:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 144-159 หมวด 16 บทกำหนดโทษ


892 ผู้ชม


:: พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตราที่ 144-159
 
:: หมวด 16 บทกำหนดโทษ
 มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 10 มาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 76 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง กฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 95 มาตรา 107 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ไม่จ่าย ค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา 120 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง มาตรา 121 วรรคสอง หรือ มาตรา 122 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 42 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 หรือ มาตรา 50 เป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับอันตราย แก่กายหรือจิตใจ หรือถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา 145 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
 มาตรา 146 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 15 มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง มาตรา 45 มาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 มาตรา 65 มาตรา 66 มาตรา 73 มาตรา 74 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง มาตรา 77 มาตรา 99 มาตรา 105 วรรคสอง มาตรา 108 มาตรา 111 มาตรา 112 มาตรา 113 มาตรา 114 มาตรา 115 มาตรา 117 หรือไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตาม มาตรา 120 มาตรา 121 วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา 139 (2) หรือ (3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
 มาตรา 147 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 16 ต้องระวางโทษปรับไม่ เกินสองหมื่นบาท
 มาตรา 148 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 31 หรือ มาตรา 44 หรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 103 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา 149 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 52 มาตรา 55 มาตรา 75 วรรคสอง มาตรา 90 วรรคสอง มาตรา 110 หรือ มาตรา 116 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
 มาตรา 150 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวก ไม่มาให้ถ้อยคำ ไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามหนังสือเรียกของคณะกรรมการ ค่าจ้างหรือคณะอนุกรรมการ หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างหรือ คณะอนุกรรมการมอบหมาย หรือไม่อำนวยความสะดวกแก่ พนักงานตรวจแรงงาน แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา 151 ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะ กรรมการค่าจ้างหรือคณะอนุกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการ ค่าจ้างหรือคณะอนุกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างหรือ คณะอนุกรรมการมอบหมาย พนักงานตรวจแรงงาน แพทย นักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่ง ตาม มาตรา 124 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา 152 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 96 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
 มาตรา 153 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 98 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา 154 นายจ้างผู้ใดไม่จัดทำเอกสารหลักฐาน หรือรายงานตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 103 หรือ จัดทำเอกสารหลักฐานหรือรายงานโดยกรอกข้อความอัน เป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา 155 ผู้ใดมีหน้าที่ในการรับรองหรือตรวจสอบ เอกสารหลักฐาน หรือรายงานตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 103 กรอกข้อความอันเป็นเท็จในการรับรองหรือ ตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน หรือรายงาน ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ
 มาตรา 156 นายจ้างผู้ใดไม่ยื่นแบบรายการหรือไม่แจ้ง เป็นหนังสือขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการภายใน กำหนดเวลาตาม มาตรา 130 หรือยื่นแบบรายการ หรือแจ้ง เป็นหนังสือขอเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการตาม มาตรา 130 โดยกรอกข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
 มาตรา 157 พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริง ใดเกี่ยวกับกิจการของนายจ้างอันเป็นข้อเท็จจริงตามที่ปกติวิสัย ของนายจ้างจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผยซึ่งตนได้มาหรือล่วงรู้เนื่อง จากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์แห่ง พระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองแรงงาน การแรงงานสัมพันธ์ หรือการสอบสวน หรือการพิจารณาคดี
 มาตรา 158 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทำของบุคคลใด หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำ การอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ หรือ บุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
 มาตรา 159 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ความผิดตาม มาตรา 157 ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ เห็นว่าผู้กระทำผิดไม่ควรได้รับโทษจำคุกหรือไม่ควรถูกฟ้อง ร้อง ให้มีอำนาจเปรียบเทียบดังนี้
 (1) อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สำหรับความผิด ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
 (2) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด มอบหมายสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่น
 ในกรณีที่มีการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวนพบว่า บุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้และบุคคล นั้นยินยอมให้เปรียบเทียบให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้ อธิบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่บุคคลนั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
 เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่ เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
 ถ้าผู้กระทำผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อ ยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาตาม วรรคสาม ให้ดำเนินคดีต่อไป

อัพเดทล่าสุด