พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 1-6 :: บทนิยาม มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541" มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิก (1) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 (2) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 (ฉบับที่ 1 ) พ.ศ.2533 บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วใน พระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้แทน มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ (1) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วน ท้องถิ่น (2) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ในอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง จะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับ พระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่ง ประเภทใดก็ได้ มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ "นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่าย ค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง (1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง (2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจ กระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำ การแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย (3) ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง โดย มอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิด ชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งก็ดี มอบหมายให้บุคคลหนึ่ง บุคคลใดเป็นผู้จัดการหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจ จัดหางานก็ดี โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดใน กระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการให้ ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วย "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร "ผู้ว่าจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงว่าจ้างบุคคลอีกบุคคลหนึ่งให้ ดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดเพื่อประโยชน์แก่ตน โดย จะจ่ายสินจ้างตอบแทนผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น "ผู้รับเหมาชั้นต้น" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับจะดำเนินงานทั้งหมด หรือบางส่วนของงานใดจนสำเร็จประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง "ผู้รับเหมาช่วง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำสัญญากับผู้รับเหมาชั้นต้น โดยรับจะดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบ ของผู้รับเหมาชั้นต้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้าง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่ง ทำสัญญากับผู้รับเหมาช่วงเพื่อรับช่วงงานในความรับผิดชอบของผู้รับเหมาช่วง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะรับเหมาช่วงกันกี่ช่วงก็ตาม "สัญญาจ้าง" หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา ระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้าง ตกลงจะให้ค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ "วันทำงาน" หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ "วันหยุด" หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำ สัปดาห์หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี "วันลา " หมายความว่า วันที่ลูกจ้างลาป่วย ลาเพื่อทำหมัน ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ลาเพื่อรับราชการทหาร ลาเพื่อการฝึกอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ หรือลาเพื่อคลอดบุตร "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่าย เป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำ งานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะ เวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำ งานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างให้แก่ ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับ ตามพระราชบัญญัตินี้ "ค่าจ้างในวันทำงาน" หมายความว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำ ทำงานเต็มเวลาการทำงานปกติ "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการ ค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน" หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะ กรรมการค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ "การทำงานล่วงเวลา" หมายความว่า การทำงานนอกหรือเกิน เวลาทำงานปกติหรือเกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันที่นายจ้างตกลงกัน ตาม มาตรา 23 ในวันทำงานหรือวันหยุด แล้วแต่กรณี "ค่าล่วงเวลา" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็น การตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน "ค่าทำงานในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง เป็นการตอบแทนการทำงานในวันหยุด "ค่าล่วงเวลาในวันหยุด" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด "ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อ เลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง "ค่าชดเชยพิเศษ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะมีเหตุกรณีพิเศษที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ "เงินสะสม" หมายความว่า เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนสงเคราะห์ ลูกจ้าง "เงินสมทบ" หมายความว่า เงินที่นายจ้างสมทบให้แก่ลูกจ้างเพื่อ ส่งเข้าสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง "พนักงานตรวจแรงงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ ปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ "อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญัตินี้ มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการ สังคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจแต่งตั้ง พนักงานตรวจแรงงาน กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติ การตามพระราชบัญญัตินี้ การแต่งตั้งพนักงานตรวจแรงงาน จะกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ และเงื่อนไขในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยก็ได้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้ |