มาตรา 91 เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอพร้อมทั้งร่างข้อบังคับแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติถูกต้องตาม มาตรา 88 ข้อบังคับถูกต้องตาม มาตรา 90 และวัตถุที่ประสงค์ถูกต้องตาม มาตรา 86 วรรคสอง และไม่ขัดต่อความสงบ เรียบร้อยของประชาชนให้นายทะเบียน รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดง การจดทะเบียนแก่สหภาพแรงงานนั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่าคำขอหรือร่างข้อบังคับไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งให้ มีคำสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขเพิ่มเติมถูกต้องแล้วให้รับจด ทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแก่สหภาพแรงงานนั้น ถ้านายทะเบียนเห็นว่า ไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากวัตถุที่ประสงค์ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับ จดทะเบียน และแจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียนไปยังผู้ขอจดทะเบียนพร้อมด้วย เหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนไปยังผู้ขอจดทะเบียนโดยมิชักช้า ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีได้โดย ทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ผู้อุทธรณ์มีสิทธิ ดำเนินการต่อไป เพื่อให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยได้ มาตรา 92 ให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนสหภาพแรงงานใน ราชกิจจานุเบกษา มาตรา 93 ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานจัดให้มีการประชุมใหญ่ สามัญครั้งแรกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่จดทะเบียน เพื่อเลือกตั้งคณะ กรรมการและมอบหมายการทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการและอนุมัติร่างข้อบังคับ ที่ได้ยื่นแก่นายทะเบียนตาม มาตรา 91 เมื่อที่ประชุมใหญ่ได้เลือกตั้งคณะกรรมการและอนุมัติร่างข้อบังคับแล้วให้ นำสำเนาข้อบังคับและรายชื่อ ที่อยู่ อาชีพ หรือวิชาชีพของกรรมการไปจด ทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ มาตรา 94 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสหภาพแรงงานจะกระทำได้ โดยมติของที่ประชุมใหญ่ และต้องนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ ที่ประชุมใหญ่ลงมติ การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง จะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อนาย ทะเบียนได้รับจดทะเบียนแล้ว ให้นำ มาตรา 91 มาใช้บังคับแก่การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดย อนุโลม มาตรา 95 ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานได้จะต้องเป็นลูกจ้าง ของนายจ้างคนเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน หรือเป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานในกิจการประเภทเดียวกันกับผู้ขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและมีอายุ ตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานตามวรรคหนึ่ง ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้าง การลดค่าจ้าง การ เลิกจ้างการให้บำเหน็จหรือการลงโทษ จะเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานที่ ลูกจ้างอื่นได้จัดตั้งหรือเป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ และลูกจ้างอื่นจะเป็น สมาชิกในสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาดังกล่าวได้จัดตั้งขึ้นหรือ เป็นสมาชิกอยู่ไม่ได้ *หมายเหตุ:- มาตรานี้ให้ยกเลิกความในมาตราต่อไปนี้ และให้ใช้ข้อความ ต่อไปนี้แทนใน มาตรา 4 ของพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 ประกาศในราชกิจจาฯ (ฉบับพิเศษ) เล่ม 108 ตอนที่ 69 ลงวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2534 มาตรา 96 สมาชิกของสหภาพแรงงานมีสิทธิขอตรวจสอบทะเบียนสมาชิก เอกสารหรือบัญชี เพื่อทราบการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานได้ในเวลา เปิดทำการตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ในการขอตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานต้องให้ ความสะดวกตามสมควร มาตรา 97 สมาชิกภาพของสมาชิกสหภาพแรงงานสิ้นสุดลงเมื่อ ตาย ลาออก ที่ประชุมใหญ่ให้ออก หรือตามที่กำหนดในข้อบังคับของสหภาพแรงงาน มาตรา 98 เพื่อประโยชน์ของสมาชิกของสหภาพแรงงานให้สหภาพ แรงงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) เรียกร้อง เจรจาทำความตกลงและรับทราบคำชี้ขาด หรือทำข้อ ตกลงกับนายจ้าง หรือสมาคมนายจ้างในกิจการของสมาชิกได้ (2) จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ ภายใต้ บังคับของวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงาน (3) จัดให้มีบริการสนเทศเพื่อให้สมาชิกมาติดต่อเกี่ยวกับการจัดหางาน (4) จัดให้มีบริการการให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหา หรือขจัดข้อแย้ง เกี่ยวกับการบริหารงานและการทำงาน (5) จัดให้มีการให้บริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินหรือทรัพย์สิน เพื่อ สวัสดิการของสมาชิกหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ ตามที่ที่ประชุมใหญ่ เห็นสมควร (6) เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิก และเงินค่าบำรุงตามอัตราที่ กำหนดในข้อบังคับของสหภาพแรงงาน มาตรา 99 เมื่อสหภาพแรงงานปฏิบัติการดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ของ สมาชิกอันมิใช่เป็นกิจการเกี่ยวกับการเมือง ให้ลูกจ้าง สหภาพแรงงาน กรรมการ อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานได้รับการยกเว้น ไม่ต้องถูกกล่าวหาหรือฟ้องร้องทางอาญาหรือทางแพ่ง (1) เข้าร่วมเจรจาทำความตกลงกับนายจ้าง สมาคมนายจ้าง ลูกจ้าง สหภาพแรงงานอื่น สหพันธ์นายจ้าง หรือสหพันธ์แรงงาน เพื่อเรียกร้องสิทธิ หรือประโยชน์ที่สมาชิกสมควรได้รับ (2) นัดหยุดงาน หรือช่วยเหลือ ชักชวนหรือสนับสนุนให้สมาชิกนัดหยุด (3) ชี้แจงหรือโฆษณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงาน (4) จัดให้มีการชุมนุมหรือเข้าร่วมโดยสงบในการนัดหยุดงาน ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นความผิดทางอาญาในลักษณะความผิดเกี่ยวกับการก่อให้ เกิดภยันตรายต่อประชาชน เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เกี่ยวกับเสรีภาพและ ชื่อเสียงเกี่ยวกับทรัพย์และความผิด ในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำ ความผิดทางอาญาในลักษณะดังกล่าว มาตรา 100 ให้สหภาพแรงงานมีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการ และเป็นผู้แทนของสหภาพแรงงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการ นี้คณะกรรมการจะมอบหมาย ให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งอนุกรรมการ หรืออนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงาน ตามที่มอบหมายได้ มาตรา 101 ผู้ซึ่งจะได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือ อนุกรรมการตาม มาตรา 100 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น (2) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (3) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี มาตรา 102 ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไป ดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้าง ในการเจรจาการไกล่ เกลี่ย และการชี้ขาดข้อพิพาท แรงงาน และมีสิทธฺลาเพื่อให้ร่วมประชุม ตามที่ทางราชการกำหนดได้ทั้งนี้ให้ลูกจ้างดังกล่าว แจ้งให้นายจ้างทราบ ล่วงหน้าถึงเหตุที่ลา โดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน มาตรา 103 สหภาพแรงงานจะกระทำการดังต่อไปนี้ ได้ก็แต่โดยมติ ของที่ประชุมใหญ่ (1) แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ (2) ดำเนินกิจการอันอาจกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสีย ของสมาชิก เป็นส่วนรวม (3) เลือกตั้งกรรมการ เลือกตั้งผู้สอบบัญชี รับรองงบดุล รายงาน ประจำปีและงบประมาณ (4) จัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสวัสดิการของสมาชิกหรือเพื่อสาธารณ- ประโยชน์ (5) เลิกสหภาพแรงงาน (6) ควบสหภาพแรงงานเข้ากัน หรือ (7) ก่อตั้งสหพันธ์แรงงานหรือเป็นสมาชิกของสหพันธ์แรงงาน (8) การนัดหยุดงานเมื่อมีข้อพิพาทแรงงาน ที่ตกลงกันไม่ได้ตาม มาตรา 122 วรรคสาม ทั้งนี้ต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดของ สหภาพแรงงานและต้องลงคะแนนเสียงเป็นการลับ มาตรา 104 สหภาพแรงงานต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่อธิบดี กำหนด และเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานพร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้ในเวลาทำการ ให้สหภาพแรงงานประกาศวันและเวลาเปิดทำการไว้ที่สำนักงาน มาตรา 105 ให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายมีอำนาจ (1) เข้าไปในสำนักงานของสหภาพแรงงาน ในเวลาทำการเพื่อ ตรวจสอบกิจการของสหภาพแรงงาน (2) สั่งให้กรรมการ พนักงานหรือลูกจ้างของสหภาพแรงงาน ส่งหรือ แสดงเอกสาร หรือบัญชีของสหภาพแรงงานเพื่อประกอบการพิจารณากรณีที่มี ปัญหาเกิดขึ้น (3) สอบถามบุคคลใน (2) หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาเพื่อสอบถาม หรือให้ชี้แจงข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน มาตรา 106 นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่ง หรือคณะ กรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่งได้เมื่อปรากฏว่า (1) กระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานหรือ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (2) ดำเนินกิจการไม่ถูกต้อง ตามวัตถุที่ประสงค์ของสหภาพแรงงานอัน เป็นการขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรืออาจเป็นภัย แก่เศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ หรือ (3) ให้หรือยินยอมให้ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งมิใช่กรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการ ของสหภาพแรงงาน คำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องและ สหภาพแรงงานทราบโดยมิชักช้า มาตรา 107 ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งตาม มาตรา 106 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อ รัฐมนตรี โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับ คำสั่ง ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามสิบวันนับ แต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ผู้อุทธรณ์มีสิทธิดำเนิน การต่อไป เพื่อให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยได้ มาตรา 108 สหภาพแรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบบัญชีทุกปี และ ต้องเสนองบดุลพร้อมด้วยรายงานการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีต่อที่ประชุมใหญ่ เมื่อที่ประชุมใหญ่รับรองงบดุลและรายงานการสอบบัญชีแล้ว ให้ส่ง สำเนาหนึ่งชุดให้แก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่รับรอง มาตรา 109 สหภาพแรงงานตั้งแต่สองสหภาพขึ้นไปที่มีสมาชิกเป็น ลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการ ประเภทเดียวกันหรือไม่อาจควบเข้ากันเป็นสหภาพแรงงานเดียวกันได้ สหภาพแรงงานตั้งแต่สองสหภาพขึ้นไปที่มีสมาชิกเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานใน กิจการประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันหรือไม่ อาจควบเข้ากันเป็นสหภาพแรงงานเดียวกันได้ การควบคุมสหภาพแรงงานเข้ากันตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้อง ได้รับมติของที่ประชุมใหญ่ ของแต่ละสหภาพด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของ จำนวนสมาชิกทั้งหมดและต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ในการขอความเห็นชอบ จากนายทะเบียนให้ส่งสำเนารายงานการ ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานซึ่งลงมติให้ควบเข้ากันไปด้วย มาตรา 110 ให้นำ มาตรา 77 มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 และ มาตรา 81 มาใช้บังคับแก่การควบสหภาพแรงงานเข้ากันโดยอนุโลม มาตรา 111 ให้นำ มาตรา 82 มาตรา 83 มาตรา 84 และ มาตรา 85 มาใช้บังคับแก่การเลิกสหภาพแรงงานโดยอนุโลม |