม่ ลจ.ฟ้องที่ศาลจ.ลำพูน ศาลจ.ลำพูนส่ง
ศาลแรงงานภาค5 (เชียงใหม่) ผู้พพษแรงงานภาคเท่านั้นมีอำนาจในการสั่งรับฟ้อง
- การนั่งพิจารณา อาจนั่งพิจารณาที่ศาลแรงงานภาค /ศาลแรงงานจังหวัดก็ได้
- การร่างฟ้องในคดีแรงงาน (ม.3 + ม.172 ปวพ.) แนะนำว่าโจทก์คือใคร, จล.คือใคร, นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจล./นิติเหตุ , ถูกโต้แย้งสิทธิอย่างไร
ค.เสียหาย , คำขอ (ม.42 + ม.142 ปวพ.) ศาลอาจให้เกินคำขอได้ การบรรยายฟ้องต้องสัมพันธ์กับคำขอ
- แบบฟอร์ม รง.1 ฟ้องทั่วไป รง.2 คำร้องให้กรรมการลจ.พ้นจากตำแหน่ง ใช้ฟอร์มศาลแรงงาน/ศาลแพ่งก็ได้ ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
ฟ้องเป็นนส./วาจาก็ได้ ไม่มีค่านำส่งเอกสาร (ม.26 ขยาย/ย่นระยะเวลาก็ได้)
- การปิดหมาย คดีแรงงานส่วนใหญ่มีผลทันที ขอขยายได้แม่พ่นระยะเวลาไปแล่ว
- คำให้การ ต้องชัดแจ้งพร้อมด้วยเหตุผล ให้การเป็นนส./วาจาก็ได้ (ยื่นมาก่อน/มาแถลงต่อศาลในภายหลัง)
- อายุความในการฟ้องเรียกค่าจ้าง 1 ปี, อายุความในการฟ้องเรียกค่าชดเชย 10 ปี
- วันนัดพิจารณา (ม.37) โจทก์จล.ต้องมาศาล คดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน โดยนัดวันพิจารณาให้เร็วที่สุด
- คดีแรงงานเป็นการไกล่เกลี่ย โดยจะไกล่เกลี่ยต่อหน้าคู่ความ/ลับหลังคู่ความฝ่ายใดฝายหนึ่งก็ได้ จะต้องไกล่เกลี่ย ทุกคน ทุกวิธี ทุกเวลา
ถ้าไม่ไกล่เกลี่ยกระบวนพิจารณาจะไม่ชอบ แม้เขียนคำพพษ แต่ยังไม่ได้อ่านก็ไกล่เกลี่ยได้
- เมื่อไกล่เกลี่ยแล้ว อาจถอนฟ้อง /ทำส.ประนีประนอมยอมความ + พพษตามยอม + คำบังคับ
- ถ้าตกลงกันไม่ได้ ทำรายงานกระบวนพิจารณากำหนดปด.ข้อพิพาท หน้าที่นำสืบ วันสืบพยาน อ่านให้ฟังและให้คู่ความลงชื่อ
- วันสืบพยาน ต้องอ้างและยื่นบัญชีพยาน ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลกำหนดให้มีการสืบพยาน อ้างเพิ่มเติมได้ก่อนวันสืบพยาน แต่อาจอ้างเพิ่มเติมทีหลังได้
ศาลจะใช้ดุลพินิจในการอนุญาต
- การขาดนัด - การขาดนัดวันนัดสืบพยาน คือ มาแล้วในวันนัดพิจารณา แต่ไม่มาในวันนัดสืบพยาน เมือคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาศาล ให้ศาลพิจารณาคดี
ไปฝ่ายเดียว ฝ่ายที่ขาดนัด อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลส่งคำบังคับ
- การขาดนัดพิจารณา หากโจทก์ไม่มา ศาลสั่งจำหน่ายคดี ถ้าจล.ไม่มา ศษลมีคำสั่งขาดนัด จะตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว หากขาดทั้งคู่
ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี
- การสืบพยาน ศาลจะสืบพยานตามปด.ข้อพิพาท โดยอาจเรียกพยานมาสืบเอง/อนุญาตให้คู่ความนำพยานที่ไม่ได้อ้างมาสืบ (ม.45)
ศาลเลื่อนได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน โดยศาลจะเป็นผู้ถามพยาน ทนายความจะถามได้เมื่อศาลอนุญาต เป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่ศาล
- ศาลบันทึกคำพยานโดยย่อ (ทางปฏิบัติ ทำโดยละเอียด)
- คดีแรงงาน อุทธรณ์ได้เฉพาะ ปัญหาข้อกม. ข้อเท็จจรงอุทธรณ์ไม่ได้
- องค์คณะในศาลแรงงาน ผู้พพษในศาลแรงงาน + ผู้พพษสมทบฝ่ายนจ. + ผู้พพษสมทบฝ่ายลจ. ฝ่ายละเท่ากัน มีเสียงเท่ากัน
- การยื่นคำร้อง ศาลสั่งคนเดียวได้ เพราะไม่ใช่การนั่งพิจารณา
- ผู้พพษสมทบต้องนั่งพิจารณาจนเสร็จ เว้นแต่ป่วยเจ็บ จึงหาคนอื่นมาแทนได้
- การคัดค้านผู้พพษฝ่ายสมทบก็สามารถกระทำได้ โดยผู้พพษสมทบมาจากการเลือก มีฐานะเป็นจพง.ตามกม. นอกจากนี้อาจเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาให้ค.เห็นได้
- ศาลอาจฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนได้ โดยดูจากสภาพศก. และสังคม
- การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ม.49) คือ การเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุเกี่ยวกับการทำงาน หรือมีเหตุเกี่ยวกับการทำงานแต่ยังไม่สมควรที่จะเลิกจ้าง
- คำพพษทำเป็นหนังสือ มีข้อเท็จจริง ฟังได้โดยสรุป วินิจฉัยในแต่ละประเด็น พร้อมด้วยเหตุผล
- คำพพษเกินคำขอได้ เพื่อป.ย.แห่งค.ยุติธรรม ดอกเบี้ยในคดีแรงงาน 15% ต่อปี หากขอมาแค่ 7.5% ศาลให้เกินคำขอได้ คือให้ 15%
- คำพพษผูกพันคนที่มีมูลความแห่งคดีเดียวกันได้ นอกจากลจ. นจ. คนที่ฟ้อง
- สำเนาคำพพษส่งกรมแรงงาน โดยศษลต้องอ่านคำพพษภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการพิจารณา
- การอุทธรณ์ อุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพพพษ /คำสั่งนั้น
- อีกฝ่ายต้องแก้อุทธรณ์ ภายใน 7 วันนับแต่วันได้รับสำเนา
- การอุทธรณืไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี เว้นแต่ศาลฎจะอนุญาต ศาลฎ ต้องฟังข้อเท็จจริง ที่ศาลแรงงานฟังมา ถ้าไม่พอให้ย้อนไปฟังใหม่ได้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
การเตรียมคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
- ศาล IP (Intellectual Property) เกิดจากสถานการณ์วิกฤตปี 2540 ต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเข้าไปเป็นสมาชิกของ WTO ประเทศไทย
จึงมีพันธะกรณีต้องมีระบบศาล ที่มีการคุ้มครองสิทธิใน IP
- การค้า แบ่งเป็น 3 ประเภท - การซื้อขายสินค้าในสิ่งที่จับต้องได้
- การซื้อขายบริการ สถาบันการเงิน การให้คำปรึกษา
- การซื้อขายทรัพย์สินทางปัญญา ซอร์ฟแวร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์
- ศาล IP เป็นศาลชำนัญพิเศษ ผู้พพษมี 2 ประเภท ผู้พพษอาชีพ (ตุลาการ) และผู้พพษสมทบ (คัดมาจากบุคคลที่มีค.รู้ค.สามารถที่อยู่ในเขตอำนาจของศาล)
เหตุที่ต้องมีผู้พพพษสมทบ เพราะต้องอาศัยค.รู้ ค.เชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งไม่เป็นที่รู้กันในหมู่คนที่มีค.รู้ระดับสามัญทั่วไป
องค์คณะ 3 คน คือ อาชีพ 2 + สมทบ 1 มีเสียงเท่ากันทั้งข้อเท็จจริงและข้อกม. แต่ผู้พพษสมทบ มีวาระคราวละ 5 ปี
- เขตอำนาจศาล มีศาลเดียว คือ ศาลIP กลาง มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
มาตรา 7 ศาล IP มีอำนาจ
1) พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวสิทธิใน IP เช่น ข้อพิพาทเกี่ยวกับการให่ใช้สิทธิ
2) มีอำนาจพิจาณาเรื่องการค้าระหว่างประเทศ การรับขนของทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
3) การกักเรือ พรบ.ว่าด้วยการกักเรือ พ.ศ. 2534 เช่น กรณีเรือทำละเมิด ศาลมีอำนาจกักเรือ ( Arrest of ship)โดยไม่จำต้องมีการฟ้องคดี ผู้ถูกทำละเมิด
ทำคำร้องฝ่ายเดียว ทำการไต่สวนฝ่ายเดียว การกักเรือ เป็นการยึดเรือไว้เป็นประกันการชำระหนี้ หากตนชนะคดี โดยผู้ขอจะต้องวางหลักประกัน
ค.เสียหาย อันเกิดจากการกักเรือไว้ต่อศาล หากตนแพ้คดี
4) อนุญาโตตุลาการ ในเรื่องการสืบพยาน การขอคุ้มครองชั่วคราว การบังคับตามคำชี้ขาด
5) การอุดหนุนและการทุ่มตลาด คือ การที่พ่อค้า ตปท.ได้รับการอุดหนุนจากรัฐตปท. ในการส่งสินค้าเข้าในไทย โดยที่พ่อค้าไทยไม่ได้รับการอุดหนุน
จากรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยต้องเก็บภาษีจากพ่อค้า ตปท. เพื่อให้เท่าเทียมกับพ่อค้าไทย ในการแข่งขันทางการค้า
- หากมีปัญหาในเรื่องเขตอำนาจศาล ระหว่างศาลแพ่ง และ ศาลIP คนวินิจฉัย คือ ประธานศาลฎีกา
- การพิจารณา ม.26 ,30 อธิบดีศาล IP โดยอนุมัติ ปธ.ศาลฎีกา มีอำนาจออกข้อกำหนดของตนเองเกี่ยวกับวิธีพิจารณา
- การสืบพยาน เป็นการยื่นบันทึกคำเบิกความ , วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ , ตกลงกันไม่ต้องแปลสัญญาที่เป็นภาษาตปท. ก็ได้ แต่ยอมรับเฉพาะ ภาษาอังกฤษ
(กำหนดข้อ 23 ) เพราะภาษาอังกฤษ เป็นภาษกลางของการค้าระหว่างประเทศ โดยไม่ต้องแปลในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
- มีวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง
- ลำดับกม.ในการใช้ ข้อกำหนด พรบ. วิแพ่ง/วิอาญา /วิแขวง
- ม.27 ต้องนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่อง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ วันพิจารณาวันแรกเรียกว่า “วันกำหนดแนวทางในการสืบพยาน”
ม.28 สืบพยานหลักฐานไว้ก่อนฟ้องคดีได้ ม.34 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่มา ถือว่า ทราบวันนัด
- ขอขยาย/ย่นระยะเวลาได้ตามค.จำเป็น โดยไม่ต้องใช้ ปวพ. การอุทธรณ์ ต้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ภายใน 1 เดือน
- ข้อกำหนดที่อธิบดีศาล IP กำหนดขึ้น อาศัยอำนาจตามความใน ม.30 พรบ.ศาลIP
ข้อ3 การแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศชต.แก้ได้ ไม่ต้องอุทธรณ์
ข้อ4 กระบวนพิจารณาตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ เพราะไม่ได้มองว่า กระบวนพิจารณาเป็นเรื่อง ค.สงบเรียบร้อยของปชช. จึงมีการเอาเทคโนโลยี
เข้ามาใช้ แก้ปัญหา คำฟ้องเคลือบคลุม ถ้าศาลไม่เข้าใจเรียกมาถามได้
ข้อ 12-19 ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง วิแพ่งเป็นเรื่องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพพษ การใช้มาตรการตาม วิแพ่ง อาจก่อให้เกิดค.เสียหายที่
ไม่สามารถเยียวยาได้ แต่ตามข้อนี้ เป็นการหยุดการกระทำที่จะก่อให้เกิดค.เสียหาย โดยจะต้องมีการวางหลักประกันค.เสียหายก่อนศาลสั่ง
ถ้าศาลสั่งแล้วไม่ไปฟ้อง คำสั่งสิ้นผลใน 15 วัน
ข้อ 20-24 การขอสืบพยานไว้ก่อน ให้เอกชนฝ่ายหนึ่งเข้าไปในเคหสถาน ของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อไปเอาหลักฐานมาได้ โดยไม่ต้องใช้จนท.รัฐ
แต่ต้องมีการวางประกันค .เสียหาย
- พิจารณาเป็นการลับและห้ามโฆษณา เพราะอาจเสียหายต่อชื่อเสียง
- มี วันกำหนดแนวทางในการสืบพยาน แทน วันชี้สองสถาน ศาลจะทำการบันทึกคำเบิกความแทนการซักถาม เมื่อทุกคนได้อ่านหมดแล้ว ถามค้านได้เลย
- วันกำหนดแนวทางในการสืบพยาน จะมี 1. การไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความ / การอนุญาโตตุลาการ แทน
2. กำหนดระยะเวลาทั้งหมดในการดำเนินคดี และขั้นตอนในการดำเนินคดี ตกลงในเรื่องทางเทคนิค พยานผู้เชี่ยวชาญเอาคนเดียวกัน
- การทบทวนค.จำของพยาน ใช้บันทึกช่วยจำได้ (Reflex Memory)
- การเสนอบันทึกยื่นได้ ใช้แทนการซักถาม
-หากคู่ความอยู่ ตปท. สามารถ บันทึกถ้อยคำที่สาบานตนในตปท.(Affidavit) , การสืบพยานทางจอภาพ , บินมาเบิกความ ยื่นบันทึกคำเบิกความ
การพิจารณาคดี ทำที่การสื่อสาร โดยทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ คู่ความเสียค่าใช้จ่ายเอง
- บันทึกถ้อยคำที่สาบานตนในตปท. ถือเป็นการเบิกความในศาลไทย มีผลคือ 1.เป็นการพิจารณาโดยเปิดเผย หากละเมิดอำนาจศาล ก็ลงโทษได้
2. ค่าใช้จ่ายในการเบิกความ ไม่ถือเป็นค่าฤชาธรรมเนียม แม้ชนะก็ตกเป็นพับ
- การสืบพยาน - การซักถาม ใช้บันทึกถ้อยคำ
- การถามค้าน ถามด้วยวาจา
- การถามติง ถามด้วยวาจา
- ยอมรับฟ้งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ นับฟ้งพยานบอกเล่าแเต่ มีน้ำหนักน้อย
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การเตรียมคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- กม.ที่เกี่ยวข้อง คือ กม.ปปช. + พรบ.ประกอบรธน. วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง + ข้อกำหนด (ออกตามความใน ม.18 ของพรบ.ดังกล่าว)
- ลำดับชั้นของกม. = วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้อกำหนด ปวพ.+ปวอ.
- “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ได้แก่ นายกรัฐมนตรี , รมต., สส., สว. , ขรก.ทางการเมืองอื่น ตาม พรบ.ขรก.การเมือง , ขรก.รัฐสภาฝ่ายการเมือง,ผู้ว่ากทม.,
รองผู้ว่ากทม., ผู้บริหารและสมาชิกเทศบาลนคร, ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องมีรายได้ตามที่ปปช.กำหหนด
“ผู้เสียหาย” คือ ผู้ที่เสียหายจากการกระทำอันเป็นเหตุให้ จนท.ร่ำรวยผิดปกติ /ทุจริตต่อหน้าที่
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” คือ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- การนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องผ่าน ปปช.ชี้มูลก่อน
- เขตอำนาจศาลฎีกา ม.9 1) คดีที่มีมูลกล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรี , รมต., สส., สว. , ขรก.ทางการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ /กระทำผิดต่อตำแหน่ง
หน้าที่ราชการตามปอ. / กระทำผิดต่อหน้าที่ที่ตนดำรงอยู่ /ทุจริตต่อกม.อื่น (ส่วนขรกรัฐสภาฝ่ายการเมือง เมื่อ ปปช.ชี้มูลแล้วไปศาลยตธ.)
2) คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาบุคคลตามข้อ 1) ว่าเป็นตัวการ, ผู้ใช้, ผู้สนับสนุน กระทำความผิด
3) ถูกยกเลิกไปโดยยกเลิก รธน.
4) ผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น มีท/สเพิ่มขึ้นผิดปกติ
- ระบบการพิจารณาคดีของศาล เป็นระบบไต่สวน ศาลยึดรายงานของปปช.เป็นหลักในการพิจารณา อาจไต่สวนหา ข้อเท็จจริง ตามที่เห็นสมควร
ผสห. ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือกล่าวหามาที่ปปช.
- ปปช. มี 9 คน ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นไต่สวนในแต่ละข้อกล่าวหา ทนายความต้องมีการตั้งคณะผู้ทำงานขึ้นมาเหมือนกัน จึงจะต่อสู้กับ ปปช.ได้
ทนายความต้องศึกษา และต่อสู้จากแฟ้ม /รายงานที่ปปช.กำหนด
- กระบวนการพิจารณา เมื่อปปช.ชี้มูลแล้ว มีเวลา 14 วัน ต้องส่งรายงานทั้งหมดให้แก่ อัยการสูงสุด (อสส.) อสส.มีเวลา 30 วัน แล้วต้องฟ้องคดี
อสส.เท่านั้น อาจเห็นว่า รายงานของปปช. ยังไม่สมบูรณ์ ต้องแจ้งให้ ปปช. ทราบ เริ่มนับจำนวน 14 วัน ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง ปปช. กับ อัยการ
เมื่อสมบูรณ์แล้ว ส่งคืนมาให้ อสส. อสส. นำคดีขึ้นสู่ศาล (ไม่มีกำหนดเวลา) ถ้าหาข้อยุติร่วมกันไม่ได้ ให้ ปปช./ทนายความที่ได้รับมอบหมาย ฟ้องคดีได้
ภายใน 14 วัน นับ แต่วันที่มีมติว่าตกลงกันไม่ได้
- การนำคดีขึ้นสู่ศาล ยังไม่มีมติองค์คณะ แต่มีผู้พพษ ประจำแผนกทำหน้าที่ รับฟ้องไว้ รอฟังคำสั่ง หลังจากตั้งองค์คณะแล้ว ( ผู้พพษ ประจำแผนกรับฟ้องไว้
ในทางธุรการ ผู้พพษองค์คณะรับฟ้องไว้ในทางเนื้อหา) ( ถ้าฟ้องไม่ทัน 14 วัน ก็ฟ้องได้ภายในอายุความ แต่อาจเกิดปด.ข้อต่อสู้ทางกม.)
- แม้ทนายความฟ้อง ก็ไม่ต้องมีการไต่สวนมูลฟ้อง เพราะผ่านการไต่สวนชั้นปปช.มาแล้ว
- ศาลฎีกา ต้องเรียกประชุมใหญ่ภายใน 14 วัน เพื่อเลือกองค์คณะ บุคคลที่มีสิทธิเป็นองค์คณะ ต้องเป็น ผู้พพษศาลฎีกา ขึ้นไป โดยเลือก 9 คนโดยการลงคะแนนลับ
เลือก 1 คน เป็นเจ้าของสำนวน จาก 9 คน
- เจ้าของสำนวนเรียกประชุมองค์คณะ ส่งสำเนาคำฟ้องที่ยื่นฟ้องมา เมื่อสั่งประทับฟ้องก็ นัดพิจารณาคดีครั้งแรก กำหนดวันนัด แจ้งคู่ความ
- วันนัดพิจารณาคดีครั้งแรก ศาลจะอ่านและอธิบายฟ้องให้ จล.ฟัง ถามจล.ว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ และบันทึกคำให้การ (ทนายความต้องเตรียมคำให้การให้จล.
ในทุกแง่มุม เพื่อให้เกิดปด. ในการไต่สวนต่อไป)
- วันตรวจพยานหลักฐาน ก่อนวันตรวจไม่น้อยกว่า 7 วัน คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยาน ( ต้องเกิดการโต้แย้งพยานหลักฐาน ศาลจึงทำการไต่สวน ไม่เช่นนั้น
ศาลจะยึดตามสำนวน ปปช.)
- เมื่อทำการโต้แย้งเสร็จ ต้องเสนอแนวทางในการสืบพยานด้วย + ต้องเสนอคำถามมาด้วย ( คนถามพยานคือ ศาล)
- กระบวนพิจารณาต้องเปิดเผย ต่อมาศาลจะทำการประชุม ว่าจะให้ทำการไต่สวนหรือไม่ และให้ไต่สวนไปในทางใด (หากแนวทางดี ศาลจะทำการไต่สวนเสมอ)
- ศาลนัดไต่สวน ศาลจะทำการไต่สวน ( ศาลจะถามเองทั้งหมด ไม่มีการซักถาม ถามค้าน ถามติงใดๆ มีเพียง คำถามของศาล และคำถามเพิ่มเติม)
- คำถามเพิ่มเติม ถามด้วยคำถามนำได้ ( คำพยานไม่มีการอ่านให้ฟัง ไม่ต้องมีการลงชื่อ)
- เมื่อศาลทำการไต่สวนเสร็จ มีคำพพษ 2 ตอน คือ คำวินิจฉัยส่วนตน (9 คน) แล้วเอามาให้เจ้าของสำนวน มีการอภิปราย เจ้าของสำนวนดูตามมติสัยงข้างมาก
- คำพพษ กลาง ทำให้เสร็จภายใน 7 วัน นับแต่วันไต่สวนเสร็จ จากนั้นจึงอ่าน คำพพษให้ จล. ฟัง
- คำวินิจฉัยส่วนตน มีประกาศไว้ที่ศาลฎีกา คำพพษ กลางต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา
- ในการดำเนินคดี มีแบบพิมพ์ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ไม่ใช้แบบฟอร์ม ของศาลยตธ.)
การดำเนินคดียาเสพติด
- มีการแก้ไข กม.ยาเสพติด โดยแก้โทษขั้นต่ำจาก 5 ปีเป็น 4 ปี แต่แก้โทษปรับให้หนักขึ้น และบังคับศาลว่าต้องลงโทษจำคุกและปรับ
- การปรับโทษปรับให้หนักขึ้น เป็น การทำลายฐานะทาง ศก.ของผู้กระทำผิด ส่วนโทษจำคุกนั้น จาก 5 ปีเป็น 4 ปี เนื่องจากต้องการให้หลุดพ้นจากการ
ต้องสืบพยานประกอบเสมอ แม้จล.จะให้การรับสารภาพ ตาม ปวอ.
- ข้อหาเสพ หลักฐานอยู่ที่ตัวผู้เสพ ข้อหาจำหน่าย หลักฐาน คือ ธนบัตรของกลาง
- ตย. คำฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด วิธีการต่อสู้ คือ ในขั้นแรก ต้องสืบหาข้อเท็จจริง ถามลูกความว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ ขั้นที่สอง ต้องไปดูสถานที่เกิดเหตุ
เพื่อดูว่าพยานหลักฐานโจทก์ มีค.น่าเชื่อถือหรือไม่ ขั้นที่สาม ต้องนำสืบถึงประวัติค.ประพฤติของจล. ว่าเคยมีค.เกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือไม่
- พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ม.4 คำนิยาม “ผลิต” คือ การเพาะปลูก ทำผสมปรุง แปรสภาพ “จำหน่าย” คือ ขาย แจก แลกเปลี่ยน ให้ นำเข้า
ส่งออก สั่งเข้ามา หรือสั่งออกไป “เสพ” คือ กิน สูดดม ฉีด “หน่วยการใช้” คือ การเสพแต่ละครั้งแต่ละคน
- ประเภทยาเสพติดให้โทษ 5 ประเภท
1. เฮโรอีน ,ยาบ้า,ยาอี,ยาไอซ์
2. มอร์ฟีน,ฝิ่น,โคเคน
3. ยาแก้ไอ
4. หัวเชื้อในการผลิต
5. กัญชา ,กระท่อม
- ม.5 ห้ามผลิต จำหน่าย ส่งออก นำเข้า หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดประเภทที่1
- มีข้อสันนิษฐานว่าเด็ดขาดเพื่อจำหน่าย = มีไว้ในครอบครอง 15 หน่วยการใช้
- โทษจำคุก ในการจำหน่าย คือ จำคุกตลอดชีวิต + โทษปรับ นำเข้าเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต
- การผ่อนคลายโทษ ถ้าการกระทำไม่ร้ายแรง + ฐานะของผู้กระทำผิด พิจารณาประกอบกัน ให้ดุลพินิจศาลในการลงโทษปรับน้อยกว่าที่กม.กำหนดไว้
แต่ กม.บังคับว่าศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับ
- กม.ให้อำนาจตำรวจในการตรวจค้นสถานที่โดยไม่มีหมายศาล แต่ต้องมีบัตร หรือ การตรวจปัสสาวะ
- การยึดทรัพย์ ยาเสพติดต้องริบ ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิดต้องริบ (รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โทรศัพท์มือถือ)
ส่วนเงินที่ได้จาการขายในงวดก่อน ที่ไม่ใช่จาการขายในงวดนี้ ก็ยึดไม่ได้ ริบได้ ต้องเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง ดังนั้น รถที่ใช้ในการขนยาบ้า
ริบไม่ได้ แต่ถ้ามีการดัดแปลงสภาพรถเพื่อใช้ในการขนส่งยาบ้าโดยเฉพาะริบได้
- การกระทำกรรมเดียว/ หลายกรรม เช่น มี 10 เม็ด ขาย 3 เม็ด ผิด 2 กระทง แต่หากมี 10 เม็ด ขาย 10 เม็ด คิดเป็น 1 กระทง