คมความคิด เกาะติดสถานการณ์
มุสลิมไทย
โพสต์
หน้าแรก
ข่าวเด่น
ข่าวโลกมุสลิม
ข่าวเจาะประเด็นโลก
ข่าวโลกอาหรับ
ข่าวกรรมการกลางฯ
ข่าวมุสลิมไทย
คอลัมนิสต์
ผู้หญิง
ปัตตานีดารุสลาม
ประเด็นร้อน
รูปภาพ
คลิป
เวลาละหมาด
คลังความรู้
อิสลามศึกษา
คลังความรู้
คลังสุขภาพ
ร้านอาหาร
แหล่งท่องเที่ยว
แฟชั่นมุสลิม
กูรูมุสลิมไทย
อัลกุรอาน
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อโฆษณา
ติดต่อสำนักข่าว
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลัก
ข่าวที่น่าสนใจ
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 53-77 หมวด 5 ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
776
ผู้ชม
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
มาตราที่ 53-77
:: หมวด 5 ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
มาตรา
53 ในกรณีที่งานมีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกัน และปริมาณเท่ากัน ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเท่าเทียมกันไม่ว่า ลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง
มาตรา
54 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินผลประโยชน์อื่นเนื่องใน การจ้าง บรรดาที่จ่ายเป็นเงินต้องจ่ายเงินตราไทย เว้นแต่ได้รับ ความยินยอมจากลูกจ้างให้จ่ายเป็นตั๋วเงินหรือเงินตราต่างประเทศ
มาตรา
55 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินผลประโยชน์อื่นเนื่องใน การจ้างให้แก่ลูกจ้าง ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ถ้าจะจ่าย ณ สถานที่อื่นหรือด้วยวิธีอื่นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
มาตรา
56 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับ ค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุดตังต่อไปนี้
(1) วันหยุดประจำสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง รายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) วันหยุดตามประเพณี
(3) วันหยุดพักผ่อนประจำปี
มาตรา
57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลา ป่วย ตาม
มาตรา
32
เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอด ระยะเวลาที่ลาแต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน
ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันตาม
มาตรา
33
ให้ นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลานั้นด้วย
มาตรา
58 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลา เพื่อรับราชการทหารตาม
มาตรา
35
เท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวัน
มาตรา
59 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็น หญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอด ระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน
มาตรา
60 เพื่อประโยชน์แก่การจ่ายค่าจ้างตาม
มาตรา
56
มาตรา
57
มาตรา
58
มาตรา
59
มาตรา
71
และ
มาตรา
72
ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันหยุดหรือวันลาเท่ากับค่าจ้างโดย เฉลี่ยในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับในงวดการจ่ายค่าจ้างก่อน วันหยุดหรือวันลานั้น
มาตรา
61 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างอัตราไม่ น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตรา ค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา
62 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ตาม
มาตรา
28
มาตรา
29
หรือ
มาตรา
30
ให้นายจ้างจ่ายค่าทำ งานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่าย เพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของ อัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่าย ไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตาม จำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อ หน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้ รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา
63 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างใน อัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้าง ต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่ง ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
มาตรา
64 ในกรณีที่นายจ้างมิได้จัดให้ลูกจ้างหยุดงาน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดงานน้อยกว่าที่กำหนดไว้ตาม
มาตรา
28
มาตรา
29
และ
มาตรา
30
ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดไว้ใน
มาตรา
62
และ
มาตรา
63
เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน ในวันหยุด
มาตรา
65 ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่หรือซึ่งนายจ้างให้ ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตาม
มาตรา
61
และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตาม
มาตรา
63
แต่ลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างให้ทำงานตาม (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใน วันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
(1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับ กรณีการจ้าง การให้บำเหน็จการลดค่าจ้าง หรือการเลิกจ้าง
(2) งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่งได้แก่งานที่ทำบน ขบวนรถและงานอำนวยความสะดวกแก่การเดินรถ
(3) งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ
(4) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(5) งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ
(6) งานที่มีลักษณะหรือสภาพที่ต้องออกไปทำงานนอกสถาน ที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่ แน่นอนได้
(7) งานอยู่เวรเฝ้ายามดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้า ที่การทำงานตามปกติของลูกจ้าง
(8) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ทั้งนี้ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวัน หยุดให้แก่ลูกจ้าง
มาตรา
66 ลูกจ้างตาม
มาตรา
65
(1) ไม่มีสิทธิได้ รับค่าทำงานในวันหยุดตาม
มาตรา
62
เว้นแต่นายจ้างตกลง จ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง
มาตรา
67 ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มี ความผิดตาม
มาตรา
119
ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง สำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของ วันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ และรวมทั้งวันหยุด พักผ่อนประจำปีสะสมตาม
มาตรา
30
มาตรา
68 เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใน วันทำงานหมายถึงค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบ และจำนวนชั่วโมงทำงานในวันทำงานต่อวันโดยเฉลี่ย
มาตรา
69 เพื่อประโยชน์แก่การคำนวณชั่วโมง ทำงานล่วงเวลาในกรณีที่นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติ เป็นสัปดาห์ ให้นับวันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อน ประจำปี และวันลา เป็นวันทำงาน
มาตรา
70 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่างล่วงเวลา ค่าทำงาน ในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดย คำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งเว้นแต่จะ มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
(2) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก (1) ให้จ่ายตาม กำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
(3) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวัน หยุดให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง
ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วง เวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามที่ลูกจ้าง มีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง
มาตรา
71 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทำงาน ในท้องที่อื่น นอกจากท้องที่สำหรับการทำงานปกติในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค้าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างซึ่ง ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตาม
มาตรา
56
(1) สำหรับการ เดินทางนั้น
มาตรา
72 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทำงาน ในท้องที่อื่น นอกจากท้องที่สำหรับการทำงานปกติ ลูกจ้างไม่มีสิทธิ ได้รับค่าล่วงเวลาตาม
มาตรา
61
และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตาม
มาตรา
63
ในระหว่างเดินทาง แต่สำหรับการเดินทางในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานให้แก่ลูกจ้างซึ่งไม่ มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดตาม
มาตรา
56
(1) ด้วย เว้นแต่ นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ ลูกจ้าง
มาตรา
73 ให้นายจ้างออกค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง ตาม
มาตรา
71
และ
มาตรา
72
มาตรา
74 ในกรณีที่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในอัตราสูงกว่า ที่กำหนดไว้ตาม
มาตรา
61
มาตรา
62
และ
มาตรา
63
ก็ให้เป็น ไปตามข้อตกลงดังกล่าว
มาตรา
75 ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุด กิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุหนึ่งเหตุใด ที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้าง หยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบ ล่วงหน้าก่อนวันเริ่มหยุดกิจการตามวรรคหนึ่ง
มาตรา
76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่า ทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหัก เพื่อ
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระ เงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพ แรงงาน
(3) ชำระหนึ้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะ เดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็น ประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจาก ลูกจ้าง
(4) เป็นเงินประกันตาม
มาตรา
10
หรือชดใช้ค่าเสียหายให้ แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้
หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงิน ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตาม
มาตรา
70
เว้น แต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
มาตรา
77 ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอม จากลูกจ้าง หรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตาม
มาตรา
54
มาตรา
55
หรือการหักเงินตาม
มาตรา
76
นายจ้าง ต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความ ยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ
มาแรงรอบสัปดาห์
อัพเดทล่าสุด
พีระมิดเบ็นเบ็น พีระมิดหินดำ ที่ทำนักวิทย์งงงวยมานาน
พีระมิดเบ็นเบ็น ทำให้นักวิทยาศาสตร์งงงวยมานานหลายปี
เคล็ดลับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
ความรู้ : เคล็ดลับบางส่วนสําหรับการประหยัดค่าไฟฟ้าเครื่องปรับอากาศ
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้น
วิธีซักถุงเท้านักเรียนให้ขาวจั๊ว น่าใส่มากขึ้นแบบง่ายๆ
7 วิธีดื่มน้ำช่วยให้ผอมได้จริง
รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำ สามารถช่วยสาว ๆ ลดน้ำหนักได้! แต่ต้องดื่มให้ถูกวิธีนะ
เรื่องของแป้ง แป้งทำขนม แป้งทำอาหาร
แป้งที่ใช้ทำอาหารและแป้งทำขนมในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ตามวัตถุประสงค์
10 สิ่ง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
10 ส่ิง ที่ควรนําติดรถไปด้วยเวลาเดินทางไกลหรือขับรถนานๆ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและผลการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำใต้ดิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบ สมบัติของธาตุและสารประกอบ ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง องค์ประกอบและสมบัติของหิน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
คลังสื่อการสอน ม.2 วิทยาศาสตร์
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
เหตุใดไม่ควรดื่มกาแฟเกินสี่ถ้วยต่อวัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การคูณพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การบวกและการลบพหุนาม ม.2 คณิตศาสตร์
วิธีเพิ่มเครื่องคิดเลขบน iPad แบบไม่ติดโฆษณา โหลดแล้วใช้ได้เลยฟรี!
แอปเครื่องคิดเลขบน iPad เป็นหนึ่งสิ่งที่หลายคนรอคอยมากที่สุด เพราะเวลาที่เราต้องการใช้เครื่องคิดเลข
พักโรงแรมไม่ควรมองข้าม “หลอนใต้เตียง” แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
ใต้เตียงโรงแรมที่ไม่ควรมองข้าม แนะโยนขวดน้ำเข้าไปเช็กให้ชัวร์ก่อนนอน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง การหารากที่สาม ม.2 คณิตศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่ วิชาภาษาไทย
ประวัติและผลงานของกวีเอก สุนทรภู่
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง บทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ฟรีบทอาขยานภาษาไทยระดับประถม มัธยม พร้อมไฟล์ MP3
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
ข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2560 พร้อมเฉลย ดาวน์โหลดได้ที่นี่
รวบรวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 สามารถดาวน์โหลดได้
รวมใบงานแบบฝึกหัดภาษาไทย ป.4 โดยในแบบฝึกหัดนี้จะช่วยเสริมสร้างความรู้ภาษาไทยต่อยอดจากเรื่องที่เรียนมา
ทฤษฎีบทเศษเหลือ (Remainder Theorem)
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ทฤษฎีบทเศษเหลือ ม.3 คณิตศาสตร์
อย่ากังวลไปเลย สำหรับคนที่ไม่มีคู่ เพราะคู่ของคุณ ก็ยังไม่มีใครเหมือนกัน
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความเร่ง ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 1 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน ตอนที่ 2 ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ม.3 วิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ม.3 วิทยาศาสตร์