หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ


735 ผู้ชม


หมวด 8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 112 สมาคมนายจ้างตั้งแต่สองสมาคมขึ้นไปที่มีสมาชิกประกอบ กิจการประเภทเดียวกันอาจรวมกันจดทะเบียนจัดตั้ง เป็นสหพันธ์นายจ้างเพื่อ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมนายจ้าง และคุ้มครองผลประโยชน์ ของสมาคมนายจ้างและนายจ้างได้
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 113 สหภาพแรงงานตั้งแต่สองสหภาพขึ้นไปและแต่ละสหภาพ แรงงาน
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ (1) มีสมาชิกเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างซึ่ง ทำงานในกิจการประเภทเดียวกันหรือไม่ หรือ
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ (2) มีสมาชิกเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานในกิจการประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะ เป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันหรือไม่ อาจรวมกันจดทะเบียนจัดตั้งเป็น สหพันธ์แรงงานเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างสหภาพแรงงานและ ผู้คุ้มครองผลประโยชน์ของสหภาพแรงงานและลูกจ้าง
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 114 การจัดตั้งหรือการเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์นายจ้างหรือ สหพันธ์แรงงานตาม มาตรา 112 หรือ มาตรา 113 จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับ ความเห็นชอบจากสมาชิกด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดของแต่ละสมาคมนายจ้างหรือแต่ละสหภาพแรงงาน
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ การออกเสียงลงคะแนนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ ว่าด้วยวิธีการจัดการสมาคมนายจ้างหรือข้อบังคับว่าด้วยวิธีการจัดการสหภาพ แรงงาน
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 115 ให้สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงานที่ได้จดทะเบียนแล้ว เป็นนิติบุคคล
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 116 สมาคมนายจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหพันธ์นายจ้างและสหภาพ แรงงานซึ่งเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงานมีสิทธิส่งผู้แทนไปร่วมประชุมและดำเนิน การของสหพันธ์นายจ้างหรือสหพันธ์แรงงานได้ตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้ในข้อ บังคับว่าด้วยวิธีการจัดการสหพันธ์นายจ้าง หรือข้อบังคับว่าด้วยวิธีการจัดการ สหพันธ์แรงงาน
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 117 คณะกรรมการสหพันธ์นายจ้างให้เลือกตั้งจากผู้แทนของ สมาคมนายจ้างซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์นายจ้างนั้น
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ คณะกรรมการสหพันธ์แรงงานให้เลือกตั้ง จากผู้แทนของสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์แรงงานนั้น
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 118 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสมาคมนายจ้างในหมวด 6 และ สหภาพแรงงานในหมวด 7 มาใช้บังคับแก่สหพันธ์นายจ้าง และสหพันธ์ แรงงานโดยอนุโลม
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 119 สมาคมนายจ้างหรือสหพันธ์นายจ้างไม่น้อยกว่าห้าแห่ง อาจจัดตั้งสภาองค์การนายจ้าง เพื่อส่งเสริมการศึกษาและส่งเสริมการ แรงงานสัมพันธ์ได้
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ สภาองค์การนายจ้างต้องมีข้อบังคับ และต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ให้สภาองค์การนายจ้างเป็นนิติบุคคล
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสมาคมนายจ้างในหมวด 6 และสหพันธ์นายจ้าง ในหมวด 8 มาใช้บังคับแก่สภาองค์การนายจ้างโดยอนุโลม
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 120 สหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่าสิบห้าแห่ง อาจจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างเพื่อส่งเสริมการศึกษาและส่งเสริมการแรงงาน สัมพันธ์ได้
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ สภาองค์การลูกจ้างต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้สภาองค์การลูกจ้างเป็นนิติบุคคล
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสหภาพแรงงานในหมวด 7 และสหพันธ์แรงงานใน หมวด 8 มาใช้บังคับแก่สภาองค์การลูกจ้างโดยอนุโลม
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ
มาตรา 120ทวิ กรรมการสมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้างและสภา องค์การนายจ้างซึ่งนายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการกระทำ การฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ จะดำรงตำแหน่ง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้างและสภาองค์การนายจ้างคราวต่อไปได้เมื่อ พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
หมวด8 สหพันธ์นายจ้างและสหพันธ์แรงงาน มาตรา 112-120ทวิ กรรมการสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้าง ซึ่งนายทะเบียน สั่งให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัตินี้จะดำรงตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน และสภาองค์การลูกจ้าง คราวต่อไปได้เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียน สั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

อัพเดทล่าสุด