:: พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตราที่ 103-104 บทเฉพาะกาล มาตรา 103 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไป นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้บังคับแก่กิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป พระราชบัญญัตินี้จะใช้บังคับแก่นายจ้างที่มีลูกจ้างน้อยกว่าสิบคนในท้องที่ใด และเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา [ความในวรรคสามของ มาตรา 103 เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537] มาตรา 104 ให้ดำเนินการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ประโยชน์ทดแทนในกรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ในกรณีทุพพลภาพ และในกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และในกรณีคลอดบุตร นับแต่วันที่บทบัญญัติ หมวด 2 ของลักษณะ 2 ใช้บังคับ การจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณี ชราภาพ จะเริ่มดำเนินการเมื่อใดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ทั้งนี้ต้องไม่ช้ากว่าวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 สำหรับการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อการให้ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจะเริ่ม ดำเนินการเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา [ความในวรรคสองของ มาตรา 104 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537] :: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี อัตราค่าธรรมเนียม (1) ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน ประกันสังคม ฉบับละ 50 บาท (2) ใบแทนบัตรประกันสังคม ฉบับละ 10 บาท อัตราเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติ อัตราเงินสมทบ ผู้ออกเงินสมทบ อัตราเงินสมทบเป็นร้อยละ ของค่าจ้างของผู้ประกันตน 1. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และคลอดบุตร (1) รัฐบาล 1.5 (2) นายจ้าง 1.5 (3) ผู้ประกันตน 1.5 2. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์ บุตรและชราภาพ (1) รัฐบาล 3 (2) นายจ้าง 3 (3) ผู้ประกันตน 3 3. เงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (1) รัฐบาล 5 (2) นายจ้าง 5 (3) ผู้ประกันตน 5 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มี ประกาศใช้พระราช บัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2497 มาเป็นเวลานานแล้วแต่ในขณะนั้นสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ยังไม่อำนวยให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับ ปัจจุบันนี้การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและสังคมได้ ก้าวหน้าไปมาก สมควรสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่น โดยจัดตั้งกองทุนประกัน สังคมขึ้น เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างและบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และสำหรับกรณีว่างงานซึ่งให้หลักประกันเฉพาะลูกจ้าง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 38 ผู้ใดมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนในฐานะผู้ประกันตน ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับอยู่เพียงใด ก็ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนนั้นต่อ ไปจนครบตามสิทธิ มาตรา 39 ลูกจ้างชั่วคราวของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการ ส่วนท้องถิ่นที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้ส่งเงินสมทบมาแล้ว เท่าใด ให้ลูกจ้างชั่วคราวนั้นมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามบทบัญญัติใน หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 และ หมวด 5 ของ ลักษณะ 3 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต่อไปอีก หกเดือนนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นำความใน มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับลูกจ้างชั่วคราวที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม มาตรา 40 เพื่อประโยชน์ในการคำนวณระยะเวลาการส่งเงินสมทบตามพระราช บัญญัตินี้ เงินสมทบของแต่ละเดือนไม่ว่าจะมีจำนวนกี่วันและไม่ว่าจะได้หักไว้และได้นำส่ง เดือนละกี่ครั้งก็ตาม ถ้าได้ส่งหรือได้ถือว่าส่งเข้ากองทุนแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ ถือว่ามีระยะเวลาในการจ่ายเงินสมทบเท่ากับหนึ่งเดือน มาตรา 41 บรรดาเงินที่นายจ้างหรือผู้ประกันตนมีสิทธิเรียกคืนก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าไม่มีผู้ใดมายื่นคำขอต่อสำนักงานเพื่อขอเงินดังกล่าวคืนภายในหนึ่งปีนับแต่ วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ตกเป็นของกองทุน มาตรา 42 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกัน สังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีข้อขัดข้อง และมีปัญหาในทางปฏิบัติเกิดขึ้นหลาย ประการ ทำให้ผู้ประกันตนไม่ได้รับสิทธิประโยชน์สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย นอกจากนั้น วิธีปฏิบัติบางเรื่องในพระราชบัญญัติดังกล่าวยังมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน เกิดภาระ แก่นายจ้าง และไม่เอื้ออำนวยประโยชน์และการให้บริการแก่นายจ้างและผู้ประกันตน สมควรแก้ไข ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.2537/63ก/3/30 ธันวาคม 2537] พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 *หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 38 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณี ตาย ต่อไปอีกหกเดือนนับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และ มาตรา 41 วรรคสาม ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 38 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยอนุโลม ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือผู้ประกันตนมิให้ได้รับความ เดือดร้อนชั่วระยะเวลาที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง หรือสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน แล้วแต่กรณี สมควรกำหนดให้ขยายระยะเวลาการมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนภายหลังลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกัน ตนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกอบกับบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับ สิทธิของผู้ประกันตนในการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณี ว่างงานยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกันตน และการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของรัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 ยังไม่สอดคล้องกับความสามารถในการออกเงินสมทบและสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ [รก.2542/22ก/6/31 มีนาคม 2542] |