คุณก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์ CEO บริษัท เซเว่นอีเลฟเว่น


1,627 ผู้ชม


ก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์
CEO บริษัท เซเว่นอีเลฟเว่น
ร้านค้าปลีก สะดวกซื้อ กับ ปรัชญาการบริหารแบบโกะ

พื้นที่โฆษณา  
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613


คุณก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์ CEO บริษัท เซเว่นอีเลฟเว่น
 

การศึกษา

ประกาศนียบัตรพาณิชยศาสตร์ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
ปริญญาเศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบันตำรงตำแหน่ง

  • กรรมการรองผู้จัดการใหญ่บริหารอาวุโส
    เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะ ประธานกรรมการบริหาร
      1. บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)
      2. บริษัท รีเทลลิ้งค์ จำกัด
      3. บริษัท ซี.พี. คอนซูเมอร์ โพรดักส์ จำกัด
      4. บริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด
      5. บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด
  • กรรมการ
      1. บริษัท ซี.เอส. อีสเวลล์ (ไทยแลนด์) จำกัด
      2. บริษัท ซี.เอส. ดิสทริบิวชั่น จำกัด

    เกียรติคุณ

  • ได้รับประกาศเกียรติคุณบัตร เป็นบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กระทรวงศึกษาธิการ

    งานอดิเรก

    หมากล้อม (โกะ) ระดับ 5 ดั้ง ตัวแทนประเทศไทย ในการแข่งขันโกะโลกปี 1964 , 1967 , 1989 , 1994 , 1995 , 1996 , 1997

    มิถุนายน 2539 (1996)
    ได้รับเกียรติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
    Board Director ของ The International go Federation

    คุณก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์ CEO บริษัท เซเว่นอีเลฟเว่น
     

    ปัจจุบัน เซเว่นอีเลฟเว่นร้านค้าปลีกที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงมีอยู่ 1,800 กว่าสาขาทั่วประเทศไทย รับสินค้าหลากชนิดจากผู้ขายมากกว่า 500 ราย มีพนักงานประจำร้าน 10,000 กว่าคน ต้อนรับลูกค้า 1.8 ล้านคนต่อวัน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ลองมาดูกันว่า คุณก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์ ผู้นำเกมโกะซึ่งเป็นเกมทางด้านความคิดและทางยุทธศาสตร์เข้าสู่ประเทศไทยจะประยุกต์ใช้เกมโกะในการบริหารงานได้อย่างไร

    ก่อนมาเป็นเซเว่นอีเลฟเว่นเมืองไทย

    คุณก่อศักดิ์เริ่มงานแรกที่บริษัท เฮิร์กไทย เป็นเวลา 1 ปี ในขณะที่ยังเรียนปริญญาตรีภาคค่ำอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งคุณก่อศักดิ์บอกว่า “ผมเลือกเพราะว่าจะได้ทำงาน... รู้สึกว่าทำงานจึงจะเข้าใจงานและชีวิตได้มากกว่าที่เราจะท่องแต่ตำรา” หลังจากนั้นจึงย้ายมาอยู่ซีพีในปี พ.ศ. 2516 โดยเริ่มเป็นผู้ช่วยพิเศษให้กับคุณธานินทร์ เจียรวนนท์ ประธานของซีพี ขณะนั้นเครือซีพีมีอายุมาแล้วราว 50 ปี และกำลังมีการขยายตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ช่วงที่ 2 ของธุรกิจ

    คุณก่อศักดิ์เล่าว่า “เป็นวิสัยทัศน์ของท่านประธานธานินทร์ ที่เห็นว่าเซเว่นอีเลฟเว่นค้าปลีก สะดวกซื้อ เป็นที่หนึ่งของโลก แล้วสังคมที่คนแออัดต้องการความสะดวก น่าจะถึงเวลาที่เราแนะนำสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นเข้าประเทศไทย แล้วท่านก็ให้ทีมอื่นทำไปก่อนประมาณปีครึ่งก็ยังไม่ถูกใจท่าน ท่านก็เลยย้ายผมจากทางด้านค้าระหว่างประเทศ ท่านให้มาจับค้าปลีก ตอนมาใหม่ก็ยังรู้สึกแปลกๆ ว่า ผมค้าระหว่างประเทศบางออร์เดอร์หลายร้อยล้าน เซ็นกันแก๊กเดียวหมายถึงการซื้อขายหลายร้อยล้านบาท หันมาจับขายของชิ้นละ 20 บาท กำไร 2 บาท ตอนเริ่มมาใหม่ ๆ ก็รู้สึกว่ายังไม่เข้าใจ และก็รู้สึกไม่สบายใจ”

    เรียนรู้จากรุ่นพี่

    คุณก่อศักดิ์เล่าถึงช่วงเริ่มต้นมาดูแล เซเว่นอีเลฟเว่นว่า “ก็อาจจะโชคดีอีกที่ตอนมาจับเซเว่นอีเลฟเว่น มีปัญหาหลายๆ อย่างที่ผมถูกกระตุ้นให้คิดมากพอ จะต้องแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร บวกกับจะต้องเรียนรู้ของรุ่นพี่ เพราะญี่ปุ่นก็ทำมาแล้ว 15 ปี ไต้หวันก็ทำมา 10 ปี” คุณก่อศักดิ์ถือว่าพวกนั้นคือรุ่นพี่ของเรา เราก็เรียนอะไรบางอย่างจากรุ่นพี่ได้ง่ายขึ้นแล้วมาศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมไทยแล้วเราก็ปรับให้เข้ากับสังคมไทย ในขณะนั้น คือปลายปี พ.ศ. 2533 ไทยเรามีเซเว่นอีเลฟเว่น 27 สาขา ในขณะที่ญี่ปุ่นมี 4,000 สาขา แต่มีประชากรเพียง 2 เท่าของประเทศไทย ทำให้คุณก่อศักดิ์เกิดความมั่นใจ “คือก็ศึกษาแล้วผมมั่นใจว่าไม่เกี่ยวกับอำนาจซื้อของประชาชนแต่เกี่ยวกับความแออัดของชุมชนที่ต้องการความสะดวก ที่คนญี่ปุ่นมีเงินมากเขาก็อาจจะซื้อต่อหัวแพงขึ้นแต่ก็ต้องจ่ายค่าเช่า จ่ายแรงงานแพง บ้านเราคนซื้อของก็อาจจะซื้อในจำนวนเงินน้อย แต่ค่าเช่ากับแรงงานถูก”

    คุณก่อศักดิ์ได้ไปดูงานที่ญี่ปุ่น สังคมญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ก้าวหน้าไปจนถึงขั้นที่เรียกว่าร้านค้าปลีกต้องการเข้าสาขา คุณก่อศักดิ์บอกว่า “ใครไม่เข้าสาขา หัวเดียวกระเทียมลีบจะอยู่ลำบาก เพราะว่าอำนาจซื้อของไม่มีความสะดวก

    ในการจัดการก็ลำบาก การเข้าสาขา ได้ทั้งภาพลักษณ์และก็ได้รับพลังของการซื้อของร่วมกัน คุณเป็นร้านโชว์ห่วยที่มีสาขาเดียว สองสาขา คุณจะซื้อของได้ถูกเท่ากับคนมี 4,000 สาขาไม่ได้ กลายเป็นว่ามีแต่โชว์ห่วยวิ่งเข้าหาสาขาใด สาขาหนึ่ง ดังนั้นเวลาขยายตัวเขาตั้งใจจะไปจังหวัดนี้เขาก็เตรียมตัวทีเดียวพร้อมกัน 50 สาขา คือเตรียมงานไว้ 40 สาขา 50 สาขา และเปิดในเวลาไม่เกิน 1 เดือน”

    เลือกคนที่จะมาเป็นแฟรนไชส์

    ขณะที่ในญี่ปุ่นร้านค้าปลีกจะวิ่งเข้าหาสาขา แต่ในเมืองไทยจะต่างกัน คือยังอยู่ในระยะที่ไปชวนเขามาเข้าสาขา ซึ่งจะถูกปฏิเสธมากกว่า เนื่องจากคนที่มาเป็น แฟรนไชส์ อาชีพเดิมไม่ได้ค้าปลีกเป็นส่วนใหญ่ “ดังนั้นเรากลายเป็นว่าเราไปหาจุดสำคัญ จุดที่เป็นทำเลดีๆ เราไปขอเช่าทำเลย เราไม่ใช่เกิดจากการไปหว่านล้อมโชว์ห่วยให้แปลงกายมาเป็นเซเว่นไม่เหมือนกัน ถ้าคุณจะทำงานแบบญี่ปุ่นคุณก็ทำงานไม่ออก” คุณก่อศักดิ์กล่าว

    สำหรับผู้ที่จะมาเป็นแฟรนไชส์นั้น คุณก่อศักดิ์บอกว่า “เราต้องกรอง ใครจะมาเป็นแฟรนไชส์มักจะมาเลือกร้านที่เราเปิดทุกเดือน เดือนเราเปิดประมาณ 20 สาขา เขาก็จะมาเลือกร้านที่เปิดไปแล้ว 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน 5 เดือน ว่าเขาชอบร้านนี้เพราะอยู่ใกล้บ้าน อยู่ใกล้บ้านแฟน อยู่ใกล้บ้านคุณพ่อ เขาก็เลือกร้านแล้วเขาจะมาเป็นแฟรนไชส์ แต่ก่อนจะมาเป็น แฟรนไชส์เราต้องขู่ 5 รอบ ขู่ว่าคุณต้องรักจริง งานหนัก ครอบครัวสนับสนุน ไม่ใช่คุณอยากทำ แต่สมาชิกครอบครัวคุณไม่เห็นด้วยไม่สนับสนุน เราต้องไปถึงบ้านเขา 2 รอบ ใน 5 รอบ เพื่อให้ชัดเจนว่าเขาอยากทำ” เมื่อเขาแสดงให้เห็นว่าเขาอยากทำจริงๆ ก็จะฝึกให้เขาทำ


  • [e]LEADER

    ฉบับที่ 160 มิถุนายน 2545
    อ่านบทความอื่นๆ >>

    อัพเดทล่าสุด