Macromedia Fireworks 3.0 (ตอนที่ 2)เครื่องมือวาดรูปใน Fireworks Part 1


692 ผู้ชม


สวัสดีครับจากฉบับที่แล้วเราพูดถึงคุณสมบัติใหม่ๆ ที่มากับ Fireworks 3.0 ไปแล้ว ในวันนี้เราจะเน้นเรื่องของการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานที่มีอยู่ใน Fireworks เชื่อว่าเพื่อนๆ มือกราฟิกทั้งหลายคงรู้จักหรือเคยใช้งานเครื่องมือสำหรับสร้าง Path มาบ้าง สาเหตุที่ผมอยากเริ่มต้เครื่องมือกลุ่มนี้ เพราะ Path คือหัวใจหลักในการสร้างงานกราฟิกใน Fireworks หากผู้ใช้มีความคุ้นเคยกับการทำงานในส่วนนี้แล้ว จะเข้าใจถึงหลักการการทำงานของเครื่องมือตัวอื่นๆ ได้ง่ายขึ้นด้วย

พื้นที่โฆษณา  
สนใจลงโฆษณา ติดต่อ โทร.0-2642-3400 ต่อ 4613

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของ Path ก็อยากอธิบายความเป็นมาว่า ทำไม Path ถึงมีสำคัญกับโปรแกรมกราฟิกตัวนี้มาก คงต้องเริ่มกันที่รูปแบบกราฟิกที่มีอยู่ 2 แบบ คือ Vector และ Bitmap โครงสร้างของกราฟิกทั้ง 2 อย่างนี้เรียกได้ว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะแบบ Vector จะใช้ Path และ Point เป็นหลักในการสร้างรูป ในขณะที่ Bitmap จะใช้ Pixel โดยนำแต่ละจุดสีมารวมกันเป็นรูปภาพ เพียงแค่นี้เพื่อนๆ คงพอเดาได้ว่า Fireworks เป็นโปรแกรมที่มีพื้นการจัดการกับกราฟิกแบบ Vector แต่ความสามารถของ Fireworks ไม่ได้มีเพียงการจัดการสำหรับภาพที่เป็น Vector เท่านั้น การทำงานกับกราฟิกประเภทบิตแมพเรียกได้ว่าดีเยี่ยมเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ทำให้ Fireworks มีความสามารถหลายๆ อย่างที่น่าสนใจมาก

เริ่มแรกสุดคงต้องขอแนะนำหน้าตาของโปรแกรมตัวนี้

เมื่อเปิดโปรแกรม Fireworks ขึ้นมาแล้วจะพบกับหน้าต่างย่อยและเครื่องมือจำนวนมาก เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความง่ายในการศึกษาและอ้างอิง ผมจึงขอแบ่งเป็น 4 ส่วน

ส่วนที่ 1 คือ Menu ที่รวมทุกอย่างในการเรียกใช้โปรแกรมไว้ รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ จัดการไฟล์ การควบคุมการแสดงผลของ หน้าต่าง และ การเรียกใช้งานเครื่องมือต่างๆ

1.1 ภายในกรอบ A เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการไฟล์ทั่วไปได้แก่ New Open Save Import Export Print Undo Redo Cut Copy และ Parse

1.2 ภายในกรอบ B เป็นเครื่องมือที่ใช้เรียกเปิดปิดหน้าต่างในส่วนที่ 3 (Toolbox) อันได้แก่ Object Mixer Stroke Fill และ Layer ตามลำดับ

1.3 ภายในกรอบ C เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการในเรื่องของการ View หน้าต่างในส่วนที่ 2 (Workspace) โดยคุณสามารถย่อขยาย และการกำหนดคุณภาพว่าจะเป็นแบบ Full Display หรือ Draft Display ได้

1.4 ภายในกรอบ D เป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับ Object ที่อยู่ภายในส่วนที่ 2 (Workspace) ได้แก่ การ Group Ungroup Join Split Arrange Align และ Rotate

ส่วนที่ 2 Workspace เป็นพื้นที่ที่ใช้ทำงานและเลือกดูผลลัพท์ที่ผ่านการ Optimize โดยการกดแถบ Preview 2-Up หรือ 4-Up

ส่วนที่ 3 เครื่องมือหลักที่ใช้จัดการตกแต่ง แก้ไข รูปภาพ อย่างที่ได้กล่าวไว้ในตอนแรกว่า Fireworks มีการใช้เครื่องมือร่วมกันระหว่าง Vector Object และ Image Object ดังนั้นการใช้ทูลหนึ่งๆ จึงต้องอธิบายการทำงานเป็น 2 ส่วน

ใน object mode

ใช้สำหรับเลือกและ เคลื่อนที่ Path

เลือก Object ที่อยู่ด้านล่าง Object ที่ถูกเลือก

เลือกและใช้เคลื่อนที่ Path และยังใช้สำหรับเลือก Object ที่เป็น Group Symbol และจุดบน Path

เข้าสู่ Image Edit Mode และเลือก พื้นที่สี่เหลี่ยมหรือวงรีในพื้นที่ของ Pixels

เข้าสู่ Image Edit Mode และเลือก พื้นที่อิสระตามที่ต้องการ หรือพื้นที่ที่เป็นรูปหลายเหลี่ยม

เข้าสู่ Image Edit Mode และเลือก พื้นที่ที่มีสีใกล้เคียง

ใช้วาด objects ในรูปแบบของ Path ที่สามารถแก้ไขได้

ใช้วาด objects ในรูปแบบของ Path ที่สามารถแก้ไขได้

สร้างและเปิดหน้าต่าง Text ขึ้นมา

วาดเส้นแบบหนึ่ง Pixel ในรูปของ Path อิสระ

วาดโดยใช้แปรงในรูปแบบของ Path.

ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ Path

เปลี่ยนรูปร่างของ Object ที่เป็นไปตาม แนววิ่งของทูล

ใช้ในการกำหนดคุณสมบัติ แรงกดและความเร็วของ Path โดยที่ไม่เปลี่ยนรูปร่าง

หากอยู่ใน object mode,ทูลตัวนี้มีหน้าที่เหมือนมีดที่ใช้ตัดแบ่ง Path เป็นส่วนๆ

เข้าสู่ Image Edit Mode และเลียนแบบ image object ที่เลือกไว้


WinMag

ฉบับที่ 82 มิถุนายน 2543
อ่านบทความอื่นๆ >>

อัพเดทล่าสุด