ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 2


1,629 ผู้ชม


ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ

บางท่านอาจจะเคยเห็นจากโทรทัศน์ ที่มีการแสดงข้อความโผล่ออกมาแซว มีตัวการ์ตูนโผล่ออกมาแล้วก็หายแว็บไป ใน Ulead Video Studio สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยอาศัยรูปกราฟิกที่เราสร้างขึ้นมา โดยที่โปรแกรมรองรับฟอร์แมตยอดนิยม ทั้ง .JPG, .GIF, TGA หรือนำมาจากแผ่นที่สองของโปรแกรม Ulead Video Studio ก็ได้

  • ที่ Library เลือกโหมดเป็น Object (Decoration -> Object) แล้วก็ไปคลิกที่ปุ่ม Load Decoration ไปเอาภาพกราฟิกที่ต้องการมา จากตัวอย่างเป็นรูปสัญลักษณ์นอนหลับ
  • ลากรูปกราฟิกไปยัง Overlay Track ปรับความยาวในการแสดง และสามารถไปคลิกรูปกราฟิกที่จอ Preview ทำการปรับขนาด และปรับตำแหน่งการแสดงได้ตามต้องการ (ดังรูปที่ 8) เดี๋ยวในหัวข้อการใส่ Motion เราจะพูดถึงการแสดงภาพเคลื่อนไหว ที่สามารถนำมาประยุกต์ร่วมกับภาพกราฟิกที่วางได้ เช่น เลื่อนจากด้านล่างมา แล้วก็จางหายไปได้

รูปที่ 8

ใส่วิดีโอในกรอบเล็ก

อีกคำถามที่ถามกันมา เห็นรายการโทรทัศน์ (อีกแล้ว) มีการแสดงวิดีโอในกรอบเล็กที่ด้านล่างได้ด้วย เรื่องนี้ง่ายมากครับ เราจะอาศัย Overlay Track อีกเช่นเคย (เป็นพระเอก) โดยวิธีการนั้นง่ายมากๆ ครับ

  • ที่ Library เลือกโหมดการทำงานเป็น Video จากนั้นเราก็ลากไฟล์วิดีโอไปไว้ที่ Overlay Track ครับ ปรับความยาวในการแสดง แล้วเราก็ตรงดิ่งไปยังจอ Preview ทำการปรับขนาดของไฟล์วิดีโอที่ใส่ไว้ใน Overlay Track โดยการดึงที่จุดสีเหลืองรอบๆ จากนั้นก็ลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการแสดง นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะปรับความเข้มจางของวิดีโอ และใส่กรอบให้กับวิดีโอได้ด้วย โดยให้ไปปรับที่ช่อง Edit ครับ (ดังรูปที่ 9)

รูปที่ 9

Motion เพื่อให้งานกระดุกกระดิก

สำหรับคลิปวิดีโอ ไฟล์ภาพ กรอบ ที่นำมาใส่ไว้ใน Overlay Track เราสามารถใช้การทำ Motion เพื่อให้งานกระดุกกระดิกได้ เช่น เริ่มต้นให้วิดีโอในกรอบเล็กค่อยๆ จางแล้วเข้มจากขวามือของจอภาพ แล้วก็มาหยุดตรงตำแหน่งที่ต้องการ

  • เลือกคลิปวิดีโอ ไฟล์ภาพ กรอบ จาก Overlay Track แล้วปรับตำแหน่งแสดงตามต้องการ จากนั้นไปที่แท็บ Attribute ไปดูที่ Direction/Style มีส่วนของ Enter (สำหรับตอนเข้า) และ Exit (สำหรับตอนออก) จากตัวอย่าง ผมก็คลิกตรง Enter เป็นลูกศรชี้มาทางซ้าย ส่วนตรง Exit ให้อยู่ตำแหน่งตรงกลาง ที่ด้านล่างไปนิด มีคำสั่ง Fade In และ Fade Out สำหรับให้ภาพจางมาตอนเข้า และตอนออก (ดังรูปที่ 10)

รูปที่ 10

Filter เพื่อให้ภาพแปลกตาน่ามอง

สำหรับแฟนๆ โปรแกรมแต่งภาพยอดนิยมอันดับโลก Photoshop ต่างรู้จักกับฟิลเตอร์ (Filter) กันเป็นอย่างดี มี 2 เหตุผลที่ต้องใช้ฟิลเตอร์ คือแต่งภาพให้แปลกตา เช่น เปลี่ยนสี ใส่ลวดลาย กับแก้ไขความผิดพลาดของภาพ เช่นถ่ายวิดีโอแบบย้อนแสง ภาพมืดไปต้องการปรับให้สว่างขึ้นหน่อย

สำหรับคำสั่ง Filter ในโปรแกรมนี้ สามารถใช้งานได้กับไฟล์วิดีโอ และกับไฟล์ภาพนิ่ง โดยที่การใส่ Filter นั้น เราสามารถกำหนดเป็นบางช่วง หรือเวลาทั้งหมดเลยก็ได้

  • หลังจากที่เราได้วางคลิปไว้บน Timeline เสร็จแล้ว ให้คลิกเลือกคลิปที่ต้องการใส่ฟิลเตอร์จาก Timeline จากนั้นมาคลิกเลือกแท็บ Attribute เหลือบไปมองด้านบน จะกลายเป็นโหมด Video Filter เราจะเห็นฟิลเตอร์เพียบเลย พร้อมกับแสดงตัวอย่างคร่าวๆ ให้ได้เห็นกัน เราก็ลากฟิลเตอร์ตัวที่ต้องการไปใส่ยังคลิปวิดีโอนั้นทันที โดยที่เราสามารถใส่ฟิลเตอร์ได้หลายๆ ตัวในคลิป แต่จะต้องติ้กเอารายการ Replace last filter ออกก่อน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถใส่ฟิลเตอร์ได้หลายตัว
  • ฟิลเตอร์แต่ละตัว จะมีค่าปรับแต่งที่แตกต่างกัน บางตัวก็มีค่าให้ปรับมาก บางตัวก็มีค่าให้ปรับน้อย จากตัวอย่าง ผมได้ใช้ฟิลเตอร์ Brightness & Contrast เอาไว้สำหรับทำให้ภาพสว่างขึ้น หรือมืดลง เมื่อเลือกใช้งานแล้ว โดยส่วนใหญ่จะมีค่าสำเร็จรูปให้เราได้เลือกใช้งานกัน (ดังรูปที่ 11)

รูปที่ 11

  • หากค่าสำเร็จรูปของฟิลเตอร์ยังไม่ถูกใจ เราสามารถปรับค่าได้ โดยการคลิกที่ Customize Filter จะได้วินโดวส์ปรับแต่งค่า พร้อมจอพรีวิวผลการปรับแต่งค่าต่างๆ (ดังรูปที่ 12)

รูปที่ 12

  • จากวินโดวส์ Customize Filter เราสามารถใช้การกำหนดคีย์เฟรม (Keyframe) เพื่อกำหนดช่วงเวลาใส่ฟิลเตอร์ ณ ช่วงเวลาหนึ่งได้ เพราะโดยปรกติการใส่ฟิลเตอร์จะมีผลต่อทั้งคลิปนั้น ที่แถบสเกลเหมือนไม้บรรทัด เราจะเห็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเป็นไอคอนของคีย์เฟรม จากตัวอย่างเริ่มต้นคือคีย์เฟรมตัวแรก ผมให้ฟิลเตอร์มีผลให้ภาพมืด ต่อจากนั้นผมก็เลื่อนตัว Jog Slider ไปยังตำแหน่งถัดไป แล้วคลิกไปปุ่ม Add key frame เราก็จะได้คีย์เฟรมมาอีกตัว ซึ่ง ณ คีย์เฟรมตัวไหน เราก็สามารถกำหนดค่าของฟิลเตอร์แตกต่างกันได้ จากตัวอย่างคีย์เฟรมตัวใหม่ ผมสั่งให้ภาพสว่างเหมือนเดิม (ดังรูปที่ 13)

รูปที่ 13

  • ฟิลเตอร์ที่น่าสนใจ นอกจาก Brightness & Contrast แล้ว ยังมี Enhance Lighting (ควบคุมความสว่างมืด) , Anti-Shake video ลดภาพสั่น , Old Film ทำภาพให้ดูเก่าๆ

ใส่ Transition

แฟน PowerPoint คงรู้จักกันดี ว่า Transition คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ใช้กันตอนไหน แต่ใน Ulead Video Studio กลับเรียกว่าเอฟเฟ็กต์ (Effect) โดยปรกติเมื่อเรานำคลิปวิดีโอแต่ละคลิปมาต่อกัน รอยต่อระหว่างคลิปจะกลายเป็นเอฟเฟ็กต์พื้นฐานสุดๆ ที่เราเรียกว่า คัตชนคัต แต่ถ้าท่านอยากให้มีลูกเล่นเพิ่มอีกนิด ค่อยๆ จางก่อนเปลี่ยน หรือมีรูปทรงอะไรตัดไปตัดมา ก็ใช้บริการคำสั่ง Effect ได้

  • วิธีการใส่เอฟเฟ็กต์อย่างง่ายๆ ให้เราเปลี่ยนโหมดจาก Timeline มาเป็นโหมด Storyboard จากนั้นก็ไปเลือกคำสั่ง Effect เลือกรูปแบบเอฟเฟ็กต์ตามต้องการ ลากมาใส่ที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ ระหว่างคลิปวิดีโอ (ดังรูปที่ 14) การปรับเวลาแสดงเอฟเฟ็กต์ไปปรับได้ตรง Project Duration

รูปที่ 14

อัพเดทล่าสุด