https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1 MUSLIMTHAIPOST

 

ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


739 ผู้ชม


แปลงวิดีโอจากม้วน MiniDV ไปเป็น ดีวีดี

เมื่อตรวจสอบหลังจากเสียบสาย FireWire จากกล้องไปยังเครื่องพีซี และวินโดวส์มองเห็นตัวกล้องแล้ว ให้เราเปิดโปรแกรม Ulead Video Studio ขึ้นมาครับ มีตัวเลือกให้ทำงานอยู่ 3 ตัวเลือก ถ้าต้องการใช้การตัดต่อแบบละเอียดทุกขั้นตอน ให้เลือกใช้ VideoStudio Editor แต่ถ้าต้องการแปลงวิดีโอจากม้วน MiniDV ถ่ายโอนแปลงมาเป็น ดีวีดี โดยตรง (สมัยนี้ไม่ค่อยทำเป็น Vซีดี เท่าไหร่ เพราะคุณภาพหลังจาการแปลงเมื่อเทียบกับภาพในม้วน MiniDV ต่างกันเยอะ) ให้เลือกใช้ DV-to-DVD Wizard

หน้าตาของตัวโปรแกรม DV-to-DVD Wizard ในส่วนที่ 1 เป็นหน้าจอพรีวิว และเอาไว้คอนโทรลตัวกล้องให้เดินหน้าถอยหลัง ส่วนที่ 2 เป็นตัวสำคัญ เราจะเอาไว้สำหรับสแกนดูไฟล์ในม้วน MiniDV โดยโปรแกรมจะแบ่งเป็นฉากๆ ย่อยออกมา นำไปแสดงที่ส่วนที่ 3 เพื่อให้เราได้ติ้กเลือกว่า จะแคปเจอร์หรือดึงภาพจากตำแหน่งเวลานี้นะจากม้วนเทปเข้ามา

ในส่วนที่ 2 ในช่อง Device หากเราเชื่อมต่อกล้องเรียบร้อยดีแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร ก็เลือกเป็นชื่อกล้องของเรา จากตัวอย่างก็คือ Sony DV Device ในช่อง Capture format เลือกรูปแบบการแคปเจอร์เป็น DV AVI ตัวเลือกในด้านล่างเป็นการบอกว่า ต้องการแคปเจอร์ภาพเข้ามาทั้งม้วน Burn whole type หรือจะให้โปรแกรมสแกนภาพแบ่งออกมาเป็นฉากๆ (Scene detection) ตอนนี้ผมได้เลือกแบบหลังในช่อง From ให้เป็น Beginning เมื่อต้องการให้เริ่มสแกนหาภาพตั้งแต่ต้นม้วน หรือจะเลือก Current position สำหรับเลือกตำแหน่งของเทปที่ตำแหน่งปัจจุบัน เสร็จแล้วเราก็ไปคลิ้กที่ปุ่ม Start Scan ดังรูปที่ 4

 

รูป 4

โปรแกรมจะสแกนภาพที่ถูกแบ่งออกเป็นฉากๆ มาใส่ให้ทางด้านขวามือ หากเราต้องการให้หยุดการสแกน ก็ให้ไปคลิ้กที่ปุ่ม Stop Scan แทน ที่จอภาพด้านขวามือ หากเราคลิ้กไปที่คลิปวิดีโอฉากไหน สามารถทดลองเล่นดูก่อนได้ โดยการคลิ้กที่ Play Selected Scene สังเกตนะครับ แต่ละฉากจะมีเครื่องหมายติ้กเลือก นั่นหมายถึงฉากนั้นจะถูกแคปเจอร์เข้ามาในฮาร์ดดิสก์ หากเราไม่ต้องการฉากไหนก็ให้คลิ้กเลือกแล้วไปเลือกคำสั่ง Unmark Scene ดังรูปที่ 5

ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูป 5

ขั้นตอนถัดมา เป็นการแปลงวิดีโอที่แคปเจอร์เข้ามา ลงแผ่นดีวีดีไปเลย โดยเราสามารถตั้งชื่อแผ่นได้ในช่อง Volume name สำหรับที่ปุ่ม Advanced เมื่อเราคลิ้กเข้าไป สามารถกำหนดให้มีการแบ่ง Chapter ให้กับแผ่นดีวีดี ว่าให้มีการแบ่งทุกกี่นาที (Auto ad chapter) การแบ่ง Chapter เป็นเรื่องที่เราควรทำ เพราะจะได้ช่วยให้ผู้ชมสามารถกระโดดข้ามการดูไปมาได้

ส่วนตัวเลือก Create ดีวีดี folders หากติ้กเลือกไว้ นอกจากโปรแกรมจะเขียนแผ่นดีวีดี ให้เราแล้ว ยังจะสร้างวิดีโอออกมาเป็นไฟล์เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ในฟอร์แมตของแผ่นดีวีดี เพื่อให้เราสามารถนำไปเขียนอีกได้ในตอนหลัง อีกอันหนึ่งก็คือ Template music volume เป็นสไลด์สำหรับปรับลดระดับเสียงประกอบที่โปรแกรมได้ใส่มาให้อัตโนมัติ ดังรูปที่ 6

ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูป 6

ในส่วนของปุ่ม Edit Title เป็นการเข้าไปแก้ไขตัวอักษรที่ใช้เปิด และปิด โดยเราสามารถใช้ภาษาไทยได้ ก็ให้เลือกฟอนต์ไทย แล้วก็คลิ้กเพื่อเปลี่ยนเป็นภาษาไทย กำหนดสีอะไรต่างๆ ได้ตามใจชอบ ดังรูปที่ 7

ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูป 7

สุดท้ายก่อนที่จะมาสั่ง Burn เพื่อเขียนวิดีโอลงแผ่นดีวีดี ตัวเลือก Video quality เป็นการเลือกคุณภาพของงาน เราสามารถคลิ้กเลือก พร้อมกับดูเนื้อที่เหลือบนแผ่น ดูสักหน่อยว่า ใช้เนื้อที่ไปมากน้อยแค่ไหน ถ้าเนื้อที่มีพอเหลือเฟือ อาจจะตั้งเป็น High ก็ยังได้ สำหรับตัวเลือก Video date information เป็นการใส่วันที่ที่ถ่ายวิดีโอเข้าไปด้วย โดยสามารถกำหนดว่าให้ใส่ตลอดทั้งม้วน (Entire video) หรือทุกๆ กี่วินาที (Duration) ดังรูปที่ 8

ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูป 8

การใช้งาน VideoStudio Editor

สำหรับท่านที่ใช้กล้องวิดีโอที่บันทึกใส่แผ่นดีวีดี หรือบันทึกเป็นไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ที่ตัวกล้อง การนำไฟล์วิดีโอเข้ามาตัดต่อ เราจะใช้ผ่านทางโปรแกรม Video Studio Editor ครับ โดยเลือกมาที่คำสั่ง File -> Insert Media File to Timeline (หากต้องการดึงไฟล์วิดีโอเข้าไปไว้ใน Timeline เพื่อตัดต่อทันที) หรือ File -> Insert Media File to Library หากต้องการดึงไฟล์วิดีโอไปเก็บไว้ในคลังสื่อของโปรแกรมก่อน แล้วค่อยดึงไปใส่ใน Timeline ที่หลัง

หากต้องการดึงไฟล์วิดีโอเข้ามา ก็เลือกเป็น Insert Video ถ้าเป็นกล้องวิดีโอที่เก็บไฟล์วิดีโอไว้ในฮาร์ดดิสก์ เราก็จะต้องเชื่อมต่อผ่านทางสาย USB เพื่อให้เครื่องพีซีมองให้เห็นเป็นไดรฟ์ๆ หนึ่งเสียก่อน แล้วก็ทำการ Insert เข้ามาได้

แต่ในกรณีที่เป็นกล้องที่บันทึกลงแผ่น ดีวีดี มาให้เลย เราก็ใช้ผ่านทางคำสั่ง Insert ดีวีดี/ดีวีดี-VR โดยให้เลือกจากแผ่น ดีวีดี ที่ใส่เข้าไปในไดรฟ์ ดังรูปที่ 9

ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูป 9

บางท่านสงสัยว่า แล้วถ้าเป็นกล้องวิดีโอที่เก็บใช้ม้วน MiniDV ล่ะ ก็แคปเจอร์ผ่านทางคำสั่ง Capture ยังไงละครับ เราก็กำหนดค่าต่างๆ เช่นตัวกล้อง ตำแหน่งโฟลเดอร์ที่ใช้เก็บไฟล์ สั่งให้แบ่งไฟล์ออกไปตามฉาก (Split by scene) แล้วก็ Capture Video กันได้แล้วครับ ดังรูปที่ 10

ใส่รูปกราฟิกประกอบวิดีโอ Adobe Ulead Video Studio 11+ : ตอนที่ 1


รูป 10

ในตอนหน้า เราจะมาพูดถึงการตัดต่อไฟล์ การจัดเรียง ใส่เอฟเฟ็กต์ ใส่ข้อความ เพื่อให้ได้เรียนรู้การใช้งาน Ulead Video Studio 11+ อย่างเต็มความสามารถครับ

อัพเดทล่าสุด