พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 139-142 หมวด 14 พนักงานตรวจแรงงาน


724 ผู้ชม



:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 139-142
 
:: หมวด 14 พนักงานตรวจแรงงาน
 มาตรา 139 ในการปฎิบัติการตามหน้าที่ให้พนักงาน ตรวจแรงงานมีอำนาจดังต่อไปนี้
 (1) เข้าไปในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของ นายจ้างและสถานที่ทำงานของลูกจ้างในเวลาทำการ เพื่อตรวจ สภาพการทำงานของลูกจ้างและสภาพการจ้าง สอบถามข้อเท็จจริง ถ่ายภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับการจ้าง การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และ ทะเบียนลูกจ้างเก็บตัวอย่างวัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน และกระทำการอย่างอื่น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในอันที่จะปฎิบัติการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้
 (2) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกนายจ้าง ลูกจ้าง หรือ บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ส่งสิ่งของหรือ เอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
 (3) มีคำสั่งเป็นหนังสือให้นายจ้างหรือลูกจ้างปฎิบัติให้ ถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้
 มาตรา 140 ในการปฎิบัติการตามหน้าที่ของพนักงาน ตรวจแรงงานตาม มาตรา 139 (1) ให้พนักงานตรวจแรงงาน แสดงบัตรประจำตัวต่อนายจ้างหรือผู้ซึ่งเกี่ยวข้อง และให้นายจ้าง หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกและไม่ขัดขวางการ ปฎิบัติการตามหน้าที่ของพนักงานตรวจแรงงาน
 บัตรประจำตัวพนักงานตรวจแรงงานให้เป็นไปตามแบบที่ รัฐมนตรีกำหนด
 มาตรา 141 ในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างได้ปฎิบัติ ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม มาตรา 139 (3) ภายในระยะเวลาที่กำหนด การดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้าง หรือลูกจ้างให้เป็นอันระงับไป
 มาตรา 142 ในการตรวจสถานประกอบกิจการหรือ สำนักงานของนายจ้าง หรือสถานที่ทำงานของลูกจ้าง อธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจจัดให้แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว เพื่อให้ความคิดเห็นหรือช่วยเหลือแก่พนักงานตรวจแรงงาน ในการปฎิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
 ให้นายจ้างหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก และไม่ขัดขวางการปฏิบัติการตามหน้าที่ของแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์หรือผู้เชี่ยวชาญตามวรรคหนึ่ง
 

อัพเดทล่าสุด