ไตเติลบรรยายสรรพคุณ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 2


789 ผู้ชม


ไตเติลบรรยายสรรพคุณ

โดยส่วนใหญ่โฮมวิดีโอ มักจะมีข้อความแซวกัน แนะนำว่าเป็นวิดีโอเกี่ยวกับอะไร ใครทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน การใส่ไตเติล หรือข้อความประกอบวิดีโอไม่ได้ยากเลยครับ โดยให้เราคลิกเลือกไปที่ Title แล้วก็เลื่อนตัว Jog Slider ไปยังตำแหน่งที่เราต้องการใส่ข้อความ

  • การใส่ข้อความแบบใส่เอง ให้เราดับเบิลคลิกที่ช่อง Preview จากนั้นก็ลงมือพิมพ์ข้อความลงไป ทำการปรับค่าเรื่องฟอนต์ ขนาด สี เลือกว่าจะเป็นข้อความแบบบรรทัดเดียว (Single title) หรือหลายบรรทัด (Multiple Titles) ให้มากำหนดที่แท็บ Edit (ดังรูปที่ 15)
         

รูปที่ 15

  • ไตเติลที่เราพิมพ์เสร็จแล้ว จะไปอยู่ที่ Title Track คุณสามารถปรับแต่งเวลาที่ใช้ในการแสดงได้ตามใจชอบครับ นอกจากนี้ยังสามารถทำข้อความให้มีเอฟเฟ็กต์เช่นค่อยๆ โผล่โชว์ออกมาทีละตัวก็ยังได้ โดยการเลือกไปที่แท็บ Animation เลือกรูปแบบจากช่อง Type แล้วก็ติ้กรายการ Apply animation (ดังรูปที่ 16) 
         

รูปที่ 16

เสียงเพลงประกอบงาน

เรื่องแบบนี้ขาดกันไม่ได้ครับสำหรับเพลงประกอบแบ็กกราวนด์กับงานวิดีโอ ไม่งั้นเป็นหนังใบ้ (รับประทาน) แน่นอนครับ โปรแกรมนี้รองรับไฟล์ฟอร์แมตเสียงยอดนิยม ทั้ง .mp3 , mp4 , m4a , aif , au โดยเราสามารถดึงไฟล์เสียงเข้ามาไว้ใน Library ก่อน จากนั้นก็ลากไฟล์เสียงตามที่ต้องการไปวางไว้ที่ Audio Track กัน โดยไฟล์เสียงนี้ เราสามารถปรับลดเพิ่มเสียงได้ รวมถึงกำหนดให้มีการ Fade in Fade out ได้ด้วย

สำหรับท่านที่อยากปรับลดระดับเสียงแบบ ตรงนี้ให้เบา ตรงนี้ให้ดัง สามารถปรับได้ครับ โดยให้คลิกเปลี่ยนโหมดเป็น Audio View จากนั้นไปคลิกไฟล์เสียงใน Audio Track เส้นสำหรับปรับระดับเสียงจะเป็นเส้นสีแดง การเพิ่มจุดให้คลิกตรงเส้นสีแดง จากนั้นก็ดึงจุดขึ้นลงเพื่อปรับระดับเสียงได้ตามใจชอบ (ดังรูปที่ 17)

รูปที่ 17

ทำผลงานออกไปอวด

เสร็จจากการอดทนจัดเรียงตัดต่อโฮมวิดีโอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนส่งผลงานออกไปอวด ควรจะทำการเซฟโปรเจ็กต์เอาไว้ก่อน เพื่อเอาไว้ใช้สำหรับเรียกแก้ไขงานทีหลัง ไฟล์วิดีโอของเราหากมีการใส่เอฟเฟ็กต์ มีการตัดต่อเกิดขึ้น ตอนส่งผลงานออกไป จะต้องเสียเวลาไปไม่น้อย เพราะโปรแกรมจำเป็นต้องเรนเดอร์ภาพและเสียงกันใหม่

การส่งผลงานออกไป ให้คลิกที่คำสั่ง Share มีตัวเลือกให้ทั้งสร้างผลงานออกมาเป็นไฟล์ (Create Video File) , เขียนออกมาเป็นแผ่น DVD หรือ VCD (Create Disc), แยกออกมาเฉพาะเสียง (Create Sound File), ส่งงานกลับไปยังม้วนเทป MiniDV (DV Recording) รวมถึงการทำเป็นไฟล์เพื่อใช้สำหรับเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต (Share Video Online) (ดังรูปที่ 18)
      

รูปที่ 18


      
การทำผลงานออกมาในรูปของไฟล์วิดีโอในฟอร์แมตมาตรฐาน เช่น MPEG-1 สำหรับนำไปเขียนใส่แผ่น CD, MPEG-2 เพื่อเขียนใส่แผ่น DVD , เป็นไฟล์ฟอร์แมต MPEG-4 ทั้งในมาตรฐาน H.264 เพื่อนำไปรับชมทางอุปกรณ์มือถือ คงทำได้ไม่ยาก เพราะโปรแกรมได้แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ไว้ให้อย่างชัดเจน

อัพเดทล่าสุด