ชีวิตที่ไม่มีคำว่า Google(ต่อ)


892 ผู้ชม


6. Clusty

clusty.com

อย่างที่ชื่อมันพยายามบอกล่ะครับ เว็บนี้จะมีวิธีการแสดงผลการค้นหาในรูปแบบของตัวเอง ถ้าจะเปรียบให้ฟังกูเกิ้ลนั้นเลือกที่จะแสดงผลการค้นหาเป็น List ยาวๆ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แต่เจ้า Clusty ซึ่งมีหลักการทำงานออกไปแนวรวบรวมผลการค้นหาจากเสิร์ชเอนจิ้นหลายๆ ค่าย (ไม่รวม Google) แล้วเอามาจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มๆ (cluster) ให้เราเลือกเข้าไปดูตัวย่อยๆ เองอีกที เช่น ถ้าเราค้นหาด้วยคำว่า Dell XPS มันจะจัดกลุ่มผลการค้นหา เช่นกลุ่มที่แสดงรุ่นต่างๆ ของเครื่อง XPS กลุ่มรีวิว และกลุ่มลิงก์สำหรับซื้อขายเครื่อง เป็นต้น

    

7. StumbleUpon

www.stumbleupon.com

ลักษณะการทำงานของเว็บค้นหาตัวนี้ จะมีทูลบาร์พร้อมไอคอน นิ้วโป้งชี้ขึ้นชี้ลง ประมาณว่าให้เราสามารถจัดเรตติงความชอบของเว็บเพจที่เราเยี่ยมชมได้ เมื่อเราป้อนค่าชี้ขึ้นชี้ลงเหล่านี้ไปเรื่อยๆ ระบบก็เรียนรู้ได้เองว่ารสนิยมเราเป็นอย่างไร ทำให้เมื่อเกิดการค้นหาในภายหลัง มันก็จะจัดผลลัพธ์ได้ตรงกับที่เราต้องการมากขึ้น นอกจากนั้นเรายังสามารถ Add เพื่อนคนอื่นที่มีรสนิยมเดียวกันเข้ามาใน List ได้ เมื่อทำการค้นหาก็จะเอาค่าทั้งจากของเราและของเพื่อนมาช่วยกรองข้อมูลตอนค้นหา การใช้งานเว็บนี้อาจจะช้าไปบ้าง แต่ก็เป็นอีกวิธีในการค้นหาที่อาจจะทำให้เราพบดินแดนใหม่ๆ ที่เสิร์ชเอนจิ้นตัวอื่นอาจมองข้ามไป

8. Draze MetaSearch

draze.com

Search Engine ตัวนี้ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ในแง่แนวคิด แต่เป็นยูทิลิตี้สำหรับคนที่ใช้เสิร์ชเอนจิ้นเป็นประจำในชีวิต โดยทั่วไปคนเราก็จะติดอยู่กับเสิร์ชเอนจิ้นเพียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง แต่ Draze MetaSearch จะให้เราสามารถใช้งานเสิร์ชเอนจิ้นยอดฮิตทั้ง 3 ตัวได้พร้อมๆ กัน คือทั้ง Google, Yahoo! และ MSN โดยหน้าตาเว็บเพจก็เหมือนหน้าของกูเกิ้ลเราสามารถจะเลือกดูผลลัพธ์จากเสิร์ชเอนจิ้นตัวใดตัวหนึ่ง จากทั้ง 3 ตัว หรืออาจจะตัดตัวใดตัวหนึ่งออกไปก็ได้ และที่ดีมากก็คือมีส่วน Page Preview ให้เราดูหน้าตาเว็บเพจโดยไม่ต้องคลิ้กเข้าไปดูจริง

    

9. netTrekker Search Engine

nettrekker.com 

ตัวนี้เป็นตัวที่ออกแบบมาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับใช้ในโรงเรียน เว็บที่อยู่ในผลการค้นหานั้นถูกคัดสรรมาอย่างดีโดยเจ้าหน้าที่ของเว็บซึ่งเป็นนักการศึกษาตัวจริง ทำให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลที่ปล่อยออกมานั้นปลอดภัยสำหรับเด็กจริง ดังนั้นถ้าเราใช้เครื่องมือตัวนี้ค้นหาคำว่า “star” สิ่งที่ได้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับดวงดาว และหมู่ดาวโดยเฉพาะ แน่ใจได้เลยว่าจะไม่มีหน้าของ Paris Hilton โผล่มาให้เห็นซักแอะเดียว ข้อเสียเดียวของบริการนี้ก็คือ มันไม่ฟรีครับ เคาะราคาออกมาอยู่ที่ 4.95 เหรียญต่อเดือน ถ้าอยากใช้จริงๆ ต้องลองดูว่าทางโรงเรียนมีซื้อแอ็กเคานต์เอาไว้แล้วหรือเปล่า เด็กอาจจะเอามาใช้ต่อที่บ้านได้ แต่สำหรับเมืองไทยคงลำบากครับ

10. AfterVote

aftervote.com

เอนจิ้นตัวนี้เป็นอีกเจ้าที่ออกแนวรวมฮิต คือ เป็นการรวมผลการค้นหาจากเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่ 3 เจ้าเข้าด้วยกัน แต่เพิ่มฟีเจอร์ด้าน social เข้าไปอีกนิด หรือมีไอคอน นิ้วโป้งชี้ขึ้นชี้ลง ให้หมู่สมาชิกได้โหวตคะแนนเพิ่มอีกระดับ (ปัจจุบันยังไม่สามารถโหวตผ่าน SMS ได้) อย่างที่บอกไปแล้วว่าเว็บนี้ออกแนวรวมฮิตจัดครับ มีฟีเจอร์อัดแน่นมากมาย มีข้อมูลสถิติทั้งจาก Alexa และ Page-Rank มีข้อมูลจาก bugmenot และมีปุ่มของ Digg กับ del.icio.us มีแม้กระทั่งเว็บเพจในอดีตที่ถูกจัดเก็บไว้ใน Wayback Machine

11. Can’t find on Google

https://www.cantfindongoogle.com/

เว็บสุดท้ายนี้จะไม่ออกแนวเสิร์ชเอนจิ้นล่ะ ดูจะเป็นแนวเว็บบอร์ดมากกว่า คือจะเป็นแหล่งให้เราโพสต์สิ่งที่เราต้องการค้นหา แต่หาในกูเกิ้ลไม่เจอ โดยหวังว่าจะมีคนอื่นมาช่วยชี้ทางสว่างให้ สถานการณ์ของเว็บนี้ก็คือมีคนมาโพสต์คำถามไว้เต็ม แต่อัตราส่วนที่มีคนมาช่วยตอบก็ยังไม่สูงมากนัก คือเป็นทางเลือกสุดท้ายของคนที่หมดหวังกับหาทางอื่นๆ ในโลกแล้วจริงๆ ลองไปก็ไม่เสียหาย


PC Magazine

ฉบับที่ 106 พฤศจิกายน 2550
อ่านบทความอื่นๆ >>

อัพเดทล่าสุด