2. ขั้นตอนในการแฟลชไบออส ตัวใหม่
2.1 เมื่อกลับมาที่เมนูหลัก หรือในรูปที่ 5 ให้เลือกหมายเลข 2 Update Bios Including Boot Block and ESCD เพื่อแฟลชไบออส
2.2 ในหน้าจอนี้จะให้ใส่ชื่อของไบออสตัวใหม่ที่จะแฟลชไบออส ดังในรูปที่ 7 ไบออสตัวใหม่ที่เก็บอยู่ใน floppy disk ซึ่งก็คือ a7v1011.awd
รูปที่ 7 หน้าจอที่ทำการ Load ไบออส ตัวใหม่ |
รูปที่ 8 แสดงแสดงข้อมูลของ ไบออส ทั้งตัวปัจจุบัน และตัวก่อนหน้า |
2.3 ต่อมาจะเข้าสู่หน้าจอที่แสดงไบออสเวอร์ชันเก่าและเวอร์ชันใหม่ที่จะแฟลชลงไปเปรียบเทียบกัน หลังจากการแสดงข้อมูลข้างต้นแล้ว โปรแกรมจะถามว่าต่อไปว่าต้องการแฟลชไบออสต่อไปหรือไม่ ถ้าต้องการให้กดตัว “Y” แล้วกด ถ้าไม่ต้องการให้กด “N“ แล้วกด เพื่อยกเลิก ซึ่งแสดงให้เห็นในรูปที่ 8
2.4 หลังจากนั้นโปรแกรมจะแฟลชไบออส และถ้าทุกอย่างเรียบร้อยจะแสดงดังรูปที่ 9
ต่อท้ายจากรูปที่ 8 ซึ่งในบรรทัดสุดท้ายจะแสดงข้อความว่า Flashed Successfully ให้กด ESC เพื่อกลับมาที่หน้าแรกหรือรูปที่ 5
รูปที่ 9 แสดงการแฟลชไบออส ได้เสร็จสมบูรณ์ |
รูปที่10 แสดงข้อความให้ทำการรีเซตเครื่องเพื่อ Setup Defaults ไบออส |
2.5 เมื่อกลับมาที่เมนูหลักจะมีข้อความแสดงดังรูปที่ 10 ที่แนะนำให้รีเซตเครื่อง และให้เข้าไปใน ไบออส เพื่อ Setup Defaults ไบออส
ส่งท้ายด้วยวิธีการแฟลชไบออสที่จะทำก่อนเข้าสู่การทำงานของระบบปฏิบัติการ หรือหลังจากขั้นตอน POST โดยใช้ EZ Flash ซึ่ง EZ Flash คือเฟิร์มแวร์ที่บรรจุอยู่ภายในไบออส ที่อำนวยความสะดวกในการแฟลชไบออส เพียงแค่กด และ พร้อมกันหลังจากขั้นตอน POST จากวิธีดังกล่าวทำให้ไม่จำเป็นต้องมีแผ่นบูต และ โปรแกรม Flash utilities อย่างที่ทำกันในดอส โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. Download ไบออส ตัวล่าสุด จากเว็บไซต์ของ ASUS ลงสู่แผ่น floppy disk
2. รีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์
3. หลังจากขั้นตอน POST แล้วให้กด และ พร้อมกันเพื่อใช้งาน EZ Flash ตามรูปที่ 11
รูปที่ 11 รูปแสดงการตรวจสอบอุปกรณ์ หรือขั้นตอน POST |
รูปที่ 12 แสดงข้อมูลของ ไบออส ตัวก่อนหน้า |
4. ทำการรัน EZ Flash ตามรูปที่ 12
5. นำแผ่นดิสก์ที่มี ไบออส ตัวล่าสุดใส่ floppy drive
6. พิมพ์ชื่อของไบออสตัวล่าสุดที่มีอยู่ใน floppy drive ตามหลังข้อความ "Please Enter File Name for New Bios :" และ ดังรูปที่ 13 หลังจากนั้น EZ Flash จะค้นหาไบออสตัวที่ว่านี้โดยอัตโนมัติ ในขั้นตอนนี้จะมีข้อความ "WARNING! Device not ready" ขึ้นมาถ้าไม่มีแผ่นดิสก์อยู่ช่อง floppy drive
รูปที่ 13 ทำการะบุตำแหน่งของ ไบออส ตัวใหม่ |
รูปที่ 14 แสดงลำดับการ แฟลชไบออส |
8. หลังจากนั้น ในรูปที่ 14 ให้กด “Y” ทั้งใน “update the main bios area” และ “the Boot Block area” เพื่อแฟลชไบออสอย่างสมบูรณ์ ในขั้นตอนนี้ระหว่างแฟลชไบออส ห้ามปิดเครื่อง หรือรีเซตเครื่องเด็ดขาด
9. หลังจากเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนจะมีข้อความ "Press a key to reboot" เพื่อรีบูตเครื่องใหม่
สรุปส่งท้าย
ในขั้นตอนการแฟลชไบออสในปัจจุบัน มีทั้งที่สามารถ Flash ได้ทั้งบนดอสและในขั้นตอนหลังจากการ POST ซึ่งในวิธีหลังเป็นวิธีที่สะดวกและไม่จำเป็นต้องเตรียมการอะไรให้ยุ่งยาก แต่ไม่ว่าวิธีไหนเราควรพิจารณาถึงเหตุผลที่จะแฟลชไบออส เพราะบางครั้งถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้นมาในระหว่างการ Flash อาจทำให้ไบออสเสียหาย ไม่สามารถเปิดใช้คอมพิวเตอร์ได้ทางแก้ไขก็โดยการถอดชิป EPROM ที่เก็บโปรแกรมไบออสไป Flash ตามร้านที่รับ Flash ไม่ว่าจะที่ในพันธุ์ทิพย์หรือบ้านหม้อแต่ต้องดูให้ถูกรุ่นถูกยี่ห้อนะครับ ดังนั้นถ้าไม่มีปัญหาตามที่กล่าวไปก็ไม่ควร Flash แต่สำหรับผู้ที่ต้องการแฟลชไบออส เพื่อให้สามารถปรับตัวคูณได้ละเอียดขึ้นหรือมากขึ้นในการโอเวอร์คล็อกถ้าคิดว่าคุ้มค่ากับความเสี่ยงก็เชิญตามสะดวกครับ