แฟลชไบออสยังไง? ไม่ให้เครื่องพัง!!?


983 ผู้ชม


วิธีการง่ายๆ ที่จะอัพเกรดเครื่องพีซีคู่ใจ โดยไม่ต้องเสียสตางค์สักแดง แถมไม่มีความเสี่ยง ถ้าคุณอ่านบทความนี้

พื้นที่โฆษณา  
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613

วิธีการง่ายๆ ที่จะอัพเกรดเครื่องพีซีคู่ใจ โดยไม่ต้องเสียสตางค์สักแดง แถมไม่มีความเสี่ยง ถ้าคุณอ่านบทความนี้

ทำไมต้องมี ไบออส

ไบออส คือซอฟต์แวร์ที่ถูกโปรแกรมไว้ในชิปที่อยู่บนเมนบอร์ด ไบออส จะเป็นโปรแกรมแรกที่เริ่มต้นทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ไบออส จะตรวจสอบฮาร์ดแวร์ เพื่อให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบ การ์ดจอ (VGA), ซีพียู, แรม และแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายมาที่เมนบอร์ดว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้า ไบออสตรวจพบความผิดพลาดใดๆ ก็จะส่งเสียงดัง “บี๊บ” ขึ้นมา แต่ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่สามารถจะส่งเสียงเตือนเป็นเสียงพูดออกมาเช่น POST Reporter ของเมนบอร์ดของ ASUS ในรุ่น P4B266, P4S333 และใน ไบออส รุ่นใหม่บางตัวสามารถแสดงเมนูภาษาได้หลายภาษา เช่น Multi Language ไบออส ใน ไบออส ของ ASUS ในรุ่น P4B533 หรือแสดงออกมาทาง LED 7 segment (ไฟ LED 7 ส่วน ที่เรียงการแสดงผลเป็นตัวเลขและตัวอักษรได้) ซึ่งทำให้ง่ายในการแก้ปัญหา เช่น Post Code Display ในเมนบอร์ด ABIT ในรุ่น IT7 Max 2 แต่ถ้าทุกอย่างปกติดีก็เข้าสู่หน้าเริ่มต้นทำงาน ซึ่งเป็นหน้าแรกที่คุณเห็นเมื่อเปิดเครื่อง ภายในหน้านี้จะมีการตรวจสอบหน่วยความจำของเครื่อง (RAM) ตรวจหาฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ซีดีรอม ตรวจสอบความเร็วของซีพียู และส่งต่อการควบคุมให้แก่ Boot sector ซึ่งอยู่ในฮาร์ดดิสก์เพื่อเริ่มระบบปฏิบัติการ
รูปที่ 1 post report
รูปที่ 2 multi language

แฟลชไบออสคืออะไร

ไบออส จากที่กล่าวไว้ในตอนต้นก็คือซอฟต์แวร์ที่เหมือนซอฟต์แวร์อื่นๆ ทั่วๆ ไปที่จะมีรุ่นใหม่ออกมาเพื่อปรับปรุงพัฒนาเพิ่มคุณสมบัติในการใช้งานต่างๆ หรือออกมาเพื่อแก้ไขของผิดพลาดจากรุ่นก่อนๆ ในการ แฟลชไบออส เพื่อเปลี่ยนเป็น ไบออส เดิมให้มีเวอร์ชันใหม่ขึ้น แต่ละเมนบอร์ด ก็มีวิธีในการแฟลชไบออสที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของ ไบออส ในการแฟลชไบออสเราต้องเข้าใจว่า ข้อมูลในการแฟลชไบออสนั้นถูกเก็บไว้ภายในชิป EPROM บนเมนบอร์ด ไม่ได้เก็บไว้ภายในฮาร์ดดิสก์ ดังนั้นในการ แฟลชไบออส จำต้องใช้โปรแกรม Flash Utility ซึ่งทำงานในดอสโหมด แต่สำหรับใน ไบออส รุ่นใหม่ยังสามารถที่จะ แฟลชไบออส ได้ก่อนเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ เช่น EZ Flash ของ ASUS ในรุ่น P4B533 สำหรับวิธีในการ แฟลชไบออส จะขอกล่าวหลังจากนี้ แต่ก่อนอื่นเราต้องพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องแฟลชไบออส เพราะในการ แฟลชไบออส ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถที่ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ ดังนั้นเราควรแฟลชไบออสเมื่อจำเป็นเท่านั้น
รูปที่ 3 ezflash

สิ่งที่ควรระวังในการแฟลชไบออส

จากที่ทราบกันแล้วว่าไบออสเป็นซอฟต์แวร์ตัวแรกที่เริ่มทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ถ้า ไบออสเกิดเสียหายขึ้นมาเครื่องคอมพิวเตอร์สุดที่รักของคุณก็อาจแน่นิ่งไปเลย ไม่สามารถ Boot เครื่องได้ ดังนั้นเมื่อคุณจะแฟลชไบออส คุณจะต้องตรวจสอบไบออสตัวใหม่ว่าถูกต้องตามรุ่นและยี่ห้อของไบออส และที่สำคัญควรมี UPS เพื่อป้องกันถ้าหากเกิดไฟเกิดดับขึ้นมาระหว่างการแฟลชไบออส ด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ นี้เมนบอร์ดบางยี่ห้อบางรุ่นจึงได้มีการติดตั้ง ไบออส ถึงสองตัวหรือที่เรียกกันว่า Dual Bios เช่น ในเมนบอร์ดของ Gigabyte รุ่น GA-6RX, GA-7VTXE และ GA-7DXR
รูปที่ 4 Dual ไบออส

3 เหตุผลหลักที่ต้องแฟลชไบออส

1. เพื่ออัพเกรดเป็นซีพียูตัวใหม่ ที่มีความเร็วสูงขึ้น : แต่เมนบอร์ดของคุณไม่รู้จักความเร็ว หรือรุ่นของซีพียูที่คุณต้องการ คุณสามารถแก้ปัญหาด้วยการแฟลชไบออส ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณรองรับซีพียูใหม่ที่มีความเร็วมากกว่าเดิม
2. เพื่อต้องการให้เมนบอร์ดสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ที่ความจุสูงๆ : ถ้าความจุฮาร์ดดิสก์ตัวเดิมของคุณไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน คุณอาจต้องหาฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่มาใส่เพิ่ม หรือทดแทนตัวเก่าที่เสียไป แต่ถ้าฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่มีความจุที่มากกว่าไบออสกำหนดไว้ คุณสามารถแฟลชไบออส เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับความจุฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่สูงขึ้นได้
3. เพื่อต้องการแก้ไข BUG ในไบออส : ในไบออสของเมนบอร์ดบางยี่ห้อ หรือบางรุ่น อาจมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ซ่อนอยู่ภายใน ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งกับระบบปฏิบัติการใหม่ๆ เป็นต้น ซึ่งบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ดจะแก้ปัญหาโดยออกไบออสเวอร์ชันใหม่ที่แก้บั๊กแล้ว ซึ่งเราสามารถไปดาวน์โหลดได้ในเว็บไซต์ของผู้ผลิตนั้นๆ

แฟลชไบออส เค้าทำกันอย่างไร ?

ตัวอย่างในการแฟลชไบออสนี้จะแสดงขั้นตอนในการแฟลชไบออสบนดอสด้วย AFLASH โดยใช้เมนบอร์ด ASUS A7V และตามมาด้วยการแสดงขั้นตอนในการแฟลชไบออส ก่อนเข้าสู่การทำงานของระบบปฏิบัติการ หรือภายหลังจากขั้นตอน POST (Power-on-Self-Test) ด้วย EZ Flash โดยใช้เมนบอร์ด ASUS P4B533
เริ่มด้วยการแฟลชไบออสบน DOS ด้วยเมนบอร์ด ASUS A7V ที่ใช้ไบออสของ Award ในเวอร์ชัน A7V1007 ซึ่งเป็นเวอร์ชันเดิม ซึ่งเราจะแฟลชไบออสเป็นเวอร์ชัน A7V1011 ที่ได้ดาวน์โหลดมาจากเว็บไซต์ Asus ไว้แล้ว ด้วยโปรแกรม AFLASH โดยวิธีการจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลักดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนในการ Backup ไบออส ตัวเก่า
1.1 ทำการฟอร์แมต floppy disk เพื่อสร้างแผ่น Boot เข้าดอสเพราะในการ แฟลชไบออส จะทำกันในดอส ในการสร้างแผ่น Boot จะต้องไม่มี AUTOEXEC.BAT และ CONFIG.SYS อยู่ภายในแผ่น บูต
1.2 ทำการ Copy โปรแกรม AFLASH มาเก็บไว้ใน Floppy Disk ซึ่ง โปรแกรม AFLASH จะไม่สามารถทำงานได้ในดอสภายใต้ Windows และผมขอแนะนำให้รันโปรแกรม AFLASH จาก floppy disk
1.3 ภายหลังจากรีบูตเครื่อง ให้ใช้แผ่น floppy disk ที่เราได้สร้างไว้เข้ามาสู่ดอสโหมดเพื่อรันโปรแกรม AFLASH ซึ่งโปรแกรมมีหน้าตาเป็นไปตามรูปที่ 5 และหลังจากนั้นให้ทำการ Backup ไบออส โดยเลือกหมายเลข 1 Save Current Bios To File
รูปที่ 5 เมนูหลักของโปรแกรม AFLASH
รูปที่6 หน้าจอที่ทำการ Save ไบออส ตัวปัจจุบัน
1.4 หน้าจอนี้โปรแกรมจะให้ใส่ชื่อไฟล์ที่ต้องการ Save ก็คือ ไบออส ตัวเก่านั่นเอง ซึ่งในรูปที่ 6 ก็คือ ไบออส a7v1007 เราสามารถจะ Save ลง floppy disk หรือ Hard disk ก็ได้ หลังจาก Save แล้วให้กลับมาที่หน้าจอในรูปที่ 5 โดยการกด ESC


Commart

ฉบับที่ 123 ปักษ์แรก ธันวาคม 2545
อ่านบทความอื่นๆ >>

อัพเดทล่าสุด