การสร้างโบรชัวร์สำหรับประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าต่างๆ สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ออกแบบมาเพื่อการทำสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นามบัตร การ์ดต่างๆ เป็นต้น แต่สำหรับการทำโบรชัวร์แล้ว เราสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Word จัดทำได้เช่นเดียวกัน
พื้นที่โฆษณา
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613
การสร้างโบรชัวร์สำหรับประชาสัมพันธ์ร้านค้า หรือสินค้าต่างๆ สามารถทำได้โดยใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ออกแบบมาเพื่อการทำสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น นามบัตร การ์ดต่างๆ เป็นต้น แต่สำหรับการทำโบรชัวร์แล้ว เราสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Word จัดทำได้เช่นเดียวกัน
สำหรับวิธีการทำ ก็ไม่ยุ่งอยากอะไรมาก เพียงแค่ปรับแต่หน้าตาของงาน และจัดเตรียมข้อมูล รูปภาพต่างๆ และคุณควรจะมีการวางแผน รวมถึงออกแบบโบรชัวร์ที่คุณต้องการเอาไว้ก่อนด้วย เพื่อให้การจัดทำสามารถทำได้ง่าย และรวดเร็วขึ้น
วิธีการทำก็ไม่ยากอะไรมากมาย มาเริ่มกันเลย
1. เปิดโปรแกรม Microsoft Word แล้วเข้าไปที่เมนู File => Page Setup เพื่อเข้าไปปรับค่าต่างๆ สำหรับการจัดหน้าให้เหมาะสมกับการทำ Brochure (รูปที่ 1)
|
รูปที่ 1 |
|
รูปที่ 2 |
2. ในหน้าต่าง Page Setup ให้เราเลือกปรับในส่วนของ Margins ทุกๆ ส่วนดังในภาพ แนะนำให้ใช้ระยะห่างในแต่ละส่วน จากขอบกระดาษประมาณ 2 เซนติเมตร หากคุณมีข้อมูลจำนวนมาก ก็สามารถเลือกปรับให้น้อยลงกว่านี้ได้ จากนั้น ก็เลือกการวางหน้ากระดาษให้เป็นแบบ Landscape หรือการวางในแนวนอนด้วย เพราะโบชัวร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบแนวนอนมากกว่า (รูปที่ 2)
3. ต่อไปเราจะต้องปรับฟอร์แมตของคอลัมน์ใหม่ เพราะปกติแล้ว เราพิมพ์งานจะไม่มีการแบ่งคอลัมน์ แต่ในครั้งนี้ เราจะต้องมาปรับแต่งคอลัมน์กันใหม่ ให้คลิ้กที่เมนู Format => Columns .. (รูปที่ 3)
|
รูปที่ 3 |
|
รูปที่ 4 |
4. เมื่อเราคลิ้กแล้ว ก็จะมาที่หน้าต่าง Columns ทันที แนะนำให้เลือกจำนวนคอลัมน์เป็น 3 ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้กันทั่วๆ ไป หรืออาจจะเลือกมาหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ ด้านขวาจะมีช่องให้เลือกอยู่ 2 อย่าง ก็คือ Right-to-Left ถ้าเราเลือกใช้จะหมายถึง การพิมพ์รายละเอียดจะเริ่มจากด้านขวาก่อน อีกส่วนหนึ่ง ก็คือ Line between ถ้าเราเลือกใช้ จะมีเส้นขั้นระหว่างแต่ละคอลัมน์ให้แบบอัตโนมัติ อีกส่วนหนึ่ง ก็คือ ด้านล่างสุด Equal column width จะเป็นการปรับตั้งขนาดของคอลัมน์แต่ละส่วนให้เท่ากันตลอด นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกปรับได้เองอีกด้วย แล้วแต่ใครจะออกแบบอย่างไร (รูปที่ 4)
5. เมื่อเราปรับค่าต่างๆ แล้ว เราจะเห็นว่าหน้าจอที่เราจะใช้พิมพ์ จะมีการแบ่งเป็น 3 คอลัมน์ ให้ทันที เราสามารถเริ่มใส่ตัวหนังสือลงไปได้ตามตัวอย่าง (รูปที่ 5)
|
รูปที่ 5 |
|
รูปที่ 6 |
6. นอกจากนี้ เรายังสามารถแทรกรูปภาพได้ด้วย โดยให้ไปที่เมนู Insert => Picture ให้เราเลือกภาพจากแหล่งที่เราต้องการได้ หรือว่าเราจะแทรกกล่องข้อความ เลขหน้า หรือออบเจ็กต์จากซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ได้ (รูปที่ 6)
7. เมื่อเราแทรกรูปแล้ว เราก็สามารถจัดแต่งหน้าตา รวมถึงขยายรูป หรือหดรูปได้ตามสบาย โดยหากต้องการปรับขนาดภาพ ก็ให้คลิ้กที่ภาพ แล้วลากเมาส์จากมุมต่างๆ ของภาพเข้าไปได้ทันที (รูปที่ 7)
|
รูปที่ 7 |
|
รูปที่ 8 |
8. จากนั้น เราก็สามารถพิมพ์ข้อมูลเข้าไปได้เรื่อยๆ จากภาพตัวอย่างจะเป็นการใส่ Text box สำหรับพิมพ์ที่อยู่สำหรับติดต่อลงไป ซึ่งรูปแบบต่างๆ ผู้อ่านสามารถออกแบบเองได้ (รูปที่ 8)
9. เมื่อเราใส่ข้อมูลจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเห็นว่ามีการใส่เส้นคั่นระหว่าง แต่ละคอลัมน์เอาไว้ ในกรณีนี้ ผู้เขียนได้เลือกใช้เอาไว้ จึงปรากฏเส้นขึ้น ทำให้ง่ายเวลาพับอีกด้วย (รูปที่ 9)
|
รูปที่ 9 |
|
รูปที่ 10 |
10. แค่นี้ก็เสร็จแล้ว สามารถดูโดยรวมได้ โดยการปรับขนาดในการมองไปที่ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทำหน้าแรกเสร็จแล้ว ก็สามารถทำหน้าต่อไปได้ เวลาสั่งพิมพ์ต้องดูให้ดีด้วย ว่าพิมพ์ออกมาแล้วจะกลับหัวกลับหางหรือไม่ ทางที่ดีควรจะใช้กระดาษลองพิมพ์ก่อน จะได้ไม่เปลือง (รูปที่ 10)