ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ชูกลยุทธ์ เอโอเอสและสตอเรจ เวอร์ชวลไลเซชั่นกวาดตลาดไทย


628 ผู้ชม


ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น หรือ เอชดีเอส เป็นธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก คือ HIT) ประกาศครองแชมป์ตลาดสตอเรจสำหรับองค์กรของโลก พร้อมเปิดแผนบุกตลาดไทยปี 2549 ชูความเป็นผู้นำด้านกลยุทธ์เอโอเอส และสตอเรจ เวอร์ชวลไลเซชั่น เตรียมกวาดตลาดทั้งองค์กรขนาดใหญ่และกลุ่มเอสเอ็มบี

พื้นที่โฆษณา  
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้ประกาศผลการดำเนินงานสิ้นสุดไตรมาสสามของปี 2548 (กันยายน- ธันวาคม 2548) ที่ 755 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 35% และจากรายงานของ คอฟแมน บราเธอร์ รีเสิร์ธ (Kaufman Brothers Research) ได้ระบุว่า ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ยังคงครองอันดับหนึ่งของตลาดสตอเรจสำหรับองค์กร โดยมีส่วนแบ่งตลาดเหนือคู่แข่งมาสองไตรมาสแล้ว “จากผลการดำเนินงานในสองไตรมาสที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดเริ่มตระหนักถึงประโยชน์ของ เอโอเอส โซลูชั่น” นายทวีศักด์ แสงทอง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว “และ ในปี 2549 เราได้มองเห็นถึงความต้องการอย่างมากในด้านเทคโนโลยีของสตอเรจ เวอร์ชวลไลเซชั่นขององค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีความประสงค์ลดค่าใช้จ่ายนับหลายล้านบาทต่อปีด้วยการนำระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพมาใช้กับทรัพยากรที่มีหลากหลายชนิดและกระจัดกระจายของสตอเรจ” แอพพลิเคชั่น ออปติไมซ์ สตอเรจ หรือ เอโอเอส (AOS :Application Optimized Storage™) เป็นกลยุทธ์ที่ผสานธุรกิจและไอทีให้เป็นเรื่องเดียวกัน โดยทำการปรับโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการของสตอเรจให้เหมาะสมตามความต้องการของแอพพลิเคชั่น ที่อยู่บนพื้นฐานของราคา, ประสิทธิภาพ, การใช้งานที่เหมาะสม และทำงานตามหน้าที่อย่างครบถ้วน แอพพลิเคชั่น ออปติไมซ์ สตอเรจ โซลูชั่น (Application Optimized Storage solutions) ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ด้านสตอเรจ ที่ปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของแอพพลิเคชั่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้รองรับกับความต้องการขององค์กรโดยตรงสองกรณี คือ ง่ายต่อการใช้งานและความต่อเนื่องของธุรกิจ ซึ่งมาจากการจัดการที่ง่าย, การทำซ้ำ และเคลื่อนของข้อมูลไปสู่สตอเรจที่ต่างชนิดกัน นายทวีศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า “ปัจจุบันแอพพลิเคชั่นทางด้านไอทีได้กลายเป็นจุดสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจและการตัดสินใจขององค์กร ดังนั้นสภาพแวดล้อมของสตอเรจจึงต้องทำให้โซลูชั่นเหล่านี้ผสานการทำงานอย่างใกล้ชิดกับความต้องการของแอพพลิเคชั่น” กลยุทธ์นี้ ประกอบด้วยสตอเรจเสมือนจริง ( Storage Virtualization) ซึ่งฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์เป็นเจ้าแรกของโลกที่มีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและใช้งานได้จริง โดยมีผลิตภัณฑ์ชื่อ ยูนิเวอร์แซส สตอเรจ แพลตฟอร์ม (Univeral Storage Platform:USP) เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการสตอรเรจขององค์กรที่มีหลากหลายยี่ห้อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ นอกจากนั้นยังสามารถทำให้สตอเรจแต่ละเครื่องทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยไม่ต้องลงทุนซื้อสตอเรจเพิ่มเติม ขณะนี้มีการติดตั้งแล้ว 2,000 เครื่องทั่วโลก ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ยังได้นำความรู้และความเชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาแก่องค์กรธุรกิจในประเทศไทยในเรื่องศูนย์สำรองข้อมูล ตั้งแต่ในเรื่องของการออกแบบ , การติดตั้ง และการใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร ซึ่งขณะนี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยและเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสำงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) สำหรับตลาดรวมสตอเรจแบบเอ็กซ์เทอร์นัลในประเทศไทยปี 2549 ไอดีซี เอเชีย แปซิฟิกได้รายงานว่า คาดว่าจะมีมูลค่า 45 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.8 พันล้านบาท โดยมีปริมาณความต้องการขนาดของการเก็บเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวจาก 2.7 ล้านกิกะไบต์ เป็น 4.5 ล้านกิกะไบต์ และมีความต้องการด้านการบริการบริหารจัดการ การจัดเก็บข้อมูลคิดเป็นมูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2549 จาก 49 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548 นายทวีศักดิ์ กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยว่า “ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเมื่อสิ้นสุดประจำปีงบประมาณ 2548 ในเดือนมีนาคม 2549 เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากเราได้ลูกค้าใหม่ในกลุ่มลูกค้าที่เป็นหน่วยงานราชการ, สถาบันการศึกษา, สุขภาพ, ค้าปลีก และโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีส่วนธุรกิจใหม่ของลูกค้าเดิมได้แก่ กลุ่มธนาคาร, โทรคมนาคม, และสาธารณูปโภค” ลูกค้าฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ อาทิ บริษัท แอนดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส, บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค), บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ยูบีซี), บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารออมสิน, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า ในปี 2549 ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากสองตลาดด้วยกันคือ ตลาดองค์กรขนาดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร, โทรคมนาคม และราชการ และตลาดขนาดกลางและขนาดเล็กหรือเอสเอ็มบี ได้แก่ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม, สุขภาพ, ค้าปลีก, บันเทิง และการศึกษา ซึ่งฮิตาชิมีพันธมิตรที่เข้มแข็งไม่ว่าจะเป็นซัน, ไมโครซอฟต์, และเอเซอร์ในระดับโกลบอลที่มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และตัวแทนจำหน่ายได้แก่ บริษัท สตรีม ไอที จำกัด บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เทคโนโลยีดีไวเซส จำกัด ในการขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง


eWEEK

ฉบับที่ ปักษ์หลัง กุมภาพันธ์ 2549
อ่านบทความอื่นๆ >>

อัพเดทล่าสุด